สวัสดี หนีห่าว!
วันที่เขียน 27/1/2554 7:24:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 11:24:59
เปิดอ่าน: 62602 ครั้ง

..ทักทายกันแบบจีน..

 

 

                ในยุคโลกไร้พรมแดนอย่างทุกวันนี้  ภาษาจีนกลาง กล่าวได้ว่าเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพโยกย้ายถิ่นไปจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีลูกหลานสืบสกุลอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาจีนกลางจึงถือว่าเป็นการสร้างจุดเด่นหรือสร้างโอกาสในด้านต่างๆให้กับผู้เรียนนั่นเอง

                ก่อนเข้าสู่บทเรียนภาษาจีนกลาง ผู้เขียนขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านในเรื่องเกี่ยวกับภาษาจีนกลางอย่างย่อ ๆ ก่อนว่า
ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาแมนดาริน(Mandarin) คือภาษาที่ถูกกำหนดให้เป็นภาษากลาง หรือภาษาราชการมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล มีประชากรจำนวนมาก และที่สำคัญคือมีภาษาถิ่นมากมาย ภาษาถิ่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีกมีหลายภาษาเช่น ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาฮกเกี้ยน ภาษากวางตุ้ง ภาษาแคะ เป็นต้น ทำให้คนในประเทศจีน
ที่แม้ว่าจะเป็นคนจีนเหมือนกันแต่ใช้ภาษาท้องถิ่นต่างกันไม่สามารถสื่อสารกันได้ การกำหนดให้มีภาษาราชการใช้ทำให้คนจีนสามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารกันได้นั่นเอง

               เอาล่ะค่ะ เกริ่นนำแล้ว เรามาเริ่มเข้าสู่บทเรียนภาษาจีนกลางกันดีกว่า สำหรับการพบกันครั้งแรกขอเริ่มต้นด้วยบทเรียนที่เกี่ยวกับการทักทายแบบจีน ๆ กันนะคะ เพื่อว่าฉบับต่อไป เราจะได้นำบทเรียนนี้ไปใช้ได้เลย

สถานการณ์ที่ 1  : นักเรียนสองคนทักทายกัน

A:你好!          อ่านว่า  หนีห่าว                         แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ

B:你好!          อ่านว่า  หนีห่าว                         แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ

หมายเหตุ        อ่านว่า  หนี่                              แปลว่า   คุณ , เธอ

                      อ่านว่า   ห่าว                            แปลว่า   ดี

                  你好! เป็นคำทักทายที่ใช้ได้ทุกสถานที่และทุกช่วงเวลาของวัน มีความหมายกลาง ๆ คล้ายกับการทักทายด้วยคำว่า “Hello” ในภาษาอังกฤษ

สถานการณ์ที่ 2  : นักเรียนทักทายอาจารย์ในชั้นเรียน

นักเรียน  : 老师 好!       อ่านว่า เหล่าซือห่าว          แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์

อาจารย์   : 你们 好!     อ่านว่า  หนี่เมินห่าว           แปลว่า  สวัสดี(พวกคุณ = นักศึกษาทุกคน)

หมายเหตุ   老师               อ่านว่า  เหล่าซือ              แปลว่า อาจารย์ , ครู

              你们              อ่านว่า  หนี่เมิน                แปลว่า พวกคุณ

              (คำว่า 们 เป็นคำเติมท้าย ทำให้คำนามหรือคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเป็นพหูพจน์)

สถานการณ์ที่ 3  :พนักงานต้อนรับของโรงแรมทักทายแขกที่มาพัก

 

พนักงานต้อนรับ : 您 好!           อ่านว่า หนินห่าว                 แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะท่าน

 

แขกที่มาพัก      : 你好!         อ่านว่า  หนีห่าว                  แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ

 

หมายเหตุ                    nín                  อ่านว่า หนิน                     แปลว่า  ท่าน

 

                     您 好!   เป็นคำทักทายที่มักใช้กับผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า หรือเมื่อต้องการแสดงความคารพนับถือ หรือเมื่อต้องการให้เกียรติผู้ที่สนทนาด้วย 

 

                นอกจากนี้แล้วในภาษาจีนกลางยังมีคำทักทายที่มีการระบุช่วงเวลาให้เลือกใช้อีกด้วย เช่น

 

早安!    อ่านว่า จ่าวอาน                    แปลว่า อรุณสวัสดิ์/สวัสดีตอนเช้า

早上好!อ่านว่า จ่าวซ่างห่าว             แปลว่า อรุณสวัสดิ์/สวัสดีตอนเช้า

午安!  อ่านว่า อู่อาน                แปลว่า สวัสดีตอนบ่าย

晚上好!อ่านว่า  หว่านซ่างห่าว        แปลว่า สวัสดีตอนกลางคืน

 

    ว่าด้วยเรื่องของการกล่าวทักทายเมื่อพบกันแล้วสุดท้ายของฉบับนี้ขอฝากคำกล่าวอำลาไว้ด้วยนะคะ

 

晚安!    อ่านว่า    หว่านอาน    แปลว่า  ราตรีสวัสดิ์ (เผื่อเอาไว้ Say goodnight กับใครๆ) 

再见!  อ่านว่า    จ้ายเจี้ยน       แปลว่า  ลาก่อน

 

                โอกาสต่อไป เราจะมาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการแนะนำตัว รวมถึงเรื่องความสำคัญและรายละเอียดของสัทอักษร หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษที่กำกับอยู่ท้ายตัวอักษรจีนกันนะคะ  พบกันใหม่ในโอกาสหน้าค่ะ  ^U^


*********************

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=74
ความคิดเห็นทั้งหมด (5)
ปาณิศา วงค์ใส     วันที่เขียน : 8/2/2557 0:00:00

บทความนี้ให้ความรู้ดีค่ะ

Unknow     วันที่เขียน : 24/2/2554 0:00:00

หนี่ห่าว ดีมากมากเลยค่ะ

 

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 10/2/2554 0:00:00

@ หมูบิน ("พี่นิ่ว" หรือเปล่าคะ??) --> 谢谢 !!  @^^@

 

 

หมูบิน     วันที่เขียน : 10/2/2554 0:00:00

老师 好 ชอบมากคะ

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 27/1/2554 0:00:00

ตัวอักษรจีนไม่ขึ้น..ขออภัยค่ะ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ นครลำปาง กับหลักฐานความงามในอดีตจากภาพถ่ายโบราณ ถ้ากล่าวถึงซุ้มประตูโขงสกุลช่างลำปางที่สวยงามอีกหนึ่งหลัง ในยุคพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2300) คือซุ้มประตูโขง...
ซุ้มประตูโขง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:47:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:49:54   เปิดอ่าน 2337  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » ช่อฟ้าแบบลำปาง
รูปแบบช่อฟ้ากลุ่มลำปางอันเป็นอัตลักษณ์เชิงช่าง ก็ต้องกล่าวถึงช่อฟ้าเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ ที่เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาค ที่ระบุว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 หรือ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแส...
ช่อฟ้าลำปาง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 26/8/2564 13:42:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 18:06:13   เปิดอ่าน 1705  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » วัดร้างแสนขานกับจิตรกรรมเขียนสีกลางกรุ อายุ 600 ปี ค้นพบใหม่อีกแห่งในล้านนา
เจดีย์วัดร้างแสนขาน ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ปรากฏชื่อวัดแสนขาน ในเอกสารตำนานพงศาวดาร แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารโยนกว่า “...พญา...
จิตรกรรมวัดร้างแสนขาน, จิตรกรรมล้านนา 600 ปี     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:20:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:50:09   เปิดอ่าน 2498  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
บทความ » อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย จากชนชาติ...
อาหารล้านนา     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ผู้เขียน กัณณิกา ข้ามสี่  วันที่เขียน 11/10/2562 10:31:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:50:01   เปิดอ่าน 5487  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง