คู่มือการใช้งานระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 14/7/2560 15:11:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:02:12
เปิดอ่าน: 6771 ครั้ง

ตามที่คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “นกในมหาวิทยาลัยแม่โจ้” ขึ้น ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย เป็นผู้รวบรวมฐานข้อมูลและจัดรูปแบบให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับการศึกษา การฝึกดูนกสำหรับนักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และใช้ในกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของ “นก” เหล่านั้น รวมถึงสภาพธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นระบบนิเวศวิทยาของสิ่่งมีชีวิตที่่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันในการดำรงอยู่ อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมีที่่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นแบบอย่างต่อไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอมุ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนองพระราชดำริฯ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชและเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไป ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก เพื่อหาจำนวนนกในเขตภาคเหนือตอนบนขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้นกเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงอยู่ในธรรมชาติเพื่อแต่งเติมสีสันและสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป โดยรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากหลากหลายแห่ง แสวงหาข้อมูลเชิงภาพถ่ายดิจิทัล การเพิ่มคุณภาพแก่ข้อมูล และการเผยแพร่สารสนเทศให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้บริการวิชาการบนเว็บไซต์หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย การพัฒนาเชิงนวัตกรรมทางการเกษตรได้ต่อไป

คู่มือการใช้งานระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

https://birds.mju.ac.th/

 

ระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 ระบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

               การเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลนก จะมีช่องทางในการเข้าสู่ระบบ โดยการเรียกชื่อเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลนกในช่อง Address ของ Internet Explorer,Google Chrome  หรือ Browser อื่น ๆ (ภาคผนวก ก1)


                เมื่อผู้ใช้เลือกเข้าใช้งานเว็บไซต์ตามภาคผนวก ก1 แล้ว  ระบบจะแสดงหน้าจอหลักขึ้นมา  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                                      1.ส่วนที่แสดงชื่อของระบบ 
                                      2.ส่วนที่เป็นเมนูหลัก   
                                      3.ส่วนที่เป็นเนื้อหาและภาพกราฟิก
                                      (ภาคผนวก ก2)

 

  1. ส่วนที่เป็นเมนูหลัก ประกอบไปด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.1 หน้าแรก  เป็นหน้าจอแรกของระบบ  เวลาที่ผู้ใช้ลิงค์ไปยังหน้าเว็บเพจในหน้าต่าง ๆ  ของระบบแล้ว ต้องการกลับมายังหน้าแรก สามารถ
                 กดที่ปุ่มนี้ (ภาคผนวก ก3) เว็บเพจก็จะกลับมาที่หน้าจอหลักของระบบ (ภาคผนวก ก2)

 

1.2 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนก เป็นหน้าจอที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับนกนกกับมนุษย์ การดูนก การใช้หนังสือคู่มือดูนกภาคสนาม การจำแนกชนิด
                                   นก     จากลักษณะภายนอก กายวิภาคและการปรับตัวของนก พฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์และการเลี้ยงลูก ถิ่น
                                   อาศัยของนก (ภาคผนวก ก4–ก11)

 

 

 

 

 

 

 

 

1.3 ค้นหาข้อมูลนก  เป็นหน้าจอที่แสดงส่วนข้อมูลของนก โดยจะแสดงข้อมูลตามชื่อนกชื่ออังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ อันดับนก ชื่อวงศ์ และ
                         ขนาด(ภาคผนวก ก12 - ก13) ซึ่งถ้าต้องการดูรายละเอียดของนกชนิดไหนเพิ่มเติม  ก็สามารถคลิกที่ชื่อนกชนิดนั้น ๆ
                         ก็จะแสดงรายละเอียดของนกชนิดนั้น ๆ ออกมาเพิ่มเติม อาทิเช่นอุปนิสัย ถิ่นอาศัย อาหาร รัง ฤดูผสมพันธุ์ เป็นต้น
                         (ภาคผนวก ก14)

                              ส่วนการค้นหานก  สามารถค้นหานกได้  โดยสามารถระบุหัวข้อที่ต้องการค้นหา  ว่าจะค้นหาจากชื่อนกชื่ออังกฤษ ชื่อ
                                                   วิทยาศาสตร์ อันดับนก ชื่อวงศ์ ขนาด อุปนิสัย ถิ่นอาศัย อาหาร รัง ฤดูผสมพันธุ์ เป็นต้น
                                                   (ภาคผนวก ก15 )

 

 

 

 

 
1.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากร   เป็นหน้าจอที่แสดงส่วนการค้นหาความเชี่ยวชาญของบุคลากรในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น 

                                        ปักษีวิทยา เป็นต้นโดยผู้วิจัยได้ทำการเชื่อมโยงลิงค์เว็บไซต์มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารฯของ
                                        มหาวิทยาลัยแม่โจ้http://www.e-manage.mju.ac.th/(ภาคผนวก ก16 – ก17

 

 

1.5 รายงานข้อมูลนกเป็นหน้าจอที่แสดงส่วนรายงานข้อมูลนก โดยจะแสดงรายงานข้อมูลนกในรูปแบบต่าง ๆ  อาทิเช่น รายงานแสดงรายชื่อ
                         นกรายงานแสดงลักษณะทั่วไปของนกรายงานแสดงอุปนิสัย ถิ่นอาศัย และอาหารของนกรายงานแสดงรังนก และฤดูผสม
                         พันธุ์ของนกและรายงานแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของนกเป็นต้น(ภาคผนวก ก18ก19)

              ส่วนการใช้เครื่องมือ (Toolbar) บนรายงานข้อมูลนก เพื่อทำการพิมพ์รายงานออกทางเครื่องพิมพ์, การส่งออกรายงานเป็นไฟล์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น MSWord,MSExcelหรือ Acrobat เป็นต้น , การแสดงรายงานในหน้าแรก, การแสดงรายงานหน้าถัดไป, การแสดงรายงานหน้าก่อนหน้าปัจจุบัน หรือการแสดงรายงานในหน้าสุดท้าย, การค้นส่วนข้อมูลของนกในรายงานที่เลือก    สามารถทำได้ตามภาพ(ภาคผนวก ก20– ก23)

 

 

 

 

 

 

 

1.6ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้องกับนกเป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของข่าวหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับนก(ภาคผนวก ก24-ก25)

 

 

1.7 เครือข่าย/ชมรมอนุรักษ์นก   เป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของชื่อของสมาชิก ชมรมหรือกลุ่มอีเมล์ และที่อยู่ของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับนก
                                      (ภาคผนวก ก26 -ก27)

 

 

 

1.8 งานวิจัยด้านนกเป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนก ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้   โดยตามชื่องานวิจัย ชื่อผู้แต่ง ที่อยู่
                       แหล่งที่มา ปี พ.ศ.(ภาคผนวก ก28 -ก29)

 

 

 1.9 เว็บไซต์ข้อมูลนกที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนก จากหน่วยงานหรือองค์กรประเภทต่าง ๆ ที่จัด
                                        ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลของนกให้ประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ หรือผู้ที่สนใจทางด้านข้อมูลนกรับทราบผ่าน
ทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ภาคผนวก ก30 -ก31)

 

 

 

1.10 VDO ที่เกี่ยวข้องกับนก เป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของวีดีโอที่เกี่ยวกับนกจากหน่วยงานต่าง ๆ  (ภาคผนวก ก32 -ก33)

 

 

 

1.11กระดานถาม-ตอบเป็นหน้าจอที่แสดงส่วนของกระดานถาม-ตอบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลนก หรือ ปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ระบบ
                           ฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้(ภาคผนวก ก34-ก35)

 

 

1.12 คณะทำงานวิจัยเป็นหน้าจอที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัย รายละเอียดเกี่ยวกับคณะทำงานวิจัย(ภาคผนวก ก36)

 

 

ผู้ดูแลระบบเป็นหน้าจอสำหรับให้ผู้ที่ดูแลระบบเข้าไปบริหารจัดการข้อมูลนก(เพิ่ม/ลบ/แก้ไข/ค้นหา) โดยผู้ดูแลระบบจะมี
                  UserNameและ Password เพื่อทำการ Login เข้าไปจัดการข้อมูลนกนั้น ๆ (ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเป็นระบบเดียวกับ e-
                  mail ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้)(ภาคผนวก ก37)

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง » Assignment in Microsoft Teams
การมอบหมายงาน (Assignment ) สำหรับนักศึกษาในห้องเรียน ระบบ Microsoft Teams สร้างความสะดวกในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา การส่งงาน และสามารถให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคนในห้องเรียน สำหรับผู้ที่อยู่ในสถาบัน...
Assignment  Microsoft Teams  การมอบหมายงาน  การให้คะแนน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 26/3/2567 18:01:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 1:49:57   เปิดอ่าน 120  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา » Google Sites สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Google Sites คือโปรแกรมหนึ่งของ บริษััท Google ที่เปิดให้ สมาชิกของ Google สามารถ สร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ฟรี โดยการสร้างเว็บไซต์ ด้วย Google Sites นั้น ทำได้ง่าย เหมือนกับการแก้ไข เอกสารธรรมดา ๆ ช...
Google Sites  เว็บไซต์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สุภาพรรณ อนุตรกุล  วันที่เขียน 11/3/2567 17:19:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 4:36:06   เปิดอ่าน 222  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา CLOs ผ่าน มคอ.3
หัวข้อนี้เน้น การออกแบบหลักสูตรให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร สะท้อนถึงความต้องการ ของผู้ที่เกี่ยวข้องครบทุกภาคส่วน และผลการเรียนรู้นั้นต้องครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะเฉพาะทางและทักษ...
CLO  ELO  PLO     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:45:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 13:06:43   เปิดอ่าน 346  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความ...
Canva  Kahoot  Nearpod  Plicker  Quizizz  Storyboard  Visme  Voxer     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 20:41:38   เปิดอ่าน 244  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง