Startup
วันที่เขียน 31/7/2560 16:32:08     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:58:48
เปิดอ่าน: 3439 ครั้ง

Startup คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น (https://tech.mthai.com/tips-technic/51936.html)

Startup คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น

(https://tech.mthai.com/tips-technic/51936.html)

          From Research and Innovation to Startup Thailand 4.0 โดย MR. Amarit Franssen Head of Business at Miex ดร.วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์ ประธาน บริษัท อินสเต็ป จำกัด ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร่วมเสวนาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ณ ณ อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า Startup สามารถนำมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในยุคประเทศไทย 4.0 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยระบบเทคโนโลยี เกิดความคิดสร้างสรรค์ และประยุกต์งานจากการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูงและสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล Startup ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่สามารถนำเสนอไอเดีย เพื่อซื้อใจนักลงทุน ให้เห็นศักยภาพและมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งงานที่เปิดโอกาสให้ Startup เสนอไอเดียนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น จนเกิดเป็นธุรกิจร่วมลงทุนที่มาในรูปแบบองค์กร เงินหนาลงหนัก ก็มีอยู่มากมาย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=701
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง