ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 2221
ชื่อสมาชิก : ปานวาด ศิลปวัฒนา
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panwad_sw@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 1/9/2560 11:19:37


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
Yeast Expression Technology and Application การใช้จุลินทรีย์ประเภทยูคาริโอตเพื่อผลิตโปรตีนลูกผสม (recombinant protein) มีมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งในกระบวนการผลิตจะอาศัยเซลล์เจ้าบ้านที่มีการพัฒนาคุณสมบัติที่ต้องการ เพื่อให้สอดคล้องกับทั้งปริมาณการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการ (ในกรณีของเอนไซม์) และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ (ในกรณีของเวชภัณฑ์ต่างๆ) โดยยูคาริโอทที่นิยมใช้เพื่อการผลิตเอนไซม์ คือ Pichia pastoris ซึ่งจัดเป็นยีสต์สายพันธ์ที่สามารถใช้เมทานอลเป็นแหล่งพลังงาน (methylotrophic yeast) Pichia จัดเป็นเจ้าบ้าน (host) ที่มีความสำคัญต่อการแสดงออกของโปรตีนลูกผสม เนื่องจากเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้ - ให้ผลผลิตสูง - เซลล์สามารถเจริญได้จนถึงความหนาแน่นสูง จึงทำให้ได้ผลผลิตสูง เนื่องจากโปรตีนที่ถูกผลิตได้จากการแสดงออกของยีน จะมีปริมาณใกล้เคียงกับปริมาณโปรตีนที่ผลิตได้ต่อเซลล์ โดยไม่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่มีราคา สูง - กระบวนผลิตการสามารถควบคุมได้ - ระบบการแสดงออกมีความเสถียร - สามารถหลั่งโปรตีนที่ผลิตขึ้นออกนอกเซลล์ได้ จึงทำให้ประหยัดเวลาและต้นทุนในการทำสารให้บริสุทธิ์ นอกเหนือจากการนำ Pichia มาใช้เป็นเจ้าบ้านเพื่อผลิตเอนไซม์แล้ว ยังสามารถนำมาใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิง และเคมีภัณฑ์ต่างๆ ได้ เพื่อลดภาวะโลกร้อน ยีสด์ Saccharomyces cerevisiae ถูกนำมาใช้เนื่องจากมีความปลอดภัย และมีความสามารถในการหมัก และสามารถถูกตัดต่อทางพันธุกรรมได้ Ogataea thermomethanolica เป็นยีสต์อีกสายพันธ์หนึ่งซึ่งถูกแยกได้ในประเทศไทย และแสดงศักยภาพในอุตสาหกรรมการผลิตเอนไซม์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาวะการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูง เนื่องจากเป็นสายพันธ์ที่เจริญได้ที่อุณหภูมิสูง (thermotolerant yeast) และสามารถใช้น้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นวัตถุดิบราคาถูก เป็นแหล่งพลังงานได้ ดังนั้น การใช้ประโยชน์จาก Ogataea thermomethanolica เพื่อเป็นเจ้าบ้านในการผลิต จึงเป็นที่สนใจ จากการศึกษาพบว่าบริเวณที่ควบคุมการแสดงออกของยีน หรือ promoter ซึ่งได้แก่ AOX และ GAP จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี แม้อุณหภูมิสูง ซึ่งนับว่าหาได้ยาก
การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental audit) ความหมายของการตรวจประเมิน: การดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและเป็นอิสระ เพื่อกำหนดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และผลที่เกิดขึ้น ว่าเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้หรือไม่โดยผู้ตรวจประเมิน เพื่อที่จะรับรอง และประเมินผลการการดำเนินงานอย่างถูกต้อง และรายงานผลของการตรวจประเมินการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประเภทของการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: การตรวจประเมินทางสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังต่อไปนี้ - การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance Audit) - การตรวจประเมินเกี่ยวกับข้อกำหนดที่ถูกกำหนดโดยภาคธุรกิจ (Due Diligence Audit) - การตรวจประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Audit) - การตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมเบื้องตน (Environmental Pre-acquisition Audit) - การตรวจประเมินกระบวนการ (Process Audit) - การตรวจประเมินการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship Audit) - การตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ (Product Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการของเสีย (Waste Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการพลังงาน (Energy Audit) - การตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Statement Audit) - การตรวจประเมินด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Audit) - การตรวจประเมินการปนเปื้อนในพื้นที่ (Contaminated Site Audit) - การตรวจประเมินด้านการจัดการป่าไม้ (Forest Stewardship Audit) - การตรวจประเมินด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System Audit) ความสำคัญของการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: - เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับปรุงระบบในองค์กร - เพื่อสร้างความมั่นในให้กับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง - เพื่อตรวจดูระบบบริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพของสินค้า/บริการ และกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรได้ทราบว่าระบบตรวจประเมินมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมหรือไม่ - เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ / วิธีการทำงานที่ได้กำหนดไว้ เป็นไปตามข้อกำหนดของตัวสินค้า /บริการ กฎหมาย / ข้อกำหนดอื่นๆ และความพึงพอใจของลูกค้า และมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง - เพื่อให้องค์กรจัดทำการตรวจประเมินโดยพิจารณาจากสถานะความสำคัญของกระบวนการต่างๆ และผลลัพธ์ของการตรวจประเมินที่ผ่านมา ขั้นตอนการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม: ขั้นตอนในการตรวจประเมิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การวางแผนการตรวจประเมิน (Audit planing) ประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อยดังต่อไปนี้ 1.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน 1.2 จัดทำตารางหรือแผนการตรวจประเมิน (Audit plan) 1.3 จัดทำกำหนดการตรวจประเมิน (Audit Program) ซึ่งได้แก่ • หน่วยงานหรือบุคคลที่จะถูกตรวจประเมิน • คณะกรรมการการตรวจหรือผู้ตรวจ • เรื่องที่จะทำการตรวจประเมิน • ช่วงเวลา • ต้องได้รับอนุมัติจากผุ้ที่มีอำนาจ 1.4 จัดคณะทำงาน คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ ในการตรวจประเมิน 1.5 แจ้งผู้ดูแลในส่วนที่ต้องถูกตรวจ 1.6 ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง คู่มือ ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ เอกสารสนับสนุน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.7 การเตรียมและการจัดทำ checklist มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ • อ่านเอกสารที่จะทากรตรวจประเมินอย่างละเอียด • ทำความเข้าใจในเรื่องที่จะทำการตรวจประเมิน • มีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม • พิจารณาคำถาม 5W 1H (who, what, where, when, why และ how) 1.8 ประชุมตกลงเตรียมการกับสมาชิกผู้ตรวจประเมิน ประสบการณ์ ความสามารถ และความเป็นอิสระ 1.9 กำหนดขอบเขตของการตรวจ ว่าต้องตรวจกิจกรรมใดบ้าง ต้องตรวจทั้งระบบ หรือตรวจเฉพาะส่วนงานหรือพื้นที่ 1.10 ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ดำเนินระบบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ 2. การปฏิบัติการตรวจประเมิน 2.1 การเปิดการประชุม 2.2 การดำเนินการตรวจประเมิน 2.3 ทบทวนหลักฐานที่ตรวจพบ การรายงานผลการตรวจประเมิน: ข้อมูลที่สามารถวัดเป็นรูปธรรม ในเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นหลักฐานจากการตรวจประเมิน เช่น บันทึก รายงานข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวช้องกับกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบการจัดการ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกต การวัด การทดสอบ และสามารถตรวจสอบได้ โดยสรุปหลักฐานจะได้จาก • การสัมภาษณ์ • การตรวจสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน ณ ส่วนที่มีการปฏิบัติงาน • การตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกต่างๆ รายงาน ฯลฯ • บันทึกสี่งที่ตรวจพบระหว่างการตรวจประเมิน ทำให้ทราบถึงผลการตรวจประเมิน ว่ามีการปฏิบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จะมีการกำหนดระดับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับดังนี้ คือ - Major จัดเป็นระดับความบกพร่องที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการในการควบคุมปัญหา และต้องดำเนอนการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น การไม่ดำเนินการตามกฎหมาย เป็นต้น - Minor เป็นระดับความบกพร่องที่เล็กน้อย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อความล้มเหลวของระบบฯ - Observation เป็นข้อที่ควรปรับปรุง ไม่ใช่ความผิด แต่อาจส่งผลเป็นข้อบกพร่องในอนาคตได้ - Recommendation เป็นข้อแนะนำในการพัฒนาในอนาคต 2.4 การปิดประชุม: ต้องมีการพูดคุยด้วยวาจา และผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมต้องรอบรับใบ CAR เพื่อเสนอข้อที่จะแก้ไขและป้องกัน รวมถึงวันที่คาดว่าจะแก้ไขเสร็จ 3 การติดตามผล การแก้ไข และการปิดประเด็นข้อบกพร่อง: เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจประเมินที่จะต้องตรวจความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ในบางกรณีอาจมีการออกใบ CAR ซ้ำ ไม่สามารถปฏิบัติงานตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ 4 การายงานผลการตรวจประเมิน (Audit Report) จะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1 ขอบเขต วันที่ และเวลาของการตรวจประเมิน 4.2 รายชื่อบุคคลทีทำการตรวจปร
ในประการแรกต้องทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลว่ามีขึ้นเพื่อคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต (เกษตรกร) โดยผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดีและมีการผลิตที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม และในส่วนของผู้ผลิตคือเกษตรกรต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อที่จะสามารถขายสินค้าได้ ซึ่งการรับรองคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีข้อกำหนดพื้นฐานคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามไม่ให้มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ : หลักการของเกษตรอินทรีย์คือการพึ่งตนเองและความอุดมสมบูรณ์นั้นต้องหมุนเวียนมาจากไร่นาของตนเอง เช่นการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์และพืช ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน 2. ห้ามไม่ให้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชใดๆ เช่นสารกำจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง สารกำจัดโรคพืชเป็นต้น โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของผลิตภัณฑ์ไล่แมลงและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติบางชนิด เช่น สะเดา 3. สร้างความหลากหลายโดยการปลูกพืชหมุนเวียนหรือการปลูกพืชร่วม (ไม่ใช่พืชเชิงเดี่ยว) : หลีกเลี่ยงการเผาและพิจารณาถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่นห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ห้ามทำลายพื้นที่หน้าดิน และห้ามทำลายป่าอนุรักษ์ เป็นต้น 4. ให้ใช้เมล็ดพันธ์อินทรีย์โดยการเก็บเมล็ดพันธ์เอง หรือนำเมล็ดมาจากกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ 5. ป้องกันการปนเปื้อน เช่น สารเคมีที่มาจากการพ่นจากแปลงข้างเคียง หากแปลงข้างเคียงมีการใช้สารเคมี ยังสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ แต่ต้องมีวิธีป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีของที่นาใกล้เคียง 6. ปรับเปลี่ยนแปลงนาที่มีทั้งหมดให้เป็นนาอินทรีย์ ห้ามไม่ให้มีการผลิตแบบคู่ขนาน โดยเกษตรกรรายเดียวกันไม่สามารถปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งที่เป็นอินทรีย์และไม่เป็นอินทรีย์ แม้ว่าแปลงการผลิตจะเป็นคนละแปลงก็ตาม 7. ก่อนจำหน่ายผลผลิตอินทรีย์ได้นั้น จะต้องผ่านระยะปรับเปลี่ยนเป็นเวลาสามปี 8. การแยกผลผลิตและการแสดงฉลาก : การเก็บผลผลิตอินทรีย์จะต้องแยกจากผลผลิตสถานภาพอื่นในทุกระยะ เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ตากและจัดเก็บ ต้องมีการแสดงฉลากและสัญลักษณ์ผลผลิตอินทรีย์ในระหว่างการจัดเก็บและขนส่งทุกครั้ง โดยฉลากและสัญลักษณ์ต้องระบุแหล่งที่มา (เช่น ชื่อ รหัสเกษตรกร รหัสแปลง) สถานภาพ (เช่นอินทรีย์หรือปรับเปลี่ยน) และผู้ให้การรับรอง 9. การบันทึกและจัดเก็บเอกสาร : มาตรฐานกำหนดให้เกษตรกรต้องทำบันทึกฟาร์มและการผลิต โดยบันทึกอาจเป็นรูปแบบอย่างง่าย เหมาะสมต่อการใช้งานของเกษตรกร แต่จำเป็นต้องบันทึกเหตุการณ์ในปัจจุบันและบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอก 10. ข้อตกลงและการให้ความร่วมมือกับกาตรวจสอบภายในและภายนอก ในปัจจุบันหลายประเทศได้กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย เช่น EC834/2007 (สหภาพยุโรป) NOP/USDA (ประเทศสหรัฐอเมริกา) Canada Organic Productions Regulation SOR/2009-176 (ประเทศแคนาดา) เป็นต้น แม้ว่ามาตรฐานของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่โดยภาพรวมจะมีความคล้ายคลึงกันและอ้างอิงตามการนิยาม “เกษตรอินทรีย์” ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มเคลื่อนไหวด้านเกษตรอินทรีย์ที่ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องจากทั่วโลกในนามสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM นั่นเอง ตลาดเกษตรอินทรีย์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่องโดยตลาดใหญ่ที่สุดคือสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 46% ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด รองลงมาคือเยอรมัน ฝรั่งเศส ในส่วนของทวีปเอเชียคือประเทศจีนโดยคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 7% (ที่มา FiBL-AMI, 2018) หากเกษตรกรไทยต้องการส่งสินค้าอินทรีย์ออกไปยังประเทศคู่ค้าใด จะต้องทำการขอรับรองมาตรฐานของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นหากได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา จะไม่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานของยุโรป ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องมีการรับรองมาตรฐานให้ตรงกับประเทศที่ต้องการจะส่งสินค้าไปจำหน่าย โดยปกติการขอรับรองมาตรฐานยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะสามารถทำพร้อมกันได้ เนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงานสอดคล้องกัน โดยภาพรวมนอกจากการทำเกษตรอินทรีย์จะส่งผลดีต่อผู้ผลิตโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยหลักการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการส่งออกและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้ผลิตทำการเพาะปลูกแบบอินทรีย์