การสกัดน้ำมันจากไพล เพื่อผลิตน้ำมันนวดไพลและยาหม่องไพลสด
วันที่เขียน 22/11/2560 10:46:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 9:39:56
เปิดอ่าน: 69266 ครั้ง

ไพล หรือปูลอย ปูเลย มิ้นสะล่าง ว่านไฟ เป็นสมุนไพรตัวหนึ่งในบัญชียาจากสมุนไพร ใน บัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2554 กลุ่มที่ 2 บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร กลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยาสำหรับใช้ภายนอก

                                   การผลิตผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดจากสารสกัดสมุนไพร 

สารสกัด หมายถึง กระบวนการแยกสารออกฤทธิ์ ออกจากสารที่เป็นของแข็งหรือของเหลว โดยใช้ตัวทำละลายซึ่ง สามารถละลายสารออกฤทธิ์ที่ต้องการออกมา

พืชสมุนไพร : ไพล

      ไพล หรือปูลอย ปูเลย มิ้นสะล่าง ว่านไฟ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. หรือ Zingiber cassumunar Roxb. วงศ์ Zingiberaceae  ชื่อภาษาอังกฤษ Cassumunar ginger, Bengal root หรือใช้ทับศัพท์ว่า Phlai   เป็นสมุนไพรตัวหนึ่งในบัญชียาจากสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2554 กลุ่มที่ 2 บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร กลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยาสำหรับใช้ภายนอก ได้แก่

        - ตำรับยาครีมไพล ประกอบด้วยน้ำมันไพลที่ได้จากการกลั่น ร้อยละ 14 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

        - ยาน้ำมันไพล สารสกัดน้ำมันไพลที่ได้จากการทอด (hot oil extract) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในตำรับ ซึ่งเป็นสูตรเภสัชตำรับของโรงพยาบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในตำรับ ซึ่งเป็นสูตรเภสัชตำรับของโรงพยาบาล

          ข้อบ่งใช้ ของทั้งสองตำรับคือ บรรเทาอาการ ปวดเมื่อย บวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก การอักเสบของเอ็น กล้ามเนื้อและข้อต่อ

วิธีการสกัดสมุนไพร (ไพล)

       1.การสกัดด้วยวิธีการกลั่น  เป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นของเหลวที่เป็น hydrophobic ระเหยได้ อาจจะได้จากการกลั่นโดยการต้มด้วยน้ำ (water distillation) ไอน้ำจะพาเอาน้ำมันหอมระเหย ไปควบแน่นเมื่อสัมผัสกับความเย็นของเครื่องควบแน่น (condenser) มีข้อเสียตรงที่ไพลที่นำมากลั่นจะถูกความร้อนนาน อาจทำให้น้ำมันไพลที่ได้มีกลิ่นผิดไปได้ หรือจะได้จากการกลั่นโดยใช้การผ่านของไอน้ำเข้าสู่ภาชนะที่มีไพลบรรจุอยู่ (steam distillation) ไอน้ำจะพาเอาน้ำมันหอมระเหยไปควบแน่นที่เครื่องควบแน่น วิธีนี้มีข้อดีกว่าคือ ไพลจะถูกความร้อนไม่มาก น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะไม่มีกลิ่นผิดเพี้ยนไป นั่นคือน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากทั้ง 2 วิธี จะมีสารประกอบทางเคมีที่ต่างกันบ้าง โดยทั่วไปน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจะประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีที่มีโมเลกุลเล็ก ได้แก่ สารกลุ่ม monoterpenes และสารกลุ่ม sesquiterpenes น้ำมันหอมระเหยไพลที่ได้จากการกลั่นประกอบด้วย สารกลุ่ม monoterpenes

      2.การสกัดด้วยวิธีการทอด  น้ำมันไพลสูตรนี้เตรียมได้จากการนำไพลสดมาทอดกับน้ำมันพืช ชนิดอิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม ไม่ควรใช้น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัว เพราะว่าจะไม่ทนต่อความร้อนและทำให้พันธะคู่ในโมเลกุลเกิดการแตก และรวมตัวเป็นสาร“โพลีเมอร์”เกิดขึ้น ทำให้เกิดความหนืดนอกจากนี้จะทำให้เกิดควันได้ง่าย และน้ำมันเหม็นหืน  น้ำมันพืชก็สามารถจะสกัดน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยสารประกอบที่มีขั้วน้อยและโมเลกุลเล็กได้ พร้อมทั้งสกัดสารประกอบที่มีขั้วน้อยแต่มีโมเลกุลใหญ่ได้ด้วย ซึ่งในไพลนอกจากประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังประกอบสารกลุ่ม arylbutanoids, curcuminoids, และ cyclohexene derivatives เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าสารในน้ำมันหอมระเหยและเป็นสารที่ไม่ระเหย

วิธีการสกัดน้ำมันไพรด้วยวิธีการทอด 

สูตร

      1. หัวไพลสดปอกเปลือกทำความสะอาด    1        กิโลกรัม

       2. น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันมะพร้าว           0.5      กิโลกรัม

ในการเตรียมน้ำมันไพลทอดสูตรโบราณ  หากใส่เหง้าขมิ้นชันด้วย  จะเสริมฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด เพราะขมิ้นชันประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย และสารกลุ่ม curcuminoids ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด

1.ขั้นตอนการสกัดน้ำมันไพรโดยวิธีการทอด (สูตรนี้ จะได้น้ำมันไพลประมาณ 550 cc)

      1. เลือกเหง้าแก่ของไพล ที่มีอายุ 2-3 ปีหลังปลูก จากนั้นนำเหง้าไพลมาล้างให้สะอาด และหั่นแผ่นบางๆ ทิ้งให้หมาด และ นำไปชั่ง 1 กก

      2. เทน้ำมันปาล์ม 0.5 กก ลงกระทะ และยกตั้งไฟ  พอน้ำมันร้อนปานกลาง นำไพลลงทอดในน้ำมัน คนเป็นระยะ

      3. ทอดจนกระทั่งไพลกรอบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ (ไพลชิ้นกรอบดีแล้วใช้นิ้วหักได้ไม่เหนียว) ระวังอย่าให้ไหม้

      4. ตักเอาชิ้นไพลออกเหลือไว้แต่น้ำมันสีเหลือง

      5.นำน้ำมันกรองด้วยผ้าขาวบาง  หรือกระดาษกรอง สังเกตสีน้ำมันไพลจะเรืองแสง แตกต่างจากน้ำมันปาล์ม

2.ขั้นตอนการทำน้ำมันนวดไพล (สูตรนี้จะได้น้ำมันนวดไพล 100 CC )

     1.นำขวดปากกว้าง หรือ ขวดแก้วมีฝาบิด ใส่เมนทอล 10 กรัม,การบูร 15 กรัม เขย่าหรือคนให้ละลายเข้ากัน

     2.หลังจากสารในข้อ 1ละลายแล้ว ให้เติมส่วนของสารที่เป็นของเหลวลงไป ได้แก่ น้ำมันกานพลู  10 cc น้ำมันระกำ  15  cc น้ำมันยูคาลิปตัส 10 cc  และน้ำมันไพล ที่ได้จากการสกัดขั้นตอนที่1  40 cc

    3. ปิดฝาขวดให้สนิท  เขย่าส่วนผสมทั้งหมดให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

    5.นำน้ำมันนวดไพลบรรจุลงขวดเพื่อนำไปใช้ต่อไป

3.ขั้นตอนการทำยาหม่องไพลสด (สูตรนี้จะได้ยาหม่องไพลสดประมาณ 350 กรัม)

   1. นำพาราพิน   1  กรัมวาสลิน  100  กรัม ใส่ลงหม้อใบเล็กหรือขวดแก้วปากกว้างขนาดเล็ก 

   2. นำไปตุ๋นในหม้อน้ำร้อน คนไปมาเพื่อให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อละลายแล้วยกหม้อลงจากเตาและ รอให้อุ่น

   3. เติมน้ำมันนวดไพล ที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จำนวน 50 cc. ลงไปคนให้เข้ากัน

   4. เทยาหม่องไพลสดลงขวดแก้วเล็ก และรอให้ยาหม่องแข็งตัวเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ข้อควรระวัง 

  - ไม่ควรใช้กับแผลเปิด โรคผิวหนังที่มีน้ำเหลือง และไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้ไพลหรือส่วนประกอบในตำรับ

  - การที่ยาโดนแสงแดด สีเหลืองของยาอาจจางลง แต่ไม่มีผลต่อสารสำคัญในการออกฤทธิ์ของยา

  - การใช้น้ำมันไพล อาจเกิดการชาบริเวณที่มีการใช้ยา เนื่องจากการออกฤทธิ์ชาเฉพาะที่ของไพล ไม่ก่อให้เกิดอันตราย

อายุผลิตภัณฑ์ : 3 ปี (นับจากวันผลิต)

การเก็บรักษา : เก็บที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความร้อน

เอกสารอ้างอิง

- คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ

-คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นออนไลน์ http://www.medplant.mahidol.ac.th/index.asp(18 พฤศจิกายน 2560)

- ภานรินทร์  ปรีชาวัฒนากร.เอกสารประกอบการอบรม.การสกัดน้ำมันและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร .                                                     โครงการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และแก่สังคม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  วันที่ศุกร์ 18 สิงหาคม 2560.ชุมชนบ้านศรีเวียงทอง อ.เวียงป่าเป้าจ.เชียงราย

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=753
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:13:45   เปิดอ่าน 6  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 9:04:38   เปิดอ่าน 653  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 7:46:27   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง