11301 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เครื่องเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษอัตโนมัติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/12/2560 16:05:06
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  1. ประชากรในเขตอำเภอสันทราย อำเภอเมือง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และชุมชนใกล้เคียงอื่น ๆ ที่สนใจ 2. นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 2561 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปารวี  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณี คงดี  อัลเดรด
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.8 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 4.3 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย
กลยุทธ์ พัฒนาการให้บริการวิชาการเพื่อมุ่งพัฒนาและเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ถั่วงอกเป็นผักที่มีความต้องการในตลาดสูงเนื่องจากใช้เป็นส่วนประกอบหรือเป็นเครื่องเคียงในอาหารหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ขนมจีน ส่งผลให้ปัจจุบันมีการขยายตัวทางการตลาดของถั่วงอกเพิ่มมากขึ้น จึงมีผู้สนใจในการทำธุรกิจเพาะถั่วงอกทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยมีการคิดค้นวิธีการเพาะถั่วงอกหลากหลายวิธี ทั้งการใช้ขวดน้ำพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ในการเพาะถั่วงอก (http://www.oknation.net/) การเพาะถั่วงอกแบบคอนโด (ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กรมวิชาการเกษตร) โดยการใช้ถังน้ำพลาสติก แต่การเพาะถั่วงอกด้วยวิธีการเหล่านี้ยังคงต้องอาศัยแรงงานคนในการรดน้ำถั่วงอก ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ให้น้ำไหลผ่าน เป็นเวลา 3-4 วัน และยังใช้น้ำเป็นปริมาณมากซึ่งไม่สามารถนำน้ำที่รดไปแล้วกลับมาใช้ได้ใหม่ ทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ออกแบบ “เครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ” สำหรับผู้สนใจในการที่จะริเริ่มทำธุรกิจเพาะถั่วงอกเป็นอาชีพเสริม ซึ่งมีอาชีพประจำอยู่แล้วจึงไม่มีเวลามากพอที่จะดูแลให้น้ำในการเพาะถั่วงอก ดังนั้นเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยระบบไมโครคอนโทรเลอร์ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของกลุ่มผู้ที่ต้องการจะทำธุรกิจถั่วงอกเป็นรายได้เสริมแต่ไม่เวลา โดยมีหลักการง่ายๆ คือ มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น วัดค่าและส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ไมโครคอนโทรเลอร์ จากนั้นเครื่องจะทำการเปิดปิดปั๊มน้ำเพื่อให้น้ำแก่ถั่วงอกในระบบน้ำหมุนเวียนอัตโนมัติ โดยมีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยหลอดยูวี เป็นการประหยัดการใช้น้ำซึ่งแตกต่างจากการเพาะแบบถั่วงอกแบบทั่วไปที่ปล่อยน้ำทิ้ง นอกจากนี้ยังมีระบบเปิดปิดพัดลมอย่างอัตโนมัติเพื่อระบายความร้อน จากการควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติดังกล่าวจะได้สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเพาะถั่วงอก และถั่วงอกที่ได้จากเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติยังมีลักษณะลำต้นขาว โดยไม่ต้องใช้สารฟอกขาว เป็นถั่วงอกปลอดสารพิษ โดยทั้งระบบของการเพาะปลูกถั่วงอกจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ จึงจัดเป็นถั่วงอกอินทรีย์ และมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ปะปนในถั่วงอกน้อยกว่าการเพาะถั่วงอกด้วยวิธีแบบเดิม ทำให้ได้ถั่วงอกที่สะอาดเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ ซึ่งการคิดค้นเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยระบบไมโครคอนโทรเลอร์ สามารถบูรณการกับศาสตร์ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงวิธีการเพาะถั่วงอกให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดได้ และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการเพาะถั่วงอกด้วยวิธีแบบเดิมแล้วพบว่า การใช้เครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติจะได้ผลผลิตมากกว่า ลดเวลาในการเพาะถั่วงอก แก้ไขปัญหาการเกิดการเนื่องเสียของถั่วงอกในกระบวนการเดิม ประหยัดเวลาและแรงงานในการควบคุมและดูแลการให้น้ำ และที่สำคัญคือ สามารถประหยัดการใช้น้ำมากขึ้น และยังสามารถตอบโจทย์กับสภาพปัญหาภัยแล้งในปัจจุบัน โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นการลดต้นทุนการผลิตของถั่วงอก ซึ่ง “เครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ” จากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ประจำปี 2557 (Research to market Thailand : R2M 2014) ระดับภูมิภาคและได้รับรางวัลชมเชย ระดับประเทศ จากการวิเคราะห์ทางการตลาดของเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติมีแนวโน้มที่แจ่มใสและอาจได้รับความนิยมจาก กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีความต้องการใช้ถั่วงอกมากกว่า 20 กิโลกรัมต่อวัน กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในแต่ละท้องที่และผู้ที่สนใจ ดังนั้นจากความสำเร็จจากการได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ประจำปี 2557 ระดับภูมิภาค และรางวัลชมเชยระดับประเทศจึงควรนำงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จ ซึ่งเป็นผลงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์ความรู้กับผู้ประกอบการธุรกิจเพาะถั่วงอกและประชาชนทั่วไปที่สนใจต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่ออบรมให้ความรู้กระบวนการการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยระบบไมโครคอนโทรเลอร์ เพื่อสร้างอาชีพใหม่
เพื่อสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพของถั่วงอกในท้องตลาดให้ปลอดสารพิษ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 40
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ในการใช้งานเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ
ชื่อกิจกรรม :
การจัดนิทรรศการการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษและหลักการของเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ
การอบรมการเพาะถั่วงอกปลอดสารและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช่เครื่องเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษอัตโนมัติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน × 35 บาท ×2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คน × 120 บาท × 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเขียน Software ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสิ่งพิมพ์ประกอบการฝึกอบรม
- แผ่นพับ จำนวน 500 แผ่น × 3 บาท
- ไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ผืน x 500 บาท
- โปสเตอร์พร้อมขาตั้ง จำนวน 5 ชุด x 1,275 บาท
- เอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 65 ชุด x 85 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
- ถั่วเขียวสำหรับเพาะงอก จำนวน 30 กิโลกรัม × 65 บาท
- กระสอบป่าน จำนวน 5 ผืน x 100 บาท
- ตาข่ายพลาสติก จำนวน 1 ม้วน x 800 บาท
- แผ่นพลาสติก จำนวน 1 ม้วน x 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า
- หลอดยูวี จำนวน 2 หลอด x 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัดสดุวิทยาศาสตร์
- สารกรองน้ำ 2,100 บาท
- สารเคมีและอาหารเลี้ยงเชื้อ เครื่องแก้วและอุปกรณ์ 10,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้เข้าร่วมการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชนและผู้ที่สนใจ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล