แบ่งปันประสบการณ์ค่ายสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4
วันที่เขียน 2/9/2561 23:44:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 4:42:13
เปิดอ่าน: 3095 ครั้ง

ค่ายฝึกวิจัยสุดเข้มข้น 5 วันเต็มกับบทเรียนการทำวิจัยครบทุกขั้นตอน

ค่ายฝึกนักวิจัยลูกไก่ จัดโดย วช. ซึ่งลูกไก่ หมายถึงผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยมาก่อน จัดขึ้นทั่วทุกประเทศ สำหรับศูนย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นรุ่นที่ 4 การอบรมจัดขึ้นทั้งสิ้น 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-8 มิถุนายน 2561 ณ Uniserv มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

รูปแบบการอบรม

มีทั้งการบรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรที่ผ่านการอบรมวิทยากรพ่อไก่ แม่ไก่ โดย วช มาก่อน ในช่วงเช้าของทุกๆ วัน ตามด้วยการฝึกภาคปฏิบัติโดยการเข้ากลุ่มตามหัวข้องานวิจัยที่สนใจเพื่อร่วมกันวางแผนและออกแบบโครงการวิจัยร่วมกันแบบเสมือนจริง

ความประทับใจ

-เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมฟังประสบการณ์และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในการเขียนข้อเสนองานวิจัย

-ได้ร่วมงานกับบุคลากรที่มีความถนัดในหลากหลายสายงาน ได้ไอเดียและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ใช่สายงานเรา

-ได้เพื่อนใหม่ๆ จากหหลากหลายสาขาอาชีพ และความถนัด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์เป็นเครือข่ายวิจัยในอนาคตได้

-จุดประกายให้เห็นความสำคัญของการทำงานวิจัยต่อสังคม และมีแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำงานวิจัยมากขึ้น

-อาหารอร่อยมากทุกมื้อเลย

 

หลักสูตรการอบรม 

-ตารางอบรมแน่น ยาวนาน ทำให้เหนื่อยล้ามากในช่วงเย็นที่ทำภาคปฏิบัติ ที่ต้องใช้ความคิดเยอะ

-ควรสลับมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัตืกระจายทั้งเช้าบ่าย เพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ทันที และได้เปลี่ยนบรรยากาศจากที่ต้องนั่งฟังนานๆ อย่างเดียว

-lecture เนื้อหามากและระยะเวลานานเกินไป หลายๆ ส่วนเป็นเชิงบรรยาย มองไม่เห็นภาพ และนำมาประยุกต์ใช้จริงได้ยาก

-กิจกรรมเลิกดึกเกินไป (บางวัน 3-4 ทุ่ม)

-ภาคบรรยาย ควรเพิ่มตัวอย่างการใช้จริง หรือใช้ประสบการณ์จริงเป็น case study 

-ควรให้แม่ไก่ ซุปเปอร์แม่ไก่ลงช่วยในกลุ่ม workshop และเพิ่มเวลา wprkshop มากกว่านี้ ลด lecture ลง

-เอกสารประกอบการบรรยาย มี text มากเกินไป ควรทำให้เข้าใจง่ายๆ แบบสรุปๆ ประเด็นสำคัญ ส่วนรายละเอียดควรให้เป็นคู่มือประกอบ ที่เปิดอ่านทีหลังได้ 

 

ข้อเสนอแนะอื่นๆ

-กลุ่มการคิดหัวข้อวิจัยใหญ่เกินไป (9-10คน) อาจทำให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในกลุ่มน้อย ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นทุกคน ควรจัดกลุ่มให้เล็กลงสัก 5-6 คนต่อกลุ่ม จะมีข้อดีเพิ่ม คือได้ฟังหัวข้อวิจัยที่หลากหลายมากขึ้น

 

โดยรวม

ประทับใจในค่ายนี้ที่มีวัตถุประสงค์ที่ดีในการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ แต่เนื่องจากรูปแบบกิจกรรมมีความอัดแน่นในเนื้อหาบรรยายมากเกินไป และต่อด้วยภาคปฏิบัติที่เข้มข้น ทำให้ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เกิดความเหนื่อยล้าต่อเนื่อง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิดสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนตารางให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โชคดีที่มีเพื่อนร่วมค่ายที่มีความสนุกสนานร่าเริง ทำให้บรรยากาศในค่ายผ่อนคลายมากขึ้น หากใครสนใจอยากร่วมค่ายนี้ คอยติดตามข่าวประกาศจากทาง วช ได้เรื่อยๆ ทางเว็บเพจ:

https://nrct.go.th/training

 

ปิยธิดา กล่ำภู่

ลูกไก่ สีเขียว รุ่นที่ 4 มช

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=846
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 10:44:10   เปิดอ่าน 35  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง