ภาษาR ฟรีโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
วันที่เขียน 4/10/2560 14:16:59     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 22:28:42
เปิดอ่าน: 7434 ครั้ง

ในปัจจุบัน งานด้าน Data Science เป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการประมวลผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) โดยทั่วไปมีโปรแกรมช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหลายโปรแกรม อาทิเช่น SPSS, Minitab, SAS เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการใช้โปรแกรมเหล่านี้ให้ถูกต้องตามลิขสิทธิ์นั้น นับเป็นอุปสรรคของการใช้งานเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง จึงแนะนำโปรแกรมที่น่าใช้งานและเป็นโปรแกรมฟรี ให้ลองดาว์นโหลดไปใช้ นั่นคือโปรแกรม R สามารถใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Windows, Mac OS, หรือ Linux

ภาษา R เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถเขียนฟังก์ชันขึ้นเองโดยใช้คำสั่งที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทำงานบน Windows, Mac OS, หรือ Linux ภาษา R พัฒนามาจากภาษา S ซึ่งพัฒนามาเพื่อใช้งานทางด้านวิเคราะห์ทางสถิติ โดยพัฒนามาจาก Ross Ihaka และ Robert Gentleman ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยอ็อคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในค.ศ. 1996 หลังจากนั้นมีการใช้โปรแกรม R กันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันนี้มีกลุ่มอาสาสมัครช่วยกันพัฒนาและดูแล R ภายใต้ชื่อ R core-development team เป็นศูนย์กลางและสามารถสืบค้นสารสนเทศ และมี package ที่สนับสนุนการทำงานต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม R

ขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม R

1. เข้าเวปไซด์ http://www.r-project.org/ เลือก Download R
2. เลือก “CRAN mirror” จะมีรายชื่อประเทศที่ให้ดาวน์โหลด เลือกประเทศไทย ซึ่งมี server อยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อดาวน์โหลด R program และ package ต่างๆ
3. เลือก “ดาวน์โหลด” ตามระบบปฏิบัติการที่ใช้เช่น mac ก็โหลดของ mac โหลดแล้วให้ทำการ “RUN” โปรแกรม ****สามารถใช้ได้ทั้ง 32 และ 64 bit

การเริ่มต้นทำงาน

การเริ่มต้นโปรแกรม R สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows กระทำได้โดยคลิกที่ไอคอนของ R  ก็จะเข้าสู่ ระบบการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่า R console ดังนี้

หรือสามารถทำงานบน R Editor โดยเปิดใช้จาก File > New script จะปรากฏหน้าต่างดังนี้

         การติดตั้งและเรียกใช้แพคเกจ 

         ในการเรียกใช้แพคเกจสามารถตรวจสอบรายชื่อแพคเกจที่ต้องการเรียกใช้จาก

Smile Package > Load package …

ตรวจสอบรายชื่อแพคเกจที่ต้องการเรียกใช้ หากไม่มีต้องทำการติดตั้งก่อน 

         Smile การติดตั้ง (installation) เลือกเมนู

Packages > Install package(s)... (ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต)

 

สถิติพื้นฐาน

         การหาค่าสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน มัธยฐาน พิสัย สามารถหาได้โดยใช้คำสั่ง

         การหาค่าเฉลี่ยของ Vector x โดยใช้คำสั่ง

> mean(x)         

การหาค่ามัธยฐาน โดยใช้คำสั่ง

>median(x)

  การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คำสั่ง

>sd(x)

  การหาค่าความแปรปรวน โดยใช้คำสั่ง

>var(x)

การหาค่าพิสัยของข้อมูล

>max(x)-min(x)

การหาค่าพิสัยควอร์ไทล์

>IQR(x)

การหาค่าสถิติพื้นฐานอย่างง่าย เช่น

Min.       1st Qu.            Median        Mean       3rd Qu.         Max.

ค่าต่ำสุด    ควอไทล์ที่ 1      ค่ามัธยฐาน       ค่าเฉลี่ย    ควอไทล์ที่ 3      ค่าสูงสุด

ใช้คำสั่ง >summary(x)

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=742
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 1:50:02   เปิดอ่าน 60  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง