ทำไมไบโอเซนเซอร์เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจในปัจจุบัน
วันที่เขียน 4/9/2561 5:17:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 17:30:11
เปิดอ่าน: 3760 ครั้ง

จากบทความตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของไบโอเซนเซอร์ไปแล้ว ในปัจจุบันไบโอเซนเซอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งาน ราคาที่จับต้องได้ และยังปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้งานวิจัยด้านนี้น่าสนใจ เราไปตามต่อเลยครับ

การใช้งานไบโอเซนเซอร์ในการตรวจวัดสารวิเคราะห์ชนิดต่าง ๆ โดยเกิดจากปฏิกิริยาที่สารชีวภาพเข้าทำปฏิกิริยากับซับสเตรต (Substrate) โดยซับสเตรตจะเป็นสารด้านใดก็ได้ ขอเพียงแต่ให้สามารถจับและส่งสัญญาณกับสารชีวภาพได้ การที่ใช้ข้อจำกัดเพียงเล็กน้อย แต่สามารถนำไปใช้กับด้านต่าง ๆ ได้มากมาย เช่นการแพทย์ การทหาร อาหาร การเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตารางที่ 1 เป็นตัวอย่างของการใช้ไบโอเซอร์วิเคราะห์สารด้านต่าง ๆ

สารวิเคราะห์ 

การใช้ในด้าน

ตัวแปรสัญญาณ*

แก๊สออกซิเจน

การแพทย์

GCE

กลูโคส

การแพทย์

SPE

ยากำจัดแมลงศัตรูพืช

การเกษตร

ISFET

สารก่อภูมิคุ้มกัน

การแพทย์

FET

ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ

การแพทย์

GCE

ฮอร์โมน

การแพทย์

GCE

แอลฟา-ฟีโตโปรตีน

การแพทย์

GCE

คาร์โบไฮเดรต

อาหาร

PMT

เอทานอล

อาหาร

GCE

วิตามิน บี1

อาหาร

Oxygen electrode

คาร์เฟอีน

อาหาร

Clark electrode

บีโอดี

สิ่งแวดล้อม

Clark electrode

แก๊สมีเทน

สิ่งแวดล้อม

PtE

กรดอะมิโนไลซีน

การแพทย์

Oxygen electrode

ไอออนทองแดง

สิ่งแวดล้อม

SPE

*GCE คือขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน SPE คือขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีน PMT คือหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ PtE คือขั้วไฟฟ้าแพลทินัม และ ISFET คืออีสเฟต

 ตลาดของไบโอเซนเซอร์ (Biosensors marketplace)

การที่ไบโอเซนเซอร์มีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อย แต่มีข้อดีและการประยุกต์ได้มหาศาลทำให้ในปัจจุบันไบโอเซนเซอร์ก่อเกิดเทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านไบโอเซนเซอร์โดยใช้สมบัติอื่น ๆ มากขึ้นมากมาย เช่น ไบโอเซนเซอร์เชิงแสง (Optical biosensors) เซนเซอร์ฉลาด (Smart sensors) เซนเซอร์หุ่นยนต์ซิลิกอนขนาดจิ๋ว (Silicon micromachined sensors) และอุปกรณ์ฟิล์มบาง (Thin-film devices) ตลาดของไบโอเซนเซอร์มีราคาใหญ่ขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกปี โดยประมาณราคาของตลาดในปี 2009 ประมาณ 6.7 พันล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2016 มีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 14.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับว่ามีอัตราการเติบโตสูงถึง 20% ต่อปีต่อเนื่องเกือบ 10 ปีเลยทีเดียว สาเหตุที่ตลาดของไบโอเซนเซอร์เติบโตได้ต่อเนื่องและยาวนานก็เพราะความสามารถในการตรวจวัดด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้มากมาย เช่น ตรวจวัดสารกลูโคส ยูเรีย ฮอร์โมน กรด-เบส ฮอร์โมนเอชซีจี ฯลฯ เพื่อบ่งชี้ความเป็นโรคของมนุษย์ การนำไบโอเซนเซอร์ไปตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น โลหะหนัก ยากำจัดวัชพืช แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัว นอกจากนี้ยังมีการนำไปตรวจวัดวิตามินและปริมาณยาในอาหาร เช่น ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต สารเร่งเนื้อแดง และโปรตีนในอุตสาหกรรม ก็ยังสามารถทำได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=851
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
การจัดการความรู้ » บุหรี่ไฟฟ้า: อันตรายและการป้องกันการสูบในวัยรุ่น
การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นพบว่ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งคือความเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตรายเรื่องจากมีการแต่งกลิ่นต่างๆ เพื่อจูงใจวัยรุ่น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีสารเสพติดที่ร้ายแ...
บุหรี่ไฟฟ้า นิโคติน การป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 11/2/2566 0:34:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 4:17:08   เปิดอ่าน 720  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ไบโอเซนเซอร์ » ไบโอเซนเซอร์
ไบโอเซนเซอร์เป็นอุปกรณ์การตรวจวัดทางชีวภาพโดยการใช้สารชีวภาพเปลี่ยนปริมาณสารที่ต้องการตรวจวัด (Converts) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical signal) ที่สามารถตรวจวัดได้ การพัฒนาไบโอเซนเซอร์และเซนเซอร...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน ธานินทร์ แตงกวารัมย์  วันที่เขียน 18/3/2560 21:55:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 15:40:51   เปิดอ่าน 18622  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 » การจัดสถานที่ในการทำงานและการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน
การจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานสำคัญอย่างไร? เคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ ไหล่และหลังกันบ้างรึเปล่า? เคยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตากันบ้างไหม? แล้วทำไมเราถึงเกิดอาการเหล่านี้ได้...
การจัดสถานที่การทำงาน  การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  ท่าทางการทำงาน     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน จิราดร ถิ่นอ่วน  วันที่เขียน 29/8/2559 16:05:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 3:10:50   เปิดอ่าน 4413  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 » โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีการพัฒนาในการเสริมสร้างองค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) ทัศนคติ ...
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด  การทดสอบสมรรถภาพทางกาย  การพัฒนาสุขภาพ  สุขภาพดี     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน จิราดร ถิ่นอ่วน  วันที่เขียน 26/8/2559 14:55:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 4:37:23   เปิดอ่าน 4274  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง