โครงการส่งเสริมการผลิตตำราการเกษตรเพื่อเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการที่สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการส่งเสริมการผลิตตำราการเกษตรเพื่อเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่จะเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โครงการดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2559 โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบรรยายหัวข้อ การจัดทำตำราให้มีคุณภาพอย่างไร โดยการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.กาบแก้ว สุคนธสรรพ์ และ ศาสตราจารย์ นพ. ดร.คม สุคนธสรรพ์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาบรรยายให้ความรู้ด้านการจัดทำสิ่งพิมพ์วิชาการ กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มีผู้สนใจเข้ารับฟังการบรรยายเป็นคณาจารย์ และบุคลากรจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 156 คน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิชาการ เพื่อจัดทำรูปเล่ม โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิชาการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานวิชาการด้านการเกษตร จำนวน 5 ชื่อเรื่อง และดำเนินการจัดทำเป็นรูปเล่ม ดังนี้

1.หนังสือ มีนวิทยา ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์
2.หนังสือ ปลาบึกเพื่อเศรษฐกิจและชุมชน ผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน
3.หนังสือ ไลเคนเบื้องต้น ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร เจรียงประเสริฐ
4.หนังสือ โรคสัตว์น้ำ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
5.หนังสือ ภูมิคุ้มกันวิทยาและวัคซีนสำหรับโรคพีอาร์อาร์เอส ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน เจริญตัณธนกุล

กิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2559
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.เพื่อให้คณาจารย์มีทักษะและเทคนิคใหม่ๆ ในการสรรสร้างต้นฉบับและนำไปสู่การจัดทำหนังสือ ตำรา เพื่อเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ได้มีทักษะและเทคนิคใหม่ๆ ในการสรรสร้างต้นฉบับและนำไปสู่การจัดทำหนังสือ ตำรา เพื่อเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
2 2.เพื่อให้คณาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการจัดทำหนังสือ ตำรา คณาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการจัดทำหนังสือ ตำรา
3 3.เพื่อกระตุ้นคณาจารย์ที่ได้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในการจัดทำหนังสือ ตำรามากขึ้น คณาจารย์ที่ได้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในการจัดทำหนังสือ ตำรามากขึ้น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ได้หนังสือ ตำรา ด้านการเกษตรที่เสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนหนังสือ ตำรา ด้านการเกษตรที่เสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ประกาศผลการคัดเลือกผลงานวิชาการ
เชิงปริมาณ เล่ม 3 5 100
2. ร้อยละของผู้เข้ารับฟังการบรรยาย เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 156 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/05/2559  - 31/08/2559 21/06/2559  - 09/09/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ