11422 : การพัฒนาการผลิตภาคเกษตรแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/9/2561 11:36:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1000  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 7,422,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ เสมอขวัญ  ตันติกุล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก ในแต่ละปีมีการปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและอ้อยเป็นจำนวนมาก ดังตารางที่ 1 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะเหลือทิ้งเศษวัสดุไว้ในแปลงปลูก เช่น ตอซังข้าว ต้นข้าวโพด ซังและเปลือกข้าวโพด ไว้เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีเผาในแปลงปลูก เป็นวิธีที่จัดการได้เร็ว และต้นทุนต่ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม ของทุกปี การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในที่โล่งทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศทั้งปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซภาวะเรือนกระจก และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคตาอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ เป็นต้นสำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อปีมาก สามารถสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและด้านพลังงานได้ ส่งผลให้ช่วยลดภาวะโลกร้อนไปได้พร้อมกัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสมจากเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด รวมถึงกิ่งไม้ ใบไม้ เป็นต้น แนวทางแก้ปัญหา สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อปีมาก สามารถทำยุทธศาสตร์ด้านการจัดการน้ำและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการเศษวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำมาผลิตเป็นพลังงานและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ อีกทั้งช่วยการลดภาวะโลกร้อนไปได้พร้อมกัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสมจากเศษวัสดุทางการเกษตร ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด รวมถึงกิ่งไม้ ใบไม้ ที่ถูกเผาทิ้งในที่โล่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ การผลิตเป็นพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีแนวคิดในการนำเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ฟางข้าว มาผลิตเป็นพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในกระบวนการนี้จะได้พลังงานและถ่านชีวภาพจากกระบวนการดังกล่าว ถ่านชีวภาพที่ได้สามารถนำไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีสมบัติที่เหมาะสมและทำให้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็น สารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากเศษวัสดุทางการเกษตร และมูลสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่างๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน(สิ่งมีชีวิตในดิน)ตัวเร่งการทำงานของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่ในดินและอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิด ให้แก่พืช ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพยังประกอบด้วยถ่านชีวภาพที่เป็นวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ใช้ช่วยปรับปรุงดินและผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากลักษณะความเป็นรูพรุนจะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดิน ช่วยระบายอากาศ ลดความเป็นกรด และเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้ลดต้นทุน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มรายได้ ให้กับเกษตรกร ครัวเรือนและชุมชน กระบวนการผลิตถ่านชีวภาพอาศัยความร้อนเพื่อทำให้เกิดการแยกสลายแล้วจะให้พลังงานทดแทนที่สามารถนำไปใช้ในชุมชนและอุตสาหกรรมได้ ช่วยผลิตพลังงานทดแทน ถ่านชีวภาพผลิตจากชีวมวลรวมถึงเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดเป็นต้น ทำให้ช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้ เป็นในการกำจัดของเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนไว้ในถ่านแล้วนำถ่านไปใช้ในดิน ดังนั้นในการดำเนินงานโครงการลดมลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้เศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทนและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีการส่วนร่วมของชุมชนกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยจะใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะดำเนินการสำหรับการสาธิตการผลิตไฟฟ้าและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จากเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อให้เป็นต้นแบบกับพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย และในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด โดยจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการขยะและเศษเหลือจากวัสดุทางการเกษตร โดยการจัดรวบรวม ลดขนาด และต่อยอดสู่การการผลิตไฟฟ้าและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตามลำดับ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการมลพิษและการต่อยอดสู่การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตกระแสไฟฟ้าและทำปุ๋ยอินทรีย์กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมจะให้ความรู้ทางด้านเมืองสีเขียว (Green city) โดยมีรายละเอียดที่สอดคล้องกัน คือ สำหรับเมืองสีเขียว (Green City) คือเมืองที่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีประชากรที่ตระหนักถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ โดยมุ่งเน้น 1. วางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ 2. สร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ 3. ลดการปลดปล่อยของเสียในระบบนิเวศทั้งในรูปความร้อน 4. ลดการปลดปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 5. ลดปริมาณของเสีย ขยะ น้ำ ด้วยกระบวนการรีไซเคิลหรือแปลงของเสียเป็นพลังงาน 6. อยู่ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก 7. ลดการเป็นสาเหตุของการสร้างสภาวะโลกร้อนในภาพรวม ซึ่งมีหลักการในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ประเด็นหลักที่สำคัญ คือ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง (2) การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ของประเทศในระยะยาว เช่น การกำหนดเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยให้มีร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนหรือ ในการกำหนดจำนวนพื้นที่ปลูกป่าในแต่ละปี และการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ของประเทศ โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐประสานความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ ในการบำรุงรักษาและการป้องกันการลักลอบตัดทำลาย ให้ราษฎรมีส่วนร่วมรักษาผืนป่าในท้องถิ่นของตน ทั้งการปลูกป่าเพิ่มเติม เป็นต้น และ (3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯกับการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการวางแผนพัฒนาประเทศ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยงข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้แก่ การจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำและฟื้นฟูคุณภาพของชายฝั่งและทะเล ตลอดจนอนุรักษ์พื้นที่ป่า และจัดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรม 2. เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้มีความอุดมสมบูรณ์ 3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 4. รักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยลดปัญหามลพิษ เพื่อให้เมืองและชุมชนน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดต้นทนทางเศรษฐกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นและภาพแสดงความสัมพันธ์ของความยั่งยืน โดย 3 ประเด็นหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ รูปแบบการพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน โดยยึดหลักดุลยภาพที่เกิดจากกิจกรรมหรือความต้องการของมนุษย์ที่สอดคล้องและดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อคนรุ่นต่อไป ทางด้านกายภาพหรือสิ่งแวดล้อม (Environmental) การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการทางการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ (Site Analysis) และสังเคราะห์พื้นที่โครงการ (Site Synthesis) นำสู่ขั้นตอนการวางแผนและการออกแบบ ซึ่งจากข้อมูลทางกายภาพและการสำรวจ ทำให้ทราบว่า พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่รับน้ำจากพื้นที่ข้างเคียง ดังนั้น ในการออกแบบจึงคำนึงถึงการเลือกรูปแบบและจัดวางอาคาร ที่ไม่ส่งผลกระทบถึงทิศทางการไหลของน้ำเดิม ก่อนมีโครงการ โดยการใช้เสาลอย ไม่วางอาคารติดพื้นที่ดิน นอกจากนี้บางพื้นที่ ที่จัดเป็นส่วนของพื้นที่ศึกษาธรรมชาติ จะก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากยิ่งขึ้น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ท่อระบายน้ำ เสา สายไฟ ฯลฯ ทางด้านสังคม (Social) การจัดทำโครงการจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในระดับการร่วมรับรู้การตัดสินใจขององค์กรของรัฐ และในระดับการร่วมตัดสินใจ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมในพื้นที่ สู่การพัฒนาและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การคำนึงถึงสังคมจะทำให้ประชาชนในพื้นที่และประชาชนในพื้นที่โดยรอบ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การเป็นปราชญ์ชาวบ้านหรือเจ้าของพื้นที่สามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล อนุรักษ์ และให้ความรู้ในพื้นที่กับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ อันก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย การเชื่อมโยงที่ดีไปสู่พื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ การเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ชุมชนและทางคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกัน สร้างสรรค์ผลผลิตที่มีคุณภาพออกมาสู่สายตาประชาคม พื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ และดูงาน เช่น ในภาคเกษตรกรรม พื้นที่นี้ถูกสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นพืชอินทรีย์ (Organic) ผลผลิตมีคุณภาพ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หรือการเลี้ยงสัตว์ ที่เป็นฟาร์มเปิด เลี้ยงตามธรรมชาติ สัตว์ไร้ความเครียดหรือความกังวล ฯลฯ ก็จะส่งผลให้เกษตรกร หรือปศุสัตว์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น มีอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง ไม่ถูกเอาเปรียบ มีอาหารที่ปราศจากสารพิษและสารเคมี ส่งผลทั้งทางด้านกายภาพ เพราะอากาศบริสุทธิ์ ไร้สารพิษ ส่งผลด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากขายสินค้าที่มีคุณภาพได้ราคาสูงขึ้น เปิดตลาดได้เอง ลดการพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง และเกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้กับผู้ที่รักและใส่ใจอาหารอินทรีย์ (Organic Food) อีกด้วย ทางด้านเศรษฐกิจ (Economic) การวางแผนและการออกแบบเพื่อคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการทางการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ (Site Analysis) และสังเคราะห์พื้นที่โครงการ (Site Synthesis) จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น พึ่งพาและอยู่ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่อีกด้วย เช่น การคำนึงถึงระบบการจัดการน้ำ (Water Management) ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อดูแลรักษางานภูมิทัศน์ ในช่วงฤดูแล้ง ที่มีการคำนวณถึงปริมาณน้ำ อัตราการระเหย และคุณภาพน้ำแล้ว มีความแม่นยำ ถูกต้อง เหมาะสมและเพียงพอ จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเพื่อการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ลดลง หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็เป็นได้ หรือแม้แต่กระทั่ง การเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการร่วมมือจากชุมชน ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะจากเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างเหมาะสม เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยสร้างรายได้จากการใช้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการ จัดเก็บวัสดุทางการเกษตร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบของเกษตรกรรมผสมผสาน
เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจากเกษตรอินทรีย์ได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในทางทฤษฎีและปฏิบัติในการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร
KPI 1 : จำนวนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
400 400 200 ไร่ 1000
KPI 2 : ร้อยละของโครงการบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนศูนย์เครือข่ายได้รับการพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ศูนย์ 20
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายการบริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4.2938 1.3899 1.7388 ล้านบาท 7.4225
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
400 400 200 คน 1000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในทางทฤษฎีและปฏิบัติในการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการส่วนกลาง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2561 - 30/04/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุภักตร์  ปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายปรีชา  รัตนัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ญาณากร  สุทัสนมาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ธุรการ 9 เดือน เดือนละ 15,000 = 135,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำเอกสารฝึกอบรม 1,000 เล่ม x จำนวน 7 ฐานเรียนรู้ x เล่มละ 65 บาท= 455,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 455,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 455,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำแผ่นพับ 3000 แผ่น x 7 ฐานเรียนรู้ x แผ่นละ 3 บาท= 63,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 63,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 63,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 1 (เกษตรยั่งยืน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 65,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 65,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 2 (มลภาวะจากการเผา การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเตาชีวมวล ชีวมวลอัดแท่ง การผลิตถ่าน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 330,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 330,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 3 (เปลี่ยนพลังงานกล เครื่องยนต์พลังงานความร้อนพลังงานน้ำไหล)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 199,983.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 199,983.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 4 (ไบโอชาร์)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 350,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 350,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 5 (ปลูกพืชแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 450,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 450,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 6 (ระบบปลูกพืชแบบสมาร์ทฟาร์ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 380,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 380,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำฐานเรียนรู้ ฐาน 7 (เพาะเห็ด)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 284,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 284,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาประเมินโครงการและจัดทำรายงาน = 142201
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 142,201.00 บาท 142,201.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถไฟล้อยาง จำนวน 1 คัน จำนวน 8 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 300 บาท = 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หม้อ กระทะ ตะหลิว จาน ช้อนส้อม ตะเกียบ มีด น้ำดื่ม ถุงขยะ ไฟแช็ค กล่อง
โฟม ไม้กวาด ไม้ถูพื้น น้ำยาล้างจาน กาต้มน้ำ กระดาษ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 84,553.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 84,553.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง แก๊สหุงต้ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมี หน้ากากกันฝุ่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 194,785.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 194,785.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุอาหาร เช่น น้ำมันพืช ลูกชิ้น ไส้กรอก ผัก
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ลวดเย็บกระดาษ เทปกาว ถ่านไฟฉาย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 180,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 180,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึก CD โปรแกรมแอนตี้ไวรัส
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 150,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ถุงเพาะต้นไม้ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว เศษวัสดุเกษตร ขี้วัว ถุงมือ ต้นไม้
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 267,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 267,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ เช่น โปสเตอร์ ขาตั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 49,650.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 49,650.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง เช่น สายยาง อิฐมอญ ปูน แปรงทาสี สี ไม้ไผ่ ไขควง ดอกสว่าน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 280,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 280,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ สายไฟ เทปพันสายไฟ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 249,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 249,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4343772.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/07/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุภักตร์  ปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายปรีชา  รัตนัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ญาณากร  สุทัสนมาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ว่าที่ ร.ต.สมบูรณ์  ระดม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 663 คนๆละ 500 บาท = 331500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 104,000.00 บาท 227,500.00 บาท 0.00 บาท 331,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางไป-กลับ ผู้เข้าอบรม 856 คน ไป-กลับ (ถัวจ่ายตามระยะทาง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 136,820.00 บาท 167,860.00 บาท 0.00 บาท 304,680.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1012 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 120 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 121,680.00 บาท 0.00 บาท 241,680.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1012 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวนคนละ 4 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 70,000.00 บาท 70,980.00 บาท 0.00 บาท 140,980.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทาง และค่าที่พัก วิทยากรจาก กทม - ชม ด้วยเครื่องบินรวมค่ารถโดยสารจากที่พักใน กทม ถึงสนามบิน วิทยากร 2 คน (รุ่นที่ 1 จำนวน 10,555.80 บาท) (รุ่นที่ 2 จำนวน 9,284.80 บาท) (รุ่นที่ 3 จำนวน 11,299.80 บาท) (รุ่นที่ 4 จำนวน 9,909 บาท) (รุ่นที่ 5 จำนวน 9,564.80 บาท) (รุ่นที่ 6 จำนวน 10,670.80 บาท) (รุ่นที่ 7 จำนวน 9,255.80 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 41,050.00 บาท 29,490.00 บาท 0.00 บาท 70,540.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทาง วิทยากร ในจังหวัด ชม ด้วยรถโดยสารจากที่พักใน ถึง มหาวิทยาลัย วิทยากร 2 คน (รุ่นที่ 1 จำนวน 1,200 บาท) (รุ่นที่ 2 จำนวน 1,200 บาท) (รุ่นที่ 3 จำนวน 1,200 บาท) (รุ่นที่ 4 จำนวน1,200 บาท) (รุ่นที่ 5 จำนวน 1,800 บาท) (รุ่นที่ 6 จำนวน 1,800 บาท) (รุ่นที่ 7 จำนวน 1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนบุคลากรของรัฐ - ภาคฏิบัติ จำนวน ชั่วโมงละ 300 บ (รุ่นที่ 1 จำนวน 52 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 15,600 บาท) (รุ่นที่ 2 จำนวน 48 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 14,400 บาท) (รุ่นที่ 3 จำนวน 51 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 15,300 บาท) (รุ่นที่ 4 จำนวน 49.5 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 14,850 บาท) (รุ่นที่ 5 จำนวน 51 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 15,300 บาท) (รุ่นที่ 6 จำนวน 49.5 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 14,850 บาท) (รุ่นที่ 7 จำนวน 51 ชม ๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 15,300 บาท) (รุ่นที่ 8 จำนวน 46.5 ชม ๆ ละ 13,950 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,150.00 บาท 59,400.00 บาท 0.00 บาท 119,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่มิใช่บุคลากรของรัฐ - ภาคบรรยาย ชั่วโมง ละ 1,200 บาท (รุ่นที่ 1 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 2 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 3 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 4 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 5 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 6 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท) (รุ่นที่ 7 จำนวน 2 ชม ๆ ละ 1200 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่มิใช่บุคลากรของรัฐ - ภาคปฏิบัติ ชั่วโมง ละ 600 บาท (รุ่นที่ 1 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท) (รุ่นที่ 2 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)(รุ่นที่ 3 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)(รุ่นที่ 4 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)(รุ่นที่ 5 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)(รุ่นที่ 6 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)(รุ่นที่ 7 จำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยเตรียมงานและช่วยงานอบรม จำนวน 7 ฐาน * ฐานละ 2 คน * จำนวน 4 วัน * จำนวน 8 ครั้ง * วันละ 200 บาท รวม 89,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 44,800.00 บาท 44,800.00 บาท 0.00 บาท 89,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานล่วงเวลา (ครั้งที่ 1 จำนวน 8 คน ๆ คนละ 500 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท) (ครั้งที่ 2 จำนวน จำนวน 8 คน ๆ คนละ 500 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท) (ครั้งที่ 3 จำนวน 8 คน ๆ คนละ 500 บาท , จำนวน 1 คน ๆ ละ 300 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,300 บาท) (ครั้งที่ 4 จำนวน 8 คน ๆ คนละ 500 บาท , จำนวน 1 คน ๆ ละ 300 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,300 บาท) (ครั้งที่ 5 จำนวน 6 คน ๆ คนละ 500 บาท , จำนวน 1 คน ๆ ละ 400 บาท เป็นจำนวนเงิน 3,400 บาท) (ครั้งที่ 6 จำนวน 8 คน ๆ คนละ 500 บาท , จำนวน 1 คน ๆ ละ 400 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,400 บาท) (ครั้งที่ 7 จำนวน 9 คน ๆ คนละ 500 บาท เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท) (ครั้งที่ 8 จำนวน 6 คน ๆ คนละ 500 บาท 3,100 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,600.00 บาท 15,400.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ - ภาคบรรยาย จำนวน ชั่วโมงละ 600 บาท (จำนวน 4 ชม ๆ 600 บาท จำนวน 8 ครั้ง รวมเป็นเงิน 19,200 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1389930.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาและฝึกอบรมเกษตรในพื้นที่ 8 จังหวัด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2560 - 31/07/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำศูนย์เรียนรู้ 20 แห่ง แห่งละ 20,000 บาท รวม 400,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400,000.00 บาท 400,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากรสำหรับเดินทางไปสร้างเครือข่าย 800 บาท x 1 วันx จำนวน 20 แห่ง x 4 คน รวม 64,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 64,000.00 บาท 64,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ใช้เพื่อเดินทางไปสร้างเครือข่าย วันละ 2,500 บาท จำนวน 30 วัน * จำนวน 2 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาขนย้ายใช้เพื่อเดินทางไปสร้างเครือข่าย หรับขนย้ายอุปกรณ์จากมหาวิทยาลัย วันละ 5,000 บาท *จำนวน 30 วัน * จำนวน 1 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 400 คนๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 400 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,000.00 บาท 28,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางไป-กลับ ผู้เข้าอบรม 400 คน ไป-กลับ คนละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท 80,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตอบแทนนักศึกษา ช่วยงาน จำนวน 10 คน จำนวน 4 วันๆ ละ 200 บาท จำนวน 20 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 160,000.00 บาท 160,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 4 คน ๆ ละ 2 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 20 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 96,000.00 บาท 96,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึก ซีดี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 49,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 49,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น สายยาง ก๊อกน้ำ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,898.00 บาท 150,898.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ เช่น ป้ายไวนิล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท 200,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูน อิฐมอญ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1688798.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล