โครงการฝึกอบรม หลักสูตร "ศิลปะการบริหารงานและการบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม"
วันที่เขียน 16/12/2559 15:45:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 9:28:07
เปิดอ่าน: 2981 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายสุรพล จิโน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้ารวมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ ศิลปะการบริการงานและการบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม ” จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ 0523.4.5 / 412 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมดังกล่าว ข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 4 ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ดังต่อไปนี้ สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ ศิลปะ การบริการงานและการบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม ” จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2559 ดังต่อไปนี้ 1. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ( Participation Management) ศิลปะการบริหารลูกน้องแบบมีส่วนร่วม ประโยชน์ของการให้ลูกน้องมีส่วนร่วม จะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ - ลูกน้องเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานนั้น ๆ - ลูกน้องมีโอกาสในการที่จะพัฒนาด้านความคิดต่าง ๆ - ลูกน้องจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น 2. การเข้าใจจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละคน Diagnostic วิเคราะห์สถานการณ์ เช่น ต้องรู้ถึงสถานการณ์ทุกด้านและปรับตัวตาม สถานการณ์ นั้น ๆ Flexibility ความยืดหยุ่น เช่น พร้อมที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์และต้อง ปรับตัวเองให้เก่งและมีความสามารถ Contracting สามารถปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองวิเคราะห์ได้ เช่น ปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เรา วิเคราะห์ได้ 3. กรอบการวิเคราะห์ของ McGregor theory แบ่งลูกน้องออกเป็น 2 ประเภท การมองคนแบบ X 1) ลูกน้องไม่ค่อยชอบทำงาน วิธีการคือ ตักเตือน หรือ เรียกมาคุย 2) ลูกน้องไม่ค่อยทะเยอทะยานทำงานไปเรื่อย ๆ วิธีการคือ การบริหารงานคน แบบนี้ ต้องให้งานทำเป็นประจำ 3) ลูกน้องชอบที่จะถูกบงการงานถึงจะเดิน ลูกน้องประเภทนี้ต้องมีการจำจี้จำชัย จึงจะได้งาน 4) ลูกน้องไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการ ทำงาน วิธีการ คือ เปิดโอกาสให้คิด ฝึกให้คิด หรือ มอบโจทย์ง่าย ๆ ให้ได้ คิดจึงจะได้คำตอบ หรือพยายามตั้งคำถามเพื่อที่จะได้คำตอบจากเขา ถามโดย คิดตามคำถามของเขา 5) ลูกน้องไม่ชอบเป็นผู้ตัดสินใจ วิธีการโดยค่อย ๆ มอบเรื่องเล็ก ๆ ให้ทำและผล ของการตัดสินใจจะไม่พลาด และฝึกให้เขารู้สึกมีความภาคภูมิใจ 6) แรงจูงใจหลักของลูกน้องคือ การได้เงินเดือน หรือ การมีรายได้เพิ่มมากขึ้น วิธีการคือ ให้สวัสดิการดี ๆ หรือมีการปรับเงินเดือนค่าจ้าง งานถึงจะเดินหน้า ได้ดี เพราะลูกน้องต้องการแรงจูงใจ การมองคนแบบ Y 1) ลูกน้องชอบที่จะทำงานถ้าหากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เอื้ออำนวย วิธีการคือ อำนวยความสะดวกแก่ลูกน้อง 2) ลูกน้องมีความทะเยอทะยานอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ บริหารงานโดยการหา งานที่มีความท้าทายหรืองานใหม่ ๆ มอบหมายให้ทำ แต่ถ้าองค์กรไม่มีระบบก็ จะบริหารกลุ่มนี้ได้ยาก 3) ลูกน้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของเขา เขาควบคุมตนเองได้เพื่อให้ งานของเขาสำเร็จ ลูกน้องประเภทนี้อย่าจำจี้จำชัยมากเพราะเขาจะไม่ชอบ 4) ลูกน้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงแม้ จะเป็นลูกน้องในระดับล่าง วิธีการโดยหาข้อคิดให้เขาทำ 5) ลูกน้องเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง 6) แรงจูงใจหลักของลูกน้องมิได้เกิดจากการได้เงินเดือนหรือมีรายได้มากเพียง อย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีก ลูกน้องประเภทนี้ไม่ต้องสั่งการอะไร มากเพราะกลุ่มนี้จะมีความรับผิดชอบมาก งานมีเกียรติมีศักดิ์ศรีก็อยากจะทำ หรือมอบหมายงานที่เป็นประโยชน์เขาจะทำทันที 4) หลักการวิเคราะห์ลูกน้อง * กรอบการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อง ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความชำนาญ ความมุ่งมั่น แรงจูงใจ ความเชื่อมั่น -สอนงาน - ให้โอกาสฝึกปฏิบัติ - ควบคุม ฝึกฝน - อย่างให้ลูกน้องรู้สึก ตัวเองว่าโง่ จะขาดความ มุ่งมั่น -มีความรู้ ทักษะในการทำงานครบ 5. พฤติกรรมควบคุม ดังนี้ 5.1 สั่งการ - บอกให้ทำ (ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร) 5.2 ควบคุม - สอนงาน สังเกต (สังเกตแบบใกล้ชิด หรือห่าง ๆ ) ติดตาม ให้คำปรึกษา 6. พฤติกรรมสนับสนุน - ถาม ฟัง ปรึกษาเขา ชมเชย ให้กำลังใจ สนับสนุน ให้เวลา อำนวยความสะดวก 7. การสั่งงาน - งานที่สั่งจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับงานอยู่แล้ว เช่น งานในตำแหน่ง หรืองานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับโดยตรง 8. การมอบหมายงาน - เป็นงานที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับโดยตรง ตัวอย่างเช่น สั่งให้ไปทำ บอร์ดเทิดพระเกียรติ ซึ่งไม่ใช่งานในความรับผิดชอบของผู้รับงาน 9. การมอบหมายงาน (DELEGATION) ข้อดีการมอบหมายงาน คือ งานไม่ชะงักสามารถสืบต่องานได้ เป็นการพัฒนา งานอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชา ข้อดีสำหรับหัวหน้างาน คือ หัวหน้างานว่าง ข้อดีสำหรับลูกน้อง คือ ลูกน้องมีการพัฒนางาน ข้อดีสำหรับตัวงาน คือ งานสำเร็จ บรรลุผล งานลื่นไหล 10. กรอบในการพิจารณางานในการมอบหมายงาน ลักษณะของงาน • งานที่ต้องทำเองมอบหมายไม่ได้ คือ - งานที่เป็นความลับ -

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
คนึงนิตย์ กอนแสง » การให้บริการที่เป็นเลิศ
หลักการและหัวใจสำคัญในการบริการที่เป็นเลิศ ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ โดยต้องสังเกตุหรือทราบถึงสถานะ เรื่องราว และกลยุทธ์ในการให้บริการ หลักการจิตวิทยาบริการ ได้แก่ ยิ้มทักทายจากห...
การให้บริการที่เป็นเลิศ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 16/11/2566 11:37:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 6:36:59   เปิดอ่าน 132  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การจัดเตรียมวาระการประชุม การทำบันทึกเสนอที่ประชุม และการทำรายงานการประชุม
การจัดทำหนังสือและเอกสารเกี่ยวกับการประชุม โดยปกติ ประกอบด้วย การกำหนดนัดหมายการประชุม หนังสือเชิญประชุม และหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ระเบียบวาระการประชุม และเอกสารการประชุมอื่นตามกฎหมา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 29/9/2566 17:39:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 8:57:50   เปิดอ่าน 197  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ คือ เขียนให้ดี สร้างสรรค์ เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง สื่อเข้าใจ ตรงกัน เรียบง่าย กระชับ ภาษาสวย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความ บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นผลดี ไม่ให้เ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 30/8/2565 9:27:44  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:36:08   เปิดอ่าน 4072  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม » สรุปการอบรมหลักสูตร “กฎหมายปกครองสำหรับนักบริหารมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน จงรักษ์ บัวลอย  วันที่เขียน 3/8/2565 10:14:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 19:26:11   เปิดอ่าน 1953  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง