รายงานองค์ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศระดับชาติ ประจำปี 2560
วันที่เขียน 5/9/2560 13:37:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 17:18:04
เปิดอ่าน: 3422 ครั้ง

ในปัจจุบันถือเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาวิเคราะห์หาข้อสงสัย ศึกษาพฤติกรรมอันจะส่งผลต่อกระทบต่อมนุษย์ เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีจำนวนมาก จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ หรือที่เรียนกว่า Big Data เมื่อข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น นักสถิติหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นต้องมีวิธีการที่ดีและเหมาะสมเข้ามาจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้คำตอบถูกต้องและเหมาะสมที่สุด การแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ของนักสถิติจึงเป็นสิ่งจำเป็น อันจะได้นำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาตนเองและส่งต่อไปยังผู้อื่น อาทิ นักศึกษา การเข้าร่วมประชุมวิชาการสถิติประยุกต์และเทคโนสารสนเทศระดับชาติ ประจำปี 2560 เป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เกี่ยวกับ Big Data

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศระดับชาติ ประจำปี 2560 จัดโดย คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ซึ่งจัดในหัวข้อ "SMART DATA & SMART ANALYTICS FOR SMART DECISION" ทำให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล การจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ดังนี้ 

          Digital Thailand 4.0  คือ ภูมิทัศน์ดิจิทัลของประเทศไทย (Thailand Digital Landscape) โดยเชื่อมโยงความสำคัญของข้อมูล (Data 4.0) ที่จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคการสร้างนวัตกรรม ร่วมทั้งนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง การพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจทั้งภาคการเกษตร การผลิต และการบริการ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านรายได้ การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ การบริหารจัดการการเข้าสู่สังคมสูงวัย การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น และการพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยี บุคลากรในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ เป็นต้น ซึ่งล้วนต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ จำเป็นต้องมีนักสถิติเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง เป็นต้น

         Transfer Learning and Its Application to Shadow Removal from Videos เป็นวิธีการที่ประยุกต์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการจัดการข้อมูลรูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหว โดยการตัดเงา (Shadow) ออก โดยพบว่าวิธีการนี้สามารถนำเงาออกจากรูปภาพได้ถึง 97

          Estimating Data Envelopment Analysis Efficiency Using Uniform Distribution เป็นวิธีการทางสถิติที่นำการแจกแจงเอกรูป (Uniform Distribution) ไปประยุกต์ใช้ในการประมาณการวัดประสิทธิภาพของหน่วยผลิตด้วยวิธี Data Envelopment Analysis ซึ่งเป็นวิธีการประมาณค่าที่ไม่อิงพารามิเตอร์ ซึ่งจะไม่มีการกำหนดรูปแบบของฟังก์ชันที่แน่นอนสำหรับขอบเขตประสิทธิภาพ (Efficient Frontier) แต่ขอบเขตประสิทธิภาพจะถูกคำนวณขึ้นโดยใช้ระเบียบวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าโปรแกรมเชิงเส้น ด้วยการวัดประสิทธิภาพเมื่อสถานการณ์มีลักษณะไม่เอื้ออำนวยด้วยการสร้างช่วงประสิทธิภาพภายใต้การแจกแจงเอกรูป 

          ผลของการละหมาดที่มีต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง ความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง ความดันโลหิตและชีพจร งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติในการศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalograph: EEG)  ความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง (Galvanic Skin Response: GSR) ความดันโลหิต (Blood pressure: BP) และชีพจร (Pulse) ระหว่างก่อนและหลังการละหมาด โดยพบว่าค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสมองระดับเบต้า (Beta) และระดับแกมมา (Gamma) ก่อนและหลังการละหมาดมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ในทดสอบค่าความแตกต่างกันดังกล่าว เนื่องจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก

          การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยการพยากรณ์การใช้ตัวแบบวินเตอร์และการพยากรณ์โดยอนุกรมเวลา บ๊อกซ์-เจนกินส์ งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้วิธีการพยากรณ์เชิงสถิติไปสร้างตัวแบบพยากรณ์เกี่ยวกับจำนวนักท่องเที่ยวประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ใช้ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยพบว่าตัวแบบที่ได้จากวิธีอนุกรมเวลาบ๊อกซ์-เจนกินส์ คือ SARIMA(0,1,0)(0,1,1) ให้ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) ต่ำที่สุด 

          การจัดสรรการขนส่งน้ำมันดีเซล: กรณีศึกษา บริษัทน้ำมันแห่งหนึ่ง งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้วิธีการดำเนินการวิจัย (Operation research: OR) ในการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกช่องทางในการขนส่งน้ำมันไปยังสถานีน้ำมันในพื้นที่ภาคเหนือ 5 สถานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ผู้วิจัยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า ตัวแบบการเฟ้นสุ่มเชิงเส้นแบบสองชั้น (Two-stage Stochastic Linear Program Model) ในการเปรียบเทียบนโยบาย 2 แบบคือ นโยบายเดิมที่เลือกการขนส่งทางรถบรรทุก และนโยบายใหม่ที่เลือกการขนส่งทางรถไฟ พบว่านโยบายใหม่สามารถลดต้นทุนได้ถึง 15.43% เมื่อเทียบจากนโยบายเดิม

             หัวข้อ วิธีจำแนกกลุ่มระยะการเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยกระบวนการทางสถิติ โดย นายเกรียง กิจบำรุงรัตน์  ได้นำเสนองานวิจัยที่เปรียบเทียบวิธีการทางสถิติ 2 วิธีในการจำแนกกลุ่มระยะการเป็นโรคมะเร็งเต้านม คือ วิธีการถดถอยลอจิสติกเชิงอันดับ (Ordinal Logistic Regression Model) และวิธีการจำแนกประเภท (Discriminant Analysis Model) ผู้วิจัยได้กำหนดตัวแปรตาม คือ ระยะการเป็นมะเร็งของผู้ป่วย และตัวแปรอิสระ คือ เซลล์เนื้อร้ายที่เจริญเติมโตผิดปรกติ ได้แก่ ความหนาของก้อนเนื้อ ความสม่ำเสมอของขนาดเซลล์ ความสม่ำเสมอของรูปร่างเซลล์ การเกาะติดขอบของเซลล์ ขนาดเซลลเดียว นิวเคลียสไม่ถูกห้อหุ้ม โครมาตินเฉพาะ นิวคลีโอไลในภาวะปกติและการแบ่งตัวของเซลล์ ผู้วิจัยพบว่าตัวแบบที่ได้จากวิธีการถดถอยลอจิสติกเชิงอันดับมีอำนาจจำแนกระยะการเป็นมะเร็งของผู้ป่วยได้ถูกต้องร้อยละ 55.50 ส่วนตัวแบบที่ได้จากวิธีวิธีการจำแนกประเภทมีอำนาจจำแนกได้ถูกต้องร้อยละ 54.10 เป็นต้น

             Estimating Infectious Disease in Thailand Based on Verbal Autopsy งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติที่เรียกว่า การถดถอยลอจิสติก (logistic regression) ในการประมาณการเกิดโรคติดเชื้อ (ไม่นับรวมโรควัณโรคและ HIV/AIDS) ในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลจาก Verbal Autospy (VA) ในปี 2005 ซึ่งเป็นเครื่องมือการสอบสวนสาเหตุการตายแบบหนึ่งที่พัฒนาโดย WHO ผู้วิจัยกำหนดตัวแปรอิสระ คือ จังหวัด เพศ กลุ่มอายุ และสาเหตุการตายตามพื้นที่ เพื่อการปรับค่าการเกิดโรคดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบดังกล่าวเข้ากับข้อมูลได้ดี และสามารถนำไปประมาณอัตราการตายโรคติดเชื้อในประเทศไทยได้

             Bivariate Copula on the Hotelling’s T2 Control Chart of Contaminated data งานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์การนำ Copula จำนวน 5 แบบ ได้แก่ Normal, Clayton, Gumbel, FGM และ Joe copula ไปประยุกต์ใช้ในแผนภาพควบคุมคุณภาพของ Hotelling’s T2 เมื่อข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงแบบแกมมาที่มีพารามิเตอร์กำหนดรูปร่างเท่ากับ 1 และพารามิเตอร์อัตราเท่ากับ 4 ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดให้ข้อมูลมีการแจกแจงแบบเลขชี้กำลังที่มีพารามิเตอร์เท่ากับ 1 เป็นข้อมูลเจือปน ผลการวิจัยพบว่า Joe copula ที่กำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1  และกำหนดข้อมูลเจือป่นที่ร้อยละ 1, 5 และ 10 ให้ค่า ARL1 ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ Copula ตัวอื่น ๆ 

ซึ่งจากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าว สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเสวนาและการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และคณิตศาสตร์ศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างงานวิจัยที่สนใจได้ เช่น การนำระเบียบวิธีการใหม่ ๆ ไปประยุกต์ใช้ การนำข้อดีหรือข้อเสียที่ค้นพบจากงานวิจัยไปเป็นข้ออ้างอิงในการทำงานวิจัย ต่อไป เป็นต้น 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:48:02   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:48   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง