11153 : โครงการการพัฒนาแผนแม่บทชุมชนด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ บ้านเกษตรพัฒนา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/8/2560 11:15:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/08/2560  ถึง  30/09/2560
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  70  คน
รายละเอียด  ผู้นำชุมชน ประชาชนบ้านเกษตรพัฒนา เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ นักศึกษา และบุคลากรคณะพัฒนาการท่องเที่ยว ม.แม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ แผนงานรอง: แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ ผลผลิตผลงานการให้บริการวิชาการ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน 2560 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วินิตรา  ลีละพัฒนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2560 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 60 MJU 5 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ 60MJU5.2 มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของประชาชนและมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
ตัวชี้วัด 60MJU5.06 ความพึงพอใจของชุมชนต่อการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 60MJU5.6 กำหนดพื้นที่การทำงานเฉพาะในแต่ละปี เพื่อให้มีการวัดและประเมิน ผลกระทบของงานบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 60MJU5.7 สร้างเครือข่ายการให้บริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอกทั้งระดับชุมชน ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ที่ 7 มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน (60)
ตัวชี้วัด KPI5.3 ร้อยละความพึงพอใจของชุมชนต่อการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย (60)
กลยุทธ์ 5.3.1 กำหนดพื้นที่การทำงานเฉพาะในแต่ละปี เพื่อให้มีการวัดและประเมินผลกระทบของงานบริการวิชาการ (60)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีแนวนโยบายจะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี และตามพันธกิจของมหาวิทบยาลัยในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) คือ การสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม และพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้นำแนวนโยบายมาพัฒนาสู่การดำเนินงานที่สอดคล้องกับพันธกิจของคณะพัฒนาการท่องเที่ยว คือ ศึกษาและวิจัยหาองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว และบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนนั่นเอง และเพื่อเป็นการสนองตอบต่อเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในด้านของการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม ในลักษณะของการให้บริการวิชาการแก่พื้นที่ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย (Sansai Model) คณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้พิจารณาถึงความเหมาะสมของบ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 15 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำ มีการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำหลักของตำบลป่าไผ่และป่าต้นน้ำของห้วยโจ้ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้นจึงควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ชุมชนวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดด้านทรัพยากรป่าไม้ของตนเองและการอนุรักษ์ป่า ในด้านต่าง ๆ โดยใช้ภูมิปัญญา ร่วมถึง วิเคราะห์จุดเด่น จุดแข็งของตนเอง รู้จักจุดด้อยหรือข้อจำกัด วิธีการในการที่แก้ปัญหาหรือข้อจำกัดรวมทั้งแนวทางพัฒนาส่งเสริมศักยภาพ อัตลักษณ์หรือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน โดยชุมชนสามารถกำหนดทางเลือกการพัฒนาของตนเองบนฐานของทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาในมิติด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ เพื่อที่จะส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ อันรวมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนป่าใกล้เมืองนั่นเอง ทั้งนี้นอกเหนือจากคณาจารย์ของคณะพัฒนาการท่องเที่ยวจะได้ให้บริการความรู้ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน แล้ว ยังส่งเสริมให้นักศึกษาในรายวิชา พท 342 การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะได้มีโอกาสเข้าร่วมในการลงพื้นที่ในการร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นในพัฒนาแผนแม่บทชุมชนด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ ซึ่งจะได้เรียนรู้ในการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวนั่นเอง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้บริการความรู้ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนในมิติด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ 15 ต.ป่าไผ่
เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน
เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยตามแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แผนแม่บทพัฒนาชุมชนด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ
KPI 1 : แผนแม่บทชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศบ้านเกษตรพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แผน 1
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของนักศึกษาที่ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แผนแม่บทพัฒนาชุมชนด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาแผนแม่บทชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-นิเวศ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/08/2560 - 30/09/2560
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินิตรา  ลีละพัฒนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 2 มื้อ x 80 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 4 มื้อ x 25 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 1,300 บาท และค่าป้ายไวนิล จำนวน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล