ม.แม่โจ้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน..แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ”
วันที่ 18/05/2559    1,552 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน...แนวทางการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมสานักงาน อธิการบดี ชั้น 5 อาคารสานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเปิดงานโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่าย และการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ร่วมด้วย คณะวิทยากรอีก หลายท่าน
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ กล่าวว่า “การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ อยู่ภายใต้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสืบเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระราชทานกล้วยไม้ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้เข้ารับพระราชทาน เป็นจานวน 127 สกุล (genus) 810 ชนิด(species) เพื่อมาดาเนินงานสนองตามพระราชดาริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ผ่านรูปแบบกิจกรรม จานวน 8 กิจกรรม ได้แก่ การจัดทาข้อมูลพื้นฐานของกล้วยไม้ตามบัญชีทะเบียน การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ไทยแท้เพื่อการอนุรักษ์ ศึกษาการขยายพันธุ์และการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ การบริหารจัดการสวนแหล่งรวบรวมกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน การจัดสร้างแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทานภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ และ กิจกรรมที่ 8 คือการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ผลการดาเนินงานและ เพื่อการพัฒนาต่อยอดหัวข้อวิจัยและการบริการวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ที่สนใจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ตามแนวนโยบายและ วัตถุประสงค์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ต่อไป”