Blog : การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
“การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์” ความสำคัญของห้องปฏิบัติการปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งผลิตข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากจะต่อยอดการพัฒนาความรู้แล้ว ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าได้อีกด้วย ซึ่งผลการวิเคราะห์ทดสอบจากห้องปฏิบัติการ สามารถใช้ควบคุมกำกับการดูแลสินค้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เพราะในปัจจุบันโลกได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและปกป้องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เช่นการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ของเสียอันตราย จึงยิ่งต้องใส่ใจกับความปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีใน ESPReL Checklist 1. การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย 2. ระบบการจัดการสารเคมี 3. ระบบการจัดการของเสีย 4. ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการอุปกรณ์และเครื่องมือ 5. ระบบการป้องกันและการแก้ไขอันตราย 6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7. การจัดการข้อมูลและเอกสาร เครื่องมือสนับสนุนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 1.ฐานความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ( ESPReL Knowledge platform : ENoP ): http://esprel.labsafety.nrct.go.th เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ประชาสัมพันธ์ อบรม สัมมนา เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ best practice หรือ lesson learn เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 2.คำแนะนำการตรวจสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist :http:// labsafety.nrct.go.th ทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ทำให้ได้สำรวจสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง และทำให้ทราบถึงสถานภาพองค์ประกอบความปลอดภัยทั้ง 7 องค์ประกอบ ทราบถึงจะแข็ง จุดอ่อน ในแต่ละองค์ประกอบ และได้แนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อยกระดับความปลอดภัยที่เหมาะสม 3.โปรแกรมการกำจัดสารเคมี Chemlnvent: http:// chemlnvent.labsafety.nrct.go.th เป็นโปรแกรมกำจัดสารเคมีภายในองค์กร สามารถจัดการข้อมูลของสารเคมี ทั้งชนิด ปริมาณที่นำเข้า ปริมาณคงเหลือ สถานที่เก็บ ค่าใช้จ่าย ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี มีระบบการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลที่สามารถใช้งาน ได้ทั้งระบบออฟไลน์ และระบบออนไลน์ สามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหวของสารเคมีได้ตลอดเวลา และรายงานสรุปการใช้โปรแกรมและข้อมูลสารเคมีได้ เพื่อให้มีการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.6 ตุลาคม 2560.สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ » “การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์”
“การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์” ความสำคัญของห้องปฏิบัติการปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งผลิตข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากจะต่อยอดการพัฒนาความรู้แล้ว ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าได้อีกด้วย ซึ่งผลการวิเคราะห์ทดสอบจากห้องปฏิบัติการ สามารถใช้ควบคุมกำกับการดูแลสินค้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เพราะในปัจจุบันโลกได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและปกป้องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เช่นการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ของเสียอันตราย จึงยิ่งต้องใส่ใจกับความปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีใน ESPReL Checklist 1. การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย 2. ระบบการจัดการสารเคมี 3. ระบบการจัดการของเสีย 4. ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการอุปกรณ์และเครื่องมือ 5. ระบบการป้องกันและการแก้ไขอันตราย 6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 7. การจัดการข้อมูลและเอกสาร เครื่องมือสนับสนุนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 1.ฐานความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ( ESPReL Knowledge platform : ENoP ): http://esprel.labsafety.nrct.go.th เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ประชาสัมพันธ์ อบรม สัมมนา เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ best practice หรือ lesson learn เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 2.คำแนะนำการตรวจสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist :http:// labsafety.nrct.go.th ทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ทำให้ได้สำรวจสภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง และทำให้ทราบถึงสถานภาพองค์ประกอบความปลอดภัยทั้ง 7 องค์ประกอบ ทราบถึงจะแข็ง จุดอ่อน ในแต่ละองค์ประกอบ และได้แนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อยกระดับความปลอดภัยที่เหมาะสม 3.โปรแกรมการกำจัดสารเคมี Chemlnvent: http:// chemlnvent.labsafety.nrct.go.th เป็นโปรแกรมกำจัดสารเคมีภายในองค์กร สามารถจัดการข้อมูลของสารเคมี ทั้งชนิด ปริมาณที่นำเข้า ปริมาณคงเหลือ สถานที่เก็บ ค่าใช้จ่าย ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี มีระบบการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลที่สามารถใช้งาน ได้ทั้งระบบออฟไลน์ และระบบออนไลน์ สามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหวของสารเคมีได้ตลอดเวลา และรายงานสรุปการใช้โปรแกรมและข้อมูลสารเคมีได้ เพื่อให้มีการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ อ้างอิง: เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.6 ตุลาคม 2560.สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3991  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 9/10/2560 10:11:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 16:36:10

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้