โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ระบบประกันคุณภาพ CUPT QA ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตในการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็น Outcome Based Education (OBE)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนาคุณภาพ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากที่ ทปอ. และ ทอมก. ได้เห็นชอบให้กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มของ ทปอ. และ ทอมก. เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกเป็นชุดเดียวกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากการประเมินคุณภาพการศึกษาได้มากที่สุด และเป็นภาระต่อสถาบันอุดมศึกษาอย่างสมเหตุสมผล จึงได้ร่วมกันจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครอบคลุมทั้งระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน เรียกว่า Council of the University Presidents Quality Assurance (CUPT QA)
ทั้งนี้ ทปอ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2557 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2557 และทอมก.ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 จึงได้มีมติอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาใน ทปอ. และ ทอมก. ใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ที่คณะทำงานได้พัฒนาขึ้น โดยหวังให้เกิดการบูรณาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกเป็นชุดเดียวกันภายใต้บทบาทที่ต่างกัน เพื่อสถาบันอุดมศึกษาได้ลดภาระที่เกิดจากการทำงานที่ซ้ำซ้อน และได้ใช้เกณฑ์ที่คำนึงถึงแนวทางของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence, EdPEx) มุ่งสู่การดำเนินงานตามแนว EdPEx อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
แนวคิดของ CUPT QA คือ
1. สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่เตรียมนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ (core transferable competence) ที่บัณฑิตจำเป็นต้องมีเพื่อประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตภายหลังการศึกษา ให้นักศึกษามั่นใจว่าตนเองจะได้รับความรู้และการพัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในภายหลังจบการศึกษา
2. บัณฑิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ใช้บัณฑิตมั่นใจว่าบัณฑิตที่รับเข้ามาสามารถปฏิบัติงานได้ เป็นคนที่มีความรับผิดขอบ และสามารถพัฒนาตัวเองได้ รวมทั้งสังคมเกิดความพอใจและมั่นใจว่าหลักสูตรจะผลิตคนที่มีคุณภาพต่อสังคม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการประกันคุณภาพ นิยมประเมินใน 3 มิติหลัก (dimension) คือ
1. มิติปัจจัยนำเข้า เช่น คุณภาพของบุคลากรทางวิชาการ คุณภาพของนักเรียน อัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ ระบบและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
2. มิติกระบวนการ เช่น คุณภาพหลักสูตร ขนาดห้องเรียน คุณภาพการสอน บรรยากาศการวิจัย การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร การประเมินผลการเรียนรู้ การป้อนกลับผลประเมมินเพื่อทำการปรับปรุง
3. มิติผลผลิต เช่น ความสามารถของบัณฑิต อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา อัตราการจ้างงาน ผลงานวิจัยและบริการวิชาการ
การประเมินระดับหลักสูตร ดำเนินการภายใต้มาตรฐานดังนี้
1. องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ให้เป็นไปตามประกาศเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ พศ. 2548 หรือ พ.ศ.2558
2. องค์ประกอบที่ 2 ใช้เกณฑ์ ASEAN University Network -+ Quality Assurance (AUN-QA หรือ AACSB หรือ ABET ) ที่เน้นการพัฒนามุ่งสู่ Expected Learning Outcome (ELO) โดยหลักสูตรสามารถเลือกเขียน SAR เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษตามความต้องการและบริบทของหลักสูตร
โดยทุกหลักสูตรต้องได้รับการประเมินคุณภาพหลักสูตรอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี ในกรณีรอบระยะเวลาหลักสูตรเกิน 4 ปี เช่น 5 ปี ให้มีการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งรอง 6 ปี
การประเมินระดับคณะ/สถาบัน ดำเนินการภายใต้เกณฑ์ CUPT QA
1. องค์ประกอบที่ 1 โครงร่างองค์กร (ตามแนวทาง EsPEx)
2. ใช้ CUPT QA Indictors ภายใต้กรอบแนวคิดของ EdPEx
3. รอบระยะเวลาประเมินทุกคณะ/สถาบัน
3.1 กรณีใช้ CUPT Indicators ต้องรับการประเมินคุณภาพทุกปี
3.2 กรณีใช้ EdPEx ต้องรับการประเมินคุณภาพอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี

องค์ประกอบและเกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร CUPT QA
องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ / เกณฑ์
1. การกำกับมาตรฐาน 1.1 การกับมาตรฐานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
2. การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร C1 การรับและการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา (Success Rate)
C2 การได้งานทำของบัณฑิต หรือการใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ
C3 คุณภาพบัณฑิต
C4 ผลงานของผู้เรียน
C5 คุณสมบัติของอาจารย์
C6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
C7 การกำกับมาตรฐานหลักสูตร
C8 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
C8.1 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของกรรมการประจำคณะ/สภามหาวิทยาลัย
C8.2 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารคณะ/ผู้บริหารสถาบัน
C9 ผลการบริหารและจัดการของผู้บริหารคณะ/สถาบั้น
C10 บุคลากรได้รับการพัฒนา
C11 ข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เกณฑ์การประเมินใช้ 7 ระดับดังนี้
ระดับ 1 ไม่มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนด
ระดับ 2 มีผลการดำเนินงานเบื้อต้น (เป็นข้อมูลดิบ) เริ่มมีระบบ แต่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถ/ไม่มีการวิเคราะห์
ระดับ 3 มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถ/มีผลการวิเคราะห์การดำเนินงานเทียบกับเป้าหมาย
ระดับ 4 ระดับ 3 + มีแนวโน้มผลการดำเนินงานของระดับดี ทำให้เกิดผลเป็นไปในทิศทางตามเป้าหมายที่กำหนด
ระดับ 5 ระดับ 4 + มีการดำเนินงานที่เหนือกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบ
ระดับ 6 ระดับ 5 + มีผลการดำเนินงานที่เท่า หรือสูงกว่าคู่เทียบในระดับชั้นนำของประเทศ มีการดำเนินงานที่ที่ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้การดำเนินงานเทียบเท่าหรือสูงกว่าคู่เทียบ (คู่เทียบชั้นนำระดับประเทศ)
ระดับ 7 Excellent (Example of World class or Leading Practices)
ทั้งนี้วิทยากรได้เน้นการบรรยายให้เห็นถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นไปตามบริบทที่แท้จริงของแต่ละคณะ/สถาบัน โดยไม่ควรเขียนรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ควรเขียนรายงานตามสิ่งที่ได้ดำเนินการจริง และสิ่งที่ต้องการพัฒนาอย่างแท้จริง
ผลการประเมินโครงการ
1. ชื่อโครงการ : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ระบบประกันคุณภาพ CUPT QA ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตในการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็น Outcome Based Education (OBE)
2. ประเภทโครงการ : โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
3. แผนงาน : งานบริหารมหาวิทยาลัย
4. สนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย : ด้านการบริหารจัดการ
5. สอดคล้องกับกลยุทธ์ : สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
6. แหล่งงบประมาณ : เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2559 สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนเงิน 130,000.- บาท
7. ผู้รับผิดชอบโครงการ : นางจุดารัตน์ ชิดทอง และนางวราภรณ์ ฟูกุล
8. ที่ปรึกษาโครงการ : รองศาสตราจารย์เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร
9. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ : 21 – 22 กรกฎาคม 2559
10. กลุ่มเป้าหมาย : 180 คน ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี เลขานุการคณะ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพระดับคณะ ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก บุคลากรระดับสำนักที่รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพ ผู้อำนวยการกอง/สำนักงาน/ศูนย์ บุคลากรสำนักงานคุณภาพฯ
11. วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อให้มีผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ ความเข้าใจในระบบ CUPT QA และเตรียมความพร้อมของคณะและมหาวิทยาลัยในการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบ CUPT QA
12. ค่าใช้จ่ายจริง : 121,244.-
12.1 ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ท่าน (7,200.- x 2) 14,400.-
12.2 ค่าเครื่องบินวิทยากร 2 ท่าน (3,257.- และ 2,987.-) 6,244.-
12.3 ค่าที่พักวิทยากร 2 ท่าน 2 คืน (1,450.- x 2 x 2) 5,800.-
12.4 ค่ารถรับจ้างวิทยากร 2 ท่าน (600.- x 2) 1,200.-
12.5 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 4 มื้อ (30.- x 4 x180) 21,600.-
12.6. ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อ (100 x 2 x 180) 36,000.-
12.7 ค่าวัสดุโครงการ แฟ้ม ปากกา 5,400.-
12.8 ค่าถ่ายเอกสารประกอบโครงการ 9,000.-
12.9 ค่าทำเล่มคู่มือ CUPT QA (75.- x 300) 21,600.-
13. เป้าหมายผลผลิตและตัวชี้วัด
13.1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ CUPT QA
เป้าหมาย : ร้อยละ 75 (135 คน)
ผลผลิต : ร้อยละ 78.89 (142 คน)
13.2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการได้ร่วมซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงได้รับทราบข้อเสนอแนะและแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยระบบ CUPT QA
เป้าหมาย : ค่าเฉลี่ย 3.00
ผลผลิต : ค่าเฉลี่ย

14. ผลการประเมินจากแบบสอบถามหลังสิ้นสุดโครงการ :
จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 142 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 68 คน คิดเป็นร้อยละ 47.89 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 44 คน เจ้าหน้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาจำนวน 14 คน คณบดี/รองคณบดีจำนวน 6 คน อาจารย์ผู้สอนจำนวน 2 คน และรองผู้อำนวยการจำนวน 2 คน (ร้อยละ64.71 ร้อยละ 20.59 ร้อยละ 8.82 ร้อยละ 2.94 และร้อยละ 2.94 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ)
แต่ละประเด็นคำถาม สามารถสรุปได้ดังนี้
ประเด็นคำถาม ก่อนรับการอบรม หลังรับการอบรม
ค่าเฉลี่ย การแปลผล ค่าเฉลี่ย การแปลผล
1. ความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA 2.21 ระดับน้อย 3.62 ระดับมาก
2. ความคาดหวังในการได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3.82 ระดับมาก 3.53 ระดับมาก
3. ความพร้อมในการนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ไปใช้ในการพัฒนา/ปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน - - 3.32 ระดับปานกลาง
4. ได้ร่วมซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงทราบแนวทางและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน - - 3.47 ระดับมาก
5. ภาพรวมในการจัดโครงการอบรมครั้งนี้ - - 4.60 ระดับมากที่สุด

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 78.89
2 1.2. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของคณะและมหาวิทยาลัยในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ CUPT QA ต่อไป ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมซักถาม และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ CUPT QA
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 78.89 98.61
รวม      98.61
ผลผลิตที่ 2 : 2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงได้รับทราบข้อเสนอแนะและแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยระบบ CUPT QA
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงได้รับทราบข้อเสนอแนะและแนวทางเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยระบบ CUPT QA
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 80 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 99.31
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
21/07/2559  - 22/07/2559 21/07/2559  - 22/07/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ