11266 : โครงการเสวนาเรื่อง CSR กับคุณภาพชีวิตแรงงาน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.อุษณีย์ อินทะวงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2560 16:10:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/10/2560  ถึง  06/10/2560
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วยนักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ ตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ และสื่อมวลชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2561 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสาวลักษณ์  ชายทวีป
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA-60ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA-60เป้าประสงค์ที่ 4.1 การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ตอบสนองและพัฒนาท้องถิ่นชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด LA60-23 จำนวนโครงการ/ กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
กลยุทธ์ LA60-4.1 ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการระหว่างคณะและชุมชนเพื่อตอบสนองและพัฒนาท้องถิ่นชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน แวดวงด้านกาพัฒนาระดับนานาชาติให้ความสำคัญกับแนวทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ sustainable development goals (SDGs) และแนวคิดว่าด้วย “การ เติบโตอย่างมีส่วนร่วม” (Inclusive Growth) ซึ่งหมายถึงการเติบโตที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างโอกาสอย่างเสมอภาคกันระหว่างคนทุกกลุ่มในสังคม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบทเรียนจากการพัฒนาใน อดีตที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยละเลยมิติอื่นๆ ผลจึงปรากฎว่า เมื่อการเติบโต สูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง แต่กลับเกิดผลกระทบภายนอกที่ไม่ต้องการตามมา เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น ในการพัฒนายุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดความ เหลื่อมล้ำทางสังคม ขณะเดียวกัน แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม ( Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้สิบกว่าปีก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น และมีบทบาทที่ชัดเจน มากขึ้นในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กับภาครัฐและภาคประชาชน ในประเทศไทย ผลพวงที่เกิดจากการพัฒนาที่ผ่านมาก็ไม่ต่างจากที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ในงานวิจัย เรื่อง “การเติบโตอย่างมีส่วนร่วมของไทย” จัดทำ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรายจังหวัด พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 4 ด้าน ที่จะช่วยให้การเติบโตของ ไทยก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น ได้แก่ (1) ภาคการเงิน โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อ หรือการลงทุนของ คนยากจน (2) ภาคแรงงาน โดยเฉพาะการที่แรงงานต้องมีหลักประกันในการทำงาน (3) ภาคการพัฒนา โดยเฉพาะความสมดุลของการพัฒนาระหว่างเมืองและชนบท (4) ภาคนโยบายการเมือง โดยเฉพาะการให้ ความสำคัญกับนโยบายที่ยกระดับคุณภาพแรงงานและประสิทธิภาพในการผลิต ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ไทยได้นา กรอบแนวคิด ทั้งเรื่อง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม มาประยกุต์ใช้ในหลายยุทธศาสตร์ เช่น ยทุธศาสตร์ การพัฒนาคน ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นต้น แนวคิดและแนวทางด้าน CSR ในประเทศไทยก็มีความชัดเจนมากขึ้น ภาครัฐ โดยกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดทำ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ภาคเอกชน ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจ ตลาดทุนไทย ฯลฯ จะมีบทบาทในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่สมาชิกทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนา SMEs ที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดำเนินงาน (CSR-in-process) เพื่อน าไปสู่การเป็นห่วงโซ่ คุณค่า (Value Chain) ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตอบสนองต่อประเด็น ปัญหาของชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ทุกมิติ และให้ความสำคัญกับการ ป้องกันแก้ไขผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงานของกิจการ เพื่อให้นำไปสู่การเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน และความเติบโตของกิจการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับความเจริญเติบโตของสังคมและ สิ่งแวดล้อมโดยรวม ในกรณีของภาคเหนือ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ กำหนดไว้ว่า “ภาคเหนือมีศักยภาพสูง เหมาะแก่การพัฒนาสู่การเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง มีความสมบูรณ์ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์บริการด้านสุขภาพ ด้านการศึกษาการผลิตสินค้าสร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง การเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดย เป็นศูนย์กลางกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เชื่อมต่อไปยังจีนและอินเดียได้ง่าย จึงเป็นฮับด้านเศรษฐกิจได้ อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมืองหลักอย่างเชียงรายที่มีประชากรราว 1.2 ล้านคน เชียงใหม่ 1.7 ล้านคน และ ลำปางกว่า 7.5 แสนคน” เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดสูงที่สุดของภาคเหนือ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาก จึงเป็น ตลาดแรงงานขนาดใหญ่ที่สุดของภาค ดึงดูดให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากเข้ามาทา งาน ทั้งแรงงานไทยและ แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ถ้ากำลังคนหรือแรงงานเหล่านั้นมีความรู้ความสามารถและคุณภาพชีวิต ที่ดี ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจได้ ตามวัตถุประสงค์ ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แรงงานในเชียงใหม่ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่เป็นกำลังสำคัญในธุรกิจ แทบทุกประเภท ส่วนใหญ่ยังขาดทั้งโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น ที่พัก อาศัยขาดสุขลักษณะ งานที่ทำมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย การเข้าไม่ถึงกฎหมายแรงงานที่มีอยู่ แล้ว เป็นต้น องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวนหนึ่งจึงได้เข้ามาทำงานให้ความช่วยเหลือ ปัจจุบัน องค์กรพัฒนา เอกชนเหล่านี้ได้รวมกลุ่มกันเป็น “เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ” ท าหน้าที่รวบรวมปัญหาแรงงานในพื้นที่เพื่อ แสวงหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบและเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป แต่จากการประเมินผลการทำงานของ เครือข่ายมาประมาณสองปี พบว่า การที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการและสื่อมวลชน ทางเครือข่ายแรงงานภาคเหนือจึงได้ปรึกษาหารือเรื่องนี้กับนักวิชาการในเชียงใหม่ที่สนใจประเด็น แรงงาน และเห็นพ้องกันว่าควรจะเชิญทุกภาคส่วนมาร่วมคิดหาทางออกร่วมกัน รวมทั้งพิจารณาข้อเสนอว่าด้วย การส่งเสริมให้เกิด “เชียงใหม่โมเดล” หรือเมืองต้นแบบการพัฒนาที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตแรงงาน ส่วน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันออกแบบ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. แลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆในการพัฒนา ได้แก่ ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) รวมทั้งเรื่อง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม
2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตคนทำงานในเชียงใหม่ปัจจุบัน
3.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในเชียงใหม่โดยเฉพาะข้อเสนอว่าด้วยการสร้างเชียงใหม่ให้เป็นเมืองตัวอย่างที่คำนึงถึงการพัมนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
4.ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำงานต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในเชียงใหม่
KPI 1 : รายงานสรุปแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในเชียงใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในเชียงใหม่
ชื่อกิจกรรม :
เสวนาเรื่อง CSR กับคุณภาพชีวิตแรงงาน วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2560 ณ ห้องวิมาน 1 ชั้น 2 โรงแรม ดิเอ็มเพรส

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/10/2560 - 07/10/2560
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร  ศิริสัญลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์  ชายทวีป (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล