สำนักหอสมุด ม.แม่โจ้ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 12
วันที่ 07/01/2565    1,751 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การประชุม PULINET วิชาการเป็นโครงการประชุมวิชาการระดับชาติที่จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยสมาชิกข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยสำนักหอสมุด ได้รับการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 5-7 มกราคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้กรอบแนวคิด “New Generation Libraries: Toward House of Access” เพื่อเป็นเวทีแบบเปิดกว้างสําหรับการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจด้านการจัดการและการบริการสารสนเทศ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา มีการนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ และแบบบรรยาย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

กลุ่ม 1 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (IM : Information Management) ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
- (Poster-IM) ระดับดีเด่น เรื่อง เจาะลึกสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศแบบบูรณาการ โดย ธัญญาดา ดวงมณี หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
- (Poster-IM) ระดับดี เรื่อง สันทรายดิสคัฟเวอรี่ ข้อมูลท้องถิ่นของอำเภอสันทราย ความหลากหลายของวิถีชีวิต โดย เยาวภา เขื่อนคำ / ณรงณ์ ณรงค์ชัยปัญญา / สิทธิชัย วิมาลา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- (Poster-IM) รางวัลชมเชย เรื่อง MFU Library Bookshop: แหล่งคัดเลือกและเสนอแนะหนังสือออนไลน์ ของห้องสมุดในยุคโควิด โดย สายกัญญา แสนโคตร / นภสินธุ์ งามการ / รุจิรดา ชุ่มแก้ว ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- (Oral-IM) ระดับดีเด่น เรื่อง การพัฒนาระบบสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ TSU LIB Access ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดย ทิตยา จันทร์สุข / เสาวภา เพ็ชรรัตน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
- (Oral-IM) ระดับดี การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศรายวิชา “MFU Reading Guide” โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดย รักเผ่า เทพปัน / ภัทรวรรณ สิขิวัฒน์ / จุฑารัตน์ มาลาวิลาศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- (Oral-IM) รางวัลชมเชย เรื่อง ระบบคู่มือการปฏิบัติงานออนไลน์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ชัชวาล นาคพันธุ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กลุ่ม 2 การบริการสารสนเทศ (IS: Information Services) ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
- (Poster-IS) ระดับดีเด่น เรื่อง การจำลองสภาพแวดล้อมพื้นที่ให้บริการภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผ่านเกม The Sims 4 โดย สุนทรีย์ พีระพาณิชย์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- (Poster-IS) ระดับดี เรื่อง “MFU Lib Debt” ระบบตรวจสอบหนี้ห้องสมุด โดย จันทร์จิรา ไชยศักดิ์ / รักเผ่า เทพปัน ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- (Poster-IS) ระดับดี เรื่อง ระบบควบคุมการเข้าออกห้องสมุด: Smart Gate New Generation โดย สมพงศ์ หุตะจูฑะ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- (Poster-IS) รางวัลชมเชย เรื่อง MFU Library Delivery: บริการด้วยใจ สู้ภัยโควิด โดย ณชญาดา แต้มรู้ / รักเผ่า เทพปัน / กิตติกร เขื่อนแก้ว / วุฒิไกร โยวัง ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- (Poster-IS) รางวัลชมเชย เรื่อง กระบวนการทำ ETL สำหรับการทำเหมืองข้อมูลของผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อตรวจสอบ ความคุ้มค่าในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โดย ปัณดารีย์ สุนทรวราภาส / อัษฎายุธ อุบลกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- (Oral-IS) ระดับดีเด่น เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดำเนินการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และการได้รับอ้างอิงใน Open Access Journals โดย ชมพูนุช สราวุเดชา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- (Oral-IS) ระดับดี เรื่อง การพัฒนาระบบยืมทรัพยากรห้องสมุดด้วยตนเองแบบออนไลน์ โดย ปราชญ์ สงวนศักดิ์ / ชัณษา สีแดง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- (Oral-IS) ระดับดี เรื่อง ระบบควบคุมการเข้า-ออกห้องสมุด ยุคโควิด 19 กรณีศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย วิทวัฒน์ วะสุรี / บดินทร์ ยางราชย์ / พันธ์วิรา ปริญญาศรีเศวต ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- (Oral-IS) รางวัลชมเชย เรื่อง การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ด้วยเทคนิคแบบ RFM โดย ปัณดารีย์ สุนทรวราภาส สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- (Oral-IS) รางวัลชมเชย เรื่อง การศึกษาการใช้ระบบสื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้รายวิชาเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ โดย สมใจ ขุนเจริญ, สารภี สีสุข, ชาญณรงค์ เผือกพูลผล, อภิยศ เหรียญวิพัฒน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กลุ่ม 3 การบริหารจัดการองค์กร (OM : Organizational Management)
- (Poster-OM) ระดับดีเด่น เรื่อง การพัฒนาระบบเปลี่ยนวันปฏิบัติงานห้องสมุด ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดย พันธ์วิรา ปริญญาศรีเศวต / สุภาภรณ์ ทนสันเทียะ / นงลักษณ์ จันตา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- (Poster-OM) ระดับดี เรื่อง ใกล้ชิด With RM : กลยุทธ์พัฒนาการสื่อสารของงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย กนกวรรณ บัวงาม หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- (Poster-OM) รางวัลชมเชย เรื่อง ถอดบทเรียนความรู้จากการปฏิบัติ “เรื่องเล่าจากท้องถิ่น” โดย อาเขต แก้วสว่าง / กัลยาณี ศุภดิษฐ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- (Oral-OM) ระดับดีเด่น เรื่อง การศึกษาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทางการพยาบาลในประเทศไทย โดย สุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล / ยุพิน ยังสวัสดิ์ / นิภาพร เดชะ / วรรณทิน ยิ่งพัฒนพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- (Oral-OM) ระดับดี เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมเครื่องกำจัดเชื้อ COVID-19 ภายในตัวเล่มหนังสือด้วยแสง UVC โดย สมบัติ นพจนสุภาพ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- (Oral-OM) รางวัลชมเชย เรื่อง โปรแกรมการเรียนรู้ของห้องสมุดยุคใหม่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย ยุภาพร ทองน้อย / ปิติพงศ์ พิมพา / อัคริมา สุ่มมาตย์ / นิติยา ศรีวรเดชไพศาล / ธีรยุทธ บาลชน / สิริพร ทิวะสิงห์ / สีรุ้ง พลธานี / อุทิศ นามสีฐาน / อุบล ใจตาง/ รศ. ดร.กานดา สายแก้ว / ดร.จันทรรัตน สิทธิสมจินต์ / เยาวภา จันศรี / ดร.ประสิทธิ์ ประทุมรัตน์ / รศ. นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- (Oral-OM) รางวัลชมเชย เรื่อง การพัฒนาระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานออนไลน์บนพื้นฐาน New Normal โดย ประจักษ์ สุขอร่าม / สุกัญญา อ่อนจันทร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ซึ่งในการจัดประชุมก็มีการเสวนาจากผู้เชียวชาญมากประสบการณ์ ที่มาให้ความรู้ในหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
สามารถติดตามเนื้อหารายละเอียด และรูปแบบงานได้ผ่านทางเว็บไซต์ PULINET2022 (http://pulinet2022.pulinet.org) หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมการประชุมในโลกเสมือน มีทั้งบูธต่างๆ และ การจัดแสดงผลงาน ได้ที่ VIRTUAL CONFERENCE (https://vconf.kku.ac.th/the-12th-pulinet) และมีการนำเที่ยวบริเรณรอบรั้วมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในรูปแบบ 360 องศา ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกด้วย (https://youtu.be/wEkcIDC_-vg)