Blog : เกร็ดความรู้
รหัสอ้างอิง : 977
ชื่อสมาชิก : สุรศักดิ์ กุยมาลี
เพศ : ชาย
อีเมล์ : Surasak_k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 9/3/2555 17:51:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 9/3/2555 17:51:34

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : เกร็ดความรู้
การประชุมทางวิชาการจุลทรรศน์อาเซียนครั้งที่ 8 (8th ASEAN Microscopy Conference) และการประชุมวิชาการสมาคมจุลทรรศน์ศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (The 32nd Annual Conference of the Microscopy Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
เกร็ดความรู้ » งานประชุมวิชาการ TWIT 2018
ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ กุยมาลี พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาระดับชาติ เรื่องเทคโนโลยีการเชื่อมและการตรวจสอบ (Thailand welding and Inspection Technology 2018; TWIT 2018) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ตามหนังสือขออนุมัติเลขที่ ศธ.0523.4.3.3/299 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว สามารถเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการเชื่อม การตรวจสอบ เทคนิคการวิเคราะห์และเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมหลายด้าน ตลอดจนสามารถเพิ่มเติมความรู้เทคโนโลยีการผลิต (Process Technology) วัสดุ (Materials) การออกแบบ (Design) และการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Evaluation; NDE) อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ในด้านการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์และการเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง เช่น เทคนิคการตรวจสอบแบบ In situ analysis จากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ตลอดจนการศึกษาพฤติกรรมของโลหะโดยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการวิจัยได้ในอนาคต นอกจากนี้ความรู้ที่ได้จากการรับฟังบรรยาย สามารถนำมาบูรณาการในการสอนรายวิชา คอ 331 เคมีโลหกรรม และ วิชาคอ 332 กระบวนการเคมีโลหกรรม อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการบริการวิชาการ
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1795  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 30/4/2562 18:20:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 3:02:50
เกร็ดความรู้ » งานประชุมวิชาการ TWIT
ข้าพเจ้า อ.ดร.สุรศักดิ์ กุยมาลี พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาระดับชาติ เรื่องเทคโนโลยีการเชื่อมและการตรวจสอบ (Thailand welding and Inspection Technology 2017; TWIT 2017) ระหว่างวันที่ 10 ถึง 12 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแซนด์ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท จังหวัด จันทบุรี ตามหนังสือขออนุมัติเลขที่ ศธ.0523.4.3.3/201 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 3 จึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้ สามารถเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการเชื่อม การตรวจสอบ เทคนิคการวิเคราะห์และเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมหลายด้าน ตลอดจนสามารถเพิ่มเติมความรู้เทคโนโลยีการผลิต (Process Technology) วัสดุ (Materials) การออกแบบ (Design) และการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Evaluation) อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ในด้านการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์และการเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง เช่น เทคนิคการตรวจสอบแบบ In situ analysis จากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน เป็นต้น นอกจากนี้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการวิจัยได้ในอนาคต
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2215  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 7/9/2561 7:15:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/3/2567 21:04:19
เกร็ดความรู้ » เทคนิคการวิเคราะห์วัสดุ
ข้าพเจ้า อ.ดร.สุรศักดิ์ กุยมาลี พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ ขอนำเสนอประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมจุลทรรศน์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34 (The 34th Annual Conference of the Microscopy Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าได้สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้ สามารถเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องเทคนิคการวิเคราะห์และเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วัสดุศาสตร์ ตลอดจนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) สำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุทั้งในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร ด้วยเทคนิคแบบรูปการเลี้ยวเบนของอิเล็กตรอนแบบเลือกพื้นที่( SADP) และแบบรูปการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอนแบบมุมสอบ (CBED) ในกล้อง TEM การวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของอิเล็กตรอนกระเจิงกลับ (EBSD) ในกล้อง SEM เทคนิเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) การวิเคราะห์โครงสร้างหรือพื้นผิวด้วยเทคนิค Soft X-ray photoelectron spectroscopy (SXPS) ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ (EDS) และการกระจายความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ (WDS) เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เพิ่มพูนความรู้ด้านการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ เช่น เทคนิค Focus ion beam (FIB) โดยใช้แหล่งกำเนิดไอออนจากฮีเลียมซึ่งได้มีการพัฒนามาจากแกลเลียม ทั้งนี้สามารถเตรียมตัวอย่างได้รวดเร็วขึ้นขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ต่ำลง
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3005  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 7/9/2560 13:40:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/3/2567 7:31:42
เกร็ดความรู้ » ระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025
สังคมเราในปัจจุบันเต็มไปด้วยการแข่งขัน งานด้านอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกันเป็นงานที่มีการแข่งขันตลอดเวลา ซึ่งหน่วยงานที่พร้อมกว่าจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบคู่แข่งมาก แต่ถ้าหากหน่วยงานต่างๆ มุ่งเน้นแต่เรื่องความรวดเร็วเพียงอย่างเดียว คุณภาพของงานที่ได้ก็อาจจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นแต่ละประเทศจึงมีการตั้งระบบมาตรฐานของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพของงาน และเพื่อเป็นระบบที่มีข้อตกลงร่วมกันของแต่ละประเทศ จึงมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อสร้างระบบมาตรฐานกลางระว่างประเทศขึ้น ซึ่งเราสามารถพบเห็นระบบมาตรฐานที่นานาชาติใช้ร่วมกันอยู่หลากหลายระบบ โดยระบบที่นิยมใช้ร่วมกันมากได้แก่ระบบ International Organization for Standardization หรือ ISO ซึ่งระบบมาตรฐาน ISO นี้มีมาตรฐานย่อยอีกหลายมาตรฐานทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนั้นๆ เช่น ISO 9001 เป็นมาตรฐานคุณภาพด้านการจัดการ ISO 14001 เป็นมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 18001 เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025” ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโอกาสเรียนรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ดร.จิตรา ชัยวิมล จากสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและความสำคัญของระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตลอดจนเข้าใจถึงข้อกำหนดและการตรวจสอบของระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และสามารถนำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางสำหรับการจัดระบบห้องปฏิบัติการของหลักสูตรฯ เพื่อให้มีความใกล้เคียงกับระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ทั้งนี้เพื่อที่จะต่อยอดสำหรับการขอรับรองคุณภาพของห้องปฏิบัติการในอนาคต
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2716  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 14/3/2560 0:13:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/3/2567 4:20:47
เกร็ดความรู้ » APMC 11
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ขั้นสูงเพื่อให้ได้วัสดุที่มีสมบัติเหมาะสมสำหรับการใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีด้านโลหกรรม ด้านพอลิเมอร์ ด้านอิเล็กโตรเซรามิก ด้านวัสดุผสม ด้านผลึกศาสตร์ ตลอดจนวัสดุนาโน เป็นต้น ซึ่งกลไกการสร้างหรือสังเคราะห์วัสดุต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวัสดุขณะที่มีการใช้งาน จะส่งผลถึงสมบัติของวัสดุ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถสังเกตหรือตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับจุลภาคหรือระดับผลึกศาสตร์ของวัสดุได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงมีการพัฒนาวิธีการเฉพาะทางเพื่อใช้ในการศึกษาถึงรายละเอียดดังกล่าว จุลทรรศนศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการศึกษาโครงสร้างขนาดเล็ก เนื่องจากทำให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอนแบบต่างๆ เป็นต้น การประชุมทางวิชาการ 11th Asia-Pacific Microscopy Conference (APMC 11) และ The 33rd Annual Conference of the Microscopy Society of Thailand (MST 33) ระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรม ภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์แอนด์สปา จังหวัดภูเก็ต ได้รวบรวมองค์ความรู้จากนักวิจัยมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศ จากการเข้าร่วมงานได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการวิจัยซึ่งสามารถนำมาบูรณาการกับงานสอน อาทิ ความก้าวหน้าของเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง เช่น การศึกษาการเปลี่ยนวัฏภาคของโลหะด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านที่มีความสามารถในการแยกชัดที่สูงมาก การพัฒนาเทคโนโลยีการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำและสามารถลดเวลาในการเตรียมตัวอย่างได้เป็นอย่างดี เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงมีการพัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์งานทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ตลอดจนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุทั้งในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตรด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและแบบส่องกราด เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างหรือพื้นผิวด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์แสงกำลังขยายสูง ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์และการกระจายความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ เป็นต้น จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัย ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายก่อให้เกิดประโยชน์ต่อข้าพเจ้าและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถนำมาบูรณาการในการสอน ในรายวิชา คม 565 วิทยาศาสตร์นาโนและนาโนเทคโนโลยีเคมี คอ 331 เคมีโลหกรรมและ คอ 332 กระบวนการโลหกรรม อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการบริการวิชาการต่อไป
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2385  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 17/6/2559 15:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 22:35:56
เกร็ดความรู้ » งานประชุมทางวิชาการโลหวิทยาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 9
โลหะเป็นวัสดุที่มีความสำคัญและความต้องการใช้งานทั้งอย่างกว้างขวางทั้งในอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวัน อาทิ ใช้ในงานโครงสร้างต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์ หรืออุตสาหกรรมเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานโลหกรรรม จำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้โลหะที่ตอบสนองและเหมาะสมกับความต้องการต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ต่อไป งานประชุมทางวิชาการโลหวิทยาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 9 (9th Thailand Metallurgy Conference) ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรม Chateau de Khaoyai จังหวัดนครราชสีมา เป็นงานประชุมวิชาการด้านงานโลหะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีการรวบรวมองค์ความรู้จำนวนมากจากนักวิจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ เป็นการชุมนุมของนักวิชาการด้านโลหะจากมหาวิทยาลัย และจากบริษัทเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมโลหะมากมาย ในงานนี้ได้แบ่งการนำเสนอผลงานออกเป็น 6 sessions ได้แก่ structure and properties, processing, industrial application and general topics, heat treatment and surface engineering, corrosion และ structure and properties ผู้เขียนได้การนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง “การหาลักษณะเฉพาะของแมกนีเซียมฟอสเฟตบนเหล็กกล้าโดยวิธีไม่ใช้ไฟฟ้า” และได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดการนำเสนอผลงานใน session processing ซึ่งในงานประชุมนี้ในแต่ละ session จะมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานวิจัยต่อไป จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัย ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายก่อให้เกิดประโยชน์ต่อข้าพเจ้าและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถนำมาบูรณาการในการสอน ในรายวิชาทางด้านโลหกรรม อาทิ คอ 331 เคมีโลหกรรม คอ 332 กระบวนการโลหกรรม อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการบริการวิชาการต่อไป
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2235  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 15/3/2559 13:13:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/3/2567 3:26:03
เกร็ดความรู้ » ความก้าวหน้าด้านจุลทรรศนศาสตร์
เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในงานทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้วัสดุที่มีสมบัติที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประยุกต์ใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีด้านโลหกรรม ด้านพอลิเมอร์ ด้านอิเล็กโทรเซรามิก ด้านวัสดุผสม ด้านผลึกศาสตร์ ตลอดจนวัสดุนาโน เป็นต้น ซึ่งกลไกการสร้างหรือสังเคราะห์วัสดุรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของวัสดุขณะที่มีการใช้งาน เป็นประเด็นที่มีความสนใจในการศึกษาอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อสมบัติของวัสดุ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างจุลภาคหรือระดับผลึกศาสตร์ของวัสดุเป็นเรื่องที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคนิคเฉพาะทางเพื่อใช้ในการศึกษาถึงรายละเอียดดังกล่าว จุลทรรศนศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการศึกษานี้ เนื่องจากได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอนแบบต่างๆ
คำสำคัญ : จุลทรรศนศาสตร์ โครงสร้างจุลภาค วัสดุศาสตร์ โลหะ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3057  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุรศักดิ์ กุยมาลี  วันที่เขียน 2/9/2558 13:10:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 7:41:48

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้