ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (logfile)
วันที่เขียน 17/11/2559 11:50:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 22:05:50
เปิดอ่าน: 52025 ครั้ง

Logfile คือ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ แสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์

ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์  (logfile)

             Logfile คือ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์  แสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์

               สิ่งที่ Logfile จะบอก คือ มีคนเล่นอินเทอร์เน็ตจากที่ใด เวลาใด ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์อะไร ไปที่เว็บนั้น ๆ แล้วทำอะไรบ้างและสามารถบอกเส้นทางการเล่นอินเทอร์เน็ตว่าเข้าจากหน้าเว็บใดไปสู่เว็บใด มีการส่งข้อความทั้งผ่านทางข้อความทันใจ หรือทางอีเมล ไปหาใครบ้าง (ที่มา : http://jaja-piyaratkeawruangrit.blogspot.com/2011/08/log-file.html , เข้าถึง 17 พ.ย. 2559)

              Log File ถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดย พรบ.ดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรืออีเมล์ ให้หน่วยงานหรือองค์กร จะต้องทำการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการสืบสวนหรือสอบสวนการกระทำผิดตาม พรบ. ดังกล่าวนี้ เป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี

               โดยมีการกำหนดประเภทของ Log File ที่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ (ตามมาตรา 24)  ออกเป็น 7 ประเภท   ดังนี้

  1. Personal Computer log file
  2. Network Access Server or RADIUS server log file3.
  3. Email Server log file (SMTP log)4.
  4. FTP Server log file5.
  5. Web Server (HTTP server) log file
  6. UseNet log file
  7. IRC log file

      (ที่มา  : http://www.vcharkarn.com, googleappthailand , เข้าถึง 17 พ.ย. 2559)


      กลไกปัจจุบันตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550  แบ่งประเภทและหน้าที่ในการเก็บ log file  ของผู้ให้บริการแต่ละแบบ  ดังนี้
(อ้างอิงจาก ภาคผนวก ก. แนบท้ายประกาศกระทรวงไอซีทีเรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจราคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)

ประเภทของผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์แบ่งได้ ดังนี้

1.ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น ทั้งนี้ โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้

       ก.ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกระจายภาพและเสียง (Telecommunication and Broadcast Carrier)

             ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน (Fixed Line Service Provider) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service Provider) ผู้ให้บริการวงจรเช่า (Leased Circuit Service Provider) ผู้ให้บริการดาวเทียม (Satellite Service Provider)

       ข.ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider)

                ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ผู้ประกอบการซึ่งให้บริการในการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในห้องพัก ห้องเช่า โรงแรม หรือร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในองค์กรต่างๆ เช่น หน่วยงานราชการ บริษัท หรือสถาบันการศึกษา

       ค.ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (Host Service Provider)

             ตัวอย่างเช่น ผู้ให้เช่าระบบคอมพิวเตอร์ (WebHosting) การให้บริการเช่า Web Server ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Server หรือFile Sharing) ผู้ให้บริการเข้าถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Mail Service Provider) ผู้ให้บริการศูนย์รับฝากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (Internet Data Center)

      ง.ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต

               ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต (Internet Cafe) ผู้ให้บริการร้านเกมออนไลน์ (Game Online)

(2) ผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคล (Content Service Provider) เช่น ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ (Application Service Provider)

         ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการเว็บบอร์ด (Web board) ผู้ให้บริการบล็อก(Blog) ผู้ให้บริการการทำธุรกรรมทางการเงินทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bangking) ผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment Service Provider) ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส (Web Services) ผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) หรือ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transactions)

ข้อมูลที่ผู้ให้บริการแต่ละประเภทต้องเก็บ

 ผู้ให้บริการประเภท (1) ก.

- ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง และทางสายที่ผ่านของการติดต่อสื่อสาร อันได้แก่ ระบบชุมสายโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์วิทยุมือถือ ตู้โทรศัพท์สาขา หมายเลขโทรศัพท์ เลขหมายวงจร และชื่อที่อยู่ของผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน

- ข้อมูลที่สามารถระบุวันที่ เวลา ระยะเวลาของการติดต่อสื่อสาร วันที่ เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการใช้งาน

- ข้อมูลที่ระบุที่ตั้งในการใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย และต้องจัดให้มีระบบบริการตรวจสอบบุคคลผู้ใช้บริการ

 

ผู้ให้บริการประเภท (1) ข. และ ค.

- ข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่เกิดจากการเข้าถึงระบบเครือข่าย ได้แก่ ข้อมูลที่ระบุถึงตัวตนและสิทธิในการเข้าถึงเครือข่าย วันและเวลาของการเข้ามาใช้บริการ ชื่อที่ระบุตัวตนผู้ใช้ (User ID) หมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตที่ถูกกำหนดโดยระบบผู้ให้บริการ (IP Address) และข้อมูลที่บอกหมายเลขสายที่เรียกเข้ามา

- ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการอีเมล ได้แก่ หมายเลขของข้อความในอีเมล ชื่อที่อยู่ผู้ส่งและผู้รับอีเมล และสถานะของการส่งนั้นๆIP Address ของผู้ใช้บริการ วันเวลาของการใช้บริการ ชื่อผู้ใช้งาน(User ID) รวมถึงบันทึกการเข้าถึงอีเมลที่ผ่านโปรแกรมการจัดการจากเครื่องของสมาชิก

- ข้อมูลอินเทอร์เน็ตจากการโอนแฟ้มข้อมูลบนเครื่องให้บริการโอนแฟ้มข้อมูล ได้แก่ บันทึกการเข้าถึง วัน เวลา ชื่อผู้ใช้ ที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ (IP Address) ตำแหน่งและชื่อไฟล์ที่มีการโอนถ่ายข้อมูล

- ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการเว็บ ได้แก่ บันทึกการเข้าถึง วัน เวลา ที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ระบบ (IP Address) คำสั่งการใช้งาน เส้นทางในการเรียกดูข้อมูล

- ชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ได้แก่ บันทึกการเข้าถึง วัน เวลา หมายเลย port ของการใช้งาน ชื่อเครื่องให้บริการ หมายเลขข้อมูลที่ถูกส่งไปแล้ว

- ข้อมูลที่เกิดจากการโต้ตอบกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Instance Message (IM) หรือ Internet Relay Chat ได้แก่ วัน เวลา การติดต่อของผู้ใช้บริการ ชื่อเครื่องบนเครือข่าย หมายเลขเครื่องผู้ให้บริการ

 

ผู้ให้บริการประเภท (1) ง.

- ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคล เวลาการเข้าใช้และเลิกบริการ หมายเลขเครื่องที่ใช้ หรือ IP Address

  

ผู้ให้บริการประเภท (2)

- ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ รหัสประจำตัวผู้ใช้ หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ หรือUser ID และอีเมลของผู้ใช้บริการ มีบันทึกข้อมูลการใช้บริการ ในกรณีของเว็บบอร์ดหรือบล็อก มีการเก็บข้อมูลของผู้โพสต์ข้อมูล

 (ที่มา  : https://ilaw.or.th/node/77 , iLaw , เข้าถึง 17 พ.ย. 2559)

 

แหล่งอ้างอิง

  1. http://www.vcharkarn.com/blog/120075 , เข้าถึง 17 พ.ย. 2559
  2. http://www.ldd.go.th/Enactment/Manual/logfile_manul.pdf, เข้าถึง 17 พ.ย. 2559
  3. https://ilaw.or.th/node/77, เข้าถึง 17 พ.ย. 2559



คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=606
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 17:42:18   เปิดอ่าน 113  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 18:51:48   เปิดอ่าน 217  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 14:02:40   เปิดอ่าน 339  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 17:33:10   เปิดอ่าน 242  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง