ม.แม่โจ้ จัดประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 เปิดเวทีให้นักศึกษา นักวิชาการ ระดมความคิดหาแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
วันที่ 28/03/2567    91 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รก.อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นำเสนอผลงานวิชาการ เผยแพร่ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยได้รับเกียรติจาก พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวรายงาน ซึ่งมีผู้สนใจกว่า 300 คน จาก 30 หน่วยงานทั่วประเทศ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สำหรับรูปแบบของการจัดงานในครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การนำเสนอและการประกวดผลงานทางวิชาการ โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ รวมทั้งสิ้น 168 เรื่อง แยกเป็นภาคบรรยาย มีจำนวน 103 เรื่อง ภาคโปสเตอร์ มีจำนวน 65 เรื่อง โดยเป็นผลงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 98 เรื่อง และผลงานจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 70 เรื่อง ใน 8 กลุ่มสาขาวิชาดังนี้
1.)กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม 2.) กลุ่มเคมี และนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม, 3.)กลุ่มคณิตศาสตร์ 4.)กลุ่มสถิติ 5.)กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.)กลุ่มวัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์ 7.) เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์ และการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน และ 8.) กลุ่มเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

ทั้งนี้ มีหน่วยงานทั้งสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมวิชาการ ศูนย์วิจัยต่างๆ จากทั่วประเทศ เข้าร่วม 30 กว่าหน่วยงาน นอกจากนี้ ยังจัดประกวดการนำเสนอผลงาน โดยการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก จำนวน 75 ท่าน ซึ่งผลจากการจัดงานประชุมการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในครั้งนี้ มีผลงานวิชการของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คณะประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้เข้าร่วมสถาบันภายนอกตีพิมพ์ลง รายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ (E-Proceedings) จำนวน 115 บทความ ที่จะสามมารถนำไปสู่แนวทางพัฒนาการวิจัยต่อยอด เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต