ม.แม่โจ้ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านอบรม หลักสูตร non degree โครงการ Reskill/Upskill/Newskill ของรัฐบาลช่วยประชาชน สร้างอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
วันที่ 30/09/2563    674 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วันพุธที่ 30 กันยายน 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปิด โครงการพัฒนาทักษะกําลังคนของประเทศ(Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทําและเตรียมความพร้อมรองรับการทํางานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตร Non(-Degree) หลักสูตร “นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเชิงพาณิชย์” จำนวน 30 คน ซึ่งดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสําหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหนึ่งในสถาบันนำร่องที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาและยกระดับศักยภาพคนไทย ให้พร้อมทำงานในอนาคตหลังสถานการณ์โควิด-19 ใน 8 กลุ่มทักษะอาชีพที่เปิดสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เปิดสอนในหลักสูตร “นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเชิงพาณิชย์” ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Food for the future มอบหมายให้ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสําหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ เป็นผู้ดำเนินการ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศ พิศาล ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสําหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ การเพิ่มทักษะในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและแนวคิดการทํานวัตกรรมผลผลิตทางการเกษตร ให้ขายได้ ทําให้เกิดแรงดึงดูด มีความประทับใจ และได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะช่วยสร้างโอกาส ของอาชีพใหม่และเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประสบภัยจากสถานการณโรคระบาดฯ โดยมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ ช่วยยืดอายุสินค้าได้นานขึ้น มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีผลดีต่อสุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ อาหาร และไม่ใช่อาหาร เช่น สารสกัดชีวภาพ สมุนไพร เครื่องสําอาง และวัสดุภัณฑ์รักษ์โลก เป็นต้น ช่วยให้เกิดการ กระจายสินค้าและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังเกิดการสร้างเครือข่าย รูปแบบธุรกิจที่ เกื้อกูลสังคมด้วยการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนเกิดความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่ดีไดอ้ ย่างยั่งยืน “