ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 296
ชื่อสมาชิก : ฐิติพรรณ ฉิมสุข
เพศ : หญิง
อีเมล์ : pitiporn@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 11/3/2554 17:30:30


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี 2567 ในงาน The 14th International Conference on Advanced Materials Research (ICAMR 2024) in Phuket Island, Thailand during January 25-27, 2024 และเสนอผลงานในรูปแบบบรรยายหัวข้อเรื่อง Study of Two synthesized Methods of Gold Nanoparticles Synthesis using Fresh Flowers Extracts of Clitoria ternatea ในวันที่ 25-27 มกราคม 2567 จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย โดยไม่ขอใช้งบพัฒนาบุคลากรในปีงบประมาณ 2567 มีเนื้อหาที่น่าสนใจถึง เทคนิคการเตรียมทองนาโนจากสารสกัดที่มีปริมาณฟีนอลิกเพื่อใช้เป็นสารรีดิวซ์
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 และนำเสนอและตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง การตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ กุหลาบมอญสุโขทัย (Damask rose) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rosa damascena เป็นดอกกุหลาบที่พบทั้งดอกสีชมพูอ่อนถึงเข้มและสีแดง นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันกุหลาบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำหอมและผลิตเป็นน้ำกุหลาบใช้ในการแต่งกลิ่นในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ กลีบดอกกุหลาบสามารถนำมาผลิตเป็นชาสุมนไพร ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบมอญสุโขทัยด้วยเทคนิคการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟช่วย และศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของส่วนสกัดทั้งสองชนิด นอกจากนี้ ได้ตั้งตำรับครีมบำรุงผิวกายที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากดอกกุหลาบ และทดสอบความคงตัวของตำรับครีมบำรุงผิวกาย ผลการทดสอบพบว่าปริมาณร้อยละผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเท่ากับ 0.12 และ 30.25 ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกรวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดมีค่าเท่ากับ 212.23?2.4 และ 438.39?3.1 mg GAE/g extract ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบที่ทดสอบพบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 6.98 และ 5.78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (?g/mL) (IC50 ของโทรล็อกซ์เท่ากับ 4.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และปริมาณฟวาโวนอยด์รวมของน้ำมันหอมระเหยกุหลาบและสารสกัดดอกกุหลาบมีค่าเท่ากับ 100.22?1.3 และ 169.94?2.3 mg QE/g extract ตามลำดับ สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยนำมาพัฒนาเป็นตำรับครีมบำรุงผิว พบว่าเนื้อครีมมีสีชมพูอ่อน กลิ่นดอกกุหลาบ มีค่ากรดด่างเท่ากับ 5.15-5.50 เนื้อครีมมีการกระจายตัวคงที่เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่งเป็นเวลา 3 เดือน และมีความคงตัวไม่แยกชั้น
Encapsulation of Rose Extract and Evaluation of Antioxidant Potential for Stabilization of Fish Oil Rose extract (RE) was extracted using modified microwave assisted extraction and determined the antioxidant activity and total phenolic content (TPC). The results of antioxidant activity and TPC of RE were 155.07?1.01 mg gallic acid equivalents/g of dry weight and 257.03?0.20 mg Trolox equivalents/g of dry weight. RE was encapsulated using alginate bead (called E-RE) and investigated the physical properties of encapsules. The mean size of microencapsulation of E-RE and entrapment efficiency (%) of microcapsules were determined as 979 ? 0.43, and 80.76?0.58%, respectively. The appearance of the prepared E-RE was spherical morphology. Antioxidant potential for stabilization of fish oil of RE and E-RE was evaluated by the estimation of peroxide values (PV) of fish oil, fish oil treated directly with natural antioxidant (RE) and in form of E-RE using the butylated hydroxy toluene (BHT) as standard and then incubated at 60 ?C for a period of twelve days. The results demonstrated that BHT have higher antioxidant potential for fish oil than RE and E-RE. Treatment containing E-RE and BHT in fish oil showed similar PV values in period of 2-5 days. However, the antioxidant activity of E-RE which observed from PV values in stabilization of fish oil is higher than that of RE.
การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย FORMULATION OF YELLOW OIL FROM TUMERIC AND PLAI ESSENTIAL OIL AND STUDY ON ANTI-BACTERIAL ACTIVITY ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ระดับความเข?มข?น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเข?มข?นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เท?ากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
การพัฒนาสมุนไพร ขมิ้นชันเพื่อเป็นน้ำมันเหลือง ร่วมกับสมุนไพรขับพิษ การพัฒนาดอกไม้หอมกุหลาบมอญเพื่อเป็นน้ำหอม
- ยังไม่มีรายการคำถาม
การพัฒนาและวิจัยด้านผลิตภัณฑ์เครืองหอมจากดอกไม้ และ การพัฒนาสมุนไพรไทยเพื่อใช้เป็นน้ำมันทา เพื่อลด บรรเทา อาการเจ็บปวด สัตว์มีพิษกัด
การพัฒนาตนเองด้านการวิจัย1 เป็นการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยด้านสมุนไพรน์ จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่4 และเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์หัวข้อเรื่อง การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย(FORMULATION OF YELLOW OIL FROM TUMERIC AND PLAI ESSENTIAL OIL ANDSTUDY ON ANTI-BACTERIAL ACTIVITY) ในวันที่27 มีนาคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กิจกรรมบรรยายในการอบรม การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร การสร้างนวัตกรรมอาหารผ่านกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ การพัฒนาโมเดลสำหรับธุรกิจนวัตกรรมอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากอาหารหมักดองพื้นถิ่น
การเข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนา การขอตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปี 2564 ในหัวข้อ “การขอตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. ปี 2563” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ในวันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 8.30 – 12.00 น.
การเข้าร่วมการอบรม “หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้ - ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมในการผลิตโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ทราบคุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยต้องเตรียมเพื่อการยื่นเสนอขอรับรอง โครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ ในองค์กรตัวย่อ NECAST - ทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย - ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม - ทราบ หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์
123