11459 : โครงการการศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์ เพื่อพิสูจน์สายพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:18:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน.............100............คน ประกอบด้วย........กลุ่มเกษตรกร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเกษตรกร นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาบริการวิชาการและวิจัย
เป้าประสงค์ 1.งานบริการวิชาการและวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวชี้วัด 1. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่เป็นความต้องการของชุมชน/สังคม
กลยุทธ์ 1. การสำรวจความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การจำแนกประเภทจุลินทรีย์ (Classification) เป็นการจัดจำพวกของจุลินทรีย์โดยจัดลำดับอย่างมีระบบ ก่อนจะจัดจำแนกจุลินทรีย์ได้จะต้องรู้จักเฉพาะ (characteristics) ของจุลินทรีย์นั้น ซึ่งจะต้องศึกษาจากจุลินทรีย์ชนิดเดียวโดยศึกษาเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์นั้นๆ คือ เป็นกลุ่มเชื้อ (culture) เพราะว่าจุลินทรีย์มีขนาดเล็กมากเมื่อศึกษาเป็นกลุ่มเชื้อแล้วก็เท่ากับศึกษาจุลินทรีย์ชนิดเดียว กลุ่มที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวเป็นเชื้อบริสุทธิ์ (pure culture) วัตถุประสงค์ของการจัดอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยบอกถึงความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะที่สำคัญของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการศึกษาเพื่อจัดจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ ได้แก่ ลักษณะต่อไปนี้ 1. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Morphological characteristics) โดยดูจากขนาด รูปร่าง โครงสร้างของเชื้อจุลินทรีย์ ทำการศึกษาจากเชื้อบริสุทธิ์ เนื่องจากแต่ละเซลล์มีขนาดเล็กมากมีหน่วยเป็นไมโครเมตร การศึกษาต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายประมาณ 1,000 เท่า นอกจากนี้ยังใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ให้รายละเอียดมากขึ้น และยังใช้เทคนิคอื่นๆ เพื่อตรวจสอบจุลินทรีย์ รูปร่างลักษณะของเซลล์ไม่ได้บอกถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการมากนัก แต่อาจใช้ในการตรวจสอบชนิด (identify) แบคทีเรีย เช่น โครงสร้างของเอนโดสปอร์ หรือ แฟลกเจลลา 2. องค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ (Chemical composition) เซลล์ของจุลินทรีย์จะประกอบด้วยสารอินทรีย์แตกต่างกันมากมาย เช่น มีลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ ที่ผนังเซลล์เป็นลักษณะของแบคทีเรียแกรมลบ แต่แบคทีเรียแกรมบวกไม่มี หรือแบคทีเรียแกรมบวกมีสารกรดไทโคอิก (teichoic acid) ที่ผนังเซลล์ซึ่งแบคทีเรียแกรมลบไม่มีผนังเซลล์ของราและสาหร่ายก็มีองค์ประกอบที่แตกต่างจากของแบคทีเรีย หรือความแตกต่างของไวรัสแต่ละชนิดอยู่ที่ชนิดของกรดนิวคลีอิกว่าเป็น RNA หรือ DNA 3. ลักษณะของการเลี้ยงเชื้อ (Cultural characteristics) จุลินทรีย์แต่ละชนิดต้องการสารอาหารแตกต่างกัน บางชนิดเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการได้ บางชนิดเลี้ยงในอาหารที่มีแต่สารอนินทรีย์ บางชนิดต้องการสารอินทรีย์หลายชนิด (เช่น กรดอะมิโน น้ำตาล พิริมิดีน วิตามิน โคเอนไซม์) บางชนิดต้องการซีรัมเซลล์เม็ดเลือด เพปโทน สารสกัดจากยีสต์ บางชนิดไม่สามารถเลี้ยงในอาหารในห้องปฏิบัติการ ต้องเลี้ยงในโอสต์ที่มีชีวิต หรือเซลล์ที่มีชีวิตเท่านั้น เช่น ริกเกตเซียต้องเลี้ยงในไข่ไก่ฟัก เป็นต้น นอกจากสารอาหารแล้ว ยังต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญ บางชนิดชอบเจริญที่อุณหภูมิสูง และไม่สามารถเจริญที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส บางชนิดชอบความเย็น ไม่สามารถเจริญที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส บางชนิดที่ทำให้เกิดโรคกับคน (pathogen) ต้องการอุณหภูมิใกล้เคียงกับคนคือประมาณ 37 องศาเซลเซียส ก๊าซก็มีความจำเป็น บางชนิดต้องการออกซิเจน บางชนิดจะตายถ้ามีออกซิเจน แสงสว่างจำเป็นต่อไซแอโนแบคทีเรีย เพราะเป็นแหล่งพลังงาน เป็นต้น จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีลักษณะการเจริญที่แตกต่างกัน เช่น เลี้ยงในอาหารเหลวจะมีการกระจายมาก หรือตกตะกอนที่ก้นหลอด หรือเป้ฯฟิล์มบางๆ ที่ผิวหน้าอาหาร ในอาหารแข็งจะเจริญเป็นโคโลนีที่มองด้วยตาเปล่าได้ โคโลนีมีขนาด รูปร่าง ลักษณะ เนื้อ ความหนืด สี และลักษณะอื่นๆ แตกต่างกัน 4. ลักษณะทางเมตาบอลิซึม (Metabolic characteristics) กระบวนการดำรงชีวิตของเซลล์เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม ปฏิกิริยานี้จะแตกต่างตามชนิดของจุลินทรีย์ เช่น จุลินทรีย์บางชนิดได้พลังงานจากแสง บางชนิดได้พลังงานจากการออกซิเดชันสารอินทรีย์หรืออนินทรียสาร จุลินทรีย์ยังแตกต่างกันที่วิถี (pathway) ของการสังเคราะห์องค์ประกอบของเซลล์ ซึ่งปฏิกิริยาเคมีเกิดจากการทำงานของเอนไซม์ 5. ลักษณะทางแอนติเจน (Antigenic characteristics) องค์ประกอบของเซลล์เป็นแอนติเจนซึ่งเมื่อเข้าเซลล์สัตว์อื่นจะกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีที่เป็นซีรัมโปรตีนไปจับกับแอนติเจนนั้น แอนติบอดีมีความจำเพาะกับแอนติเจนที่กระตุ้นมัน และแอนติเจนมีแตกต่างกันมากมาย ดังนั้นแอนติบอดีที่สร้างขึ้น จึงใช้ช่วยในการจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ได้ 6. ลักษณะทางพันธุกรรม (Genetic characteristics) สารพันธุกรรมเป็น DNA 2 สาย (double-strand) มีลักษณะคงที่ และช่วยในการจัดหมวดหมู่ชนิดของจุลินทรีย์โดยศึกษาจาก a. องค์ประกอบของเบสของ DNA (DNA base composition) DNA ประกอบด้วยคู่ของเบส คือ กวานีน (G) คู่กับไซโทซีน (C) และอะดีนีน (A) คู่กับไทมีน (T) จำนวนของนิวคลีโอไทด์เบสใน DNA คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกวานีนกับไซโทซีนรวมกันทีเรียกว่า โมล %G+ C (mole % G + C) ค่านี้จะแตกต่างไปตามชนิดของจุลินทรีย์ตั้งแต่ 23 ถึง 75 b. ลำดับ (sequence) ของนิวคลีโอไทด์เบสใน DNA ลำดับของนิวคลีโอไทด์เบสใน DNA นี้จะจำเพาะกับชนิดของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญที่สุดในการจัด หมวดหมู่จุลินทรีย์ นอกจาก DNA ในโครโมโซมแล้ว ในเซลล์จุลินทรีย์ยังอาจมี DNA ในพลาสมิดด้วย ซึ่งเป็น DNA วงกลม สามารถจำลองตัวเองได้อิสระภายในเซลล์ และทำให้มันแสดงลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น สร้างทอกซิน ทำให้ทนทานต่อสารปฏิชีวนะ หรือสามารถใช้สารเคมีบางอย่างเป็นอาหารได้ 7. ความสามารถในการทำให้เกิดโรค (Pathogenicity) ถึงแม้จะมีจุลินทรีย์จำนวนไม่มากนักที่ทำให้เกิดโรค จุลินทรีย์บางชนิดทำให้เกิดโรคกับสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์อื่นๆ เช่น Bdellovibrio เป็นตัวห้ำ (predetor) แบคทีเรียอื่นๆ หรือ แบคทีรีโอเฟจ เป็นไวรัสที่เข้าทำลายแบคทีเรีย 8. ลักษณะทางนิเวศวิทยา (Ecological characteristics) ถิ่นที่อยู่ (habitat) ของจุลินทรีย์ มีความสำคัญในการบอกลักษณะของจุลินทรีย์นั้นๆ เช่น จุลินทรีย์ที่อยู่ในทะเล จะแตกต่างจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำจืด หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องปาก จะแตกต่างจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ จุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่อย่างกระจายทั่วไปในธรรมชาติ แต่บางชนิดจะจำกัดที่อยู่ในบางบริเวณเท่านั้น การระบุชนิดหรือสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ (Identification) เพื่อให้ทราบสปีชีส์ (species) หรือสายพันธุ์ภายในสปีชีส์ (strain) สามารถทำได้ด้วยวิธีแบบเดิม (Conventional method) และวิธีทางโมเลกุล (Molecular method) วิธีการแบบเดิม ได้แก่การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) และสรีระวิทยา (physiology) Morphology เช่น ลักษณะรูปร่างของเซลล์ ชนิดของสปอร์ ลักษณะของเส้นใย เส้นใยแท้ เส้นใยเทียม เซลล์อยู่เป็นกลุ่มหรือเดี่ยว หรือเป็นเส้น ถ้าเป็นแบคทีเรียก็ย้อมสีว่าเป็นแกรมบวกหรือแกรมลบ รูปร่างลักษณะของโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น Physiology การเจริญในอาหาร substrate ต่างๆ เช่นการใช้น้ำตาลกลูโคส แลคโตส และแหล่งคาร์บอนอื่นๆ การใช้ไนโตรเจน การสร้างก๊าซ การสร้างกรด คุณสมบัติทางการหมัก เป็นต้น วิธีการทดสอบการใช้สารอาหารนี้ ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องมีสารอาหารหลายๆ ชนิด มีบริษัทได้ผลิตชุดทดสอบสำเร็จ ประกอบด้วยแผงพลาสติกที่มีหลุมที่บรรจุสารอาหารแต่ละชนิดไว้ เมื่อต้องการทดสอบก็นำ suspension ของจุลินทรีย์ใส่ลงในหลุมทุกหลุม นำไปบ่มตามอุณหภูมิที่กำหนด หลังจากนั้นอ่านผลโดยหากหลุมที่มีลักษณะขุ่น ให้ผลเป็นบวก เนื่องจากมีการเจริญของจุลินทรีย์ จากนั้นนำผล บวก และ ลบ ไปเปรียบเทียบกับลักษณะทางสรีระวิทยาของจุลินทรีย์ว่าตรงกับชนิดใด หรืออาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ ซึ่งจะระบุได้ถึงระดับสปีชีส์เท่านั้น วิธีการทางโมเลกุล (Molecular techniques) ปัจจุบันมีวิธีทางโมเลกุลหลายวิธีที่สามารถระบุชนิดของจุลินทรีย์ได้ถึง ระดับสปีชีส์และระดับสายพันธุ์ภายในสปีชีส์ โดยอาศัยฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว หรือเปรียบเทียบกับจุลินทรีย์มาตรฐานที่รู้สปีชีส์ไว้ก่อน การระบุชนิดจุลินทรีย์อาจทำด้วยหลักการตัดด้วยเอนไซม์ หรือการหาลำดับเบส (sequence) Sequence เป็นการหาลำดับของเบส ในชิ้นส่วนของดีเอ็นเอบางบริเวณ ที่ทราบลำดับเบสของจุลินทรีย์แต่ละชนิด และมีฐานข้อมูลไว้แล้ว เมื่อนำจุลินทรีย์ที่ต้องการทราบชนิดมาหาลำดับเบส แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เทียบกับ ฐานข้อมูล GenBank ซึ่งใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ก็สามารถระบุชนิดของจุลินทรีย์ได้ถึงระดับสปีชีส์ การทำ sequence กับบริเวณของดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ก็อาจทำให้สามารถ จำแนกจุลินทรีย์สปีชีส์เดียวกันออกเป็นหลายสายพันธุ์ได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลป้องกัน บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์พื้นที่ป่าชายฝั่ง จังหวัดชุมพร ที่อยู่ในภาวะคุกคามและใกล้สูญพันธุ์
2 เพื่อศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ และจีโนไทป์ สายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร ที่คัดแยกได้
3 เพื่อพิสูจน์สายพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ทราบลักษณะทางฟีโนไทป์ และ จีโนไทป์ สายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร ที่คัดแยกได้ 2. สามารถจัดจำแนกจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 3. สามารถพิสูจน์สายพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 4. ได้ข้อมูลด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่พบบริเวณป่าชายหาด และสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นต่อไป
KPI 1 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 100000
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 4 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 5 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ทราบลักษณะทางฟีโนไทป์ และ จีโนไทป์ สายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร ที่คัดแยกได้ 2. สามารถจัดจำแนกจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 3. สามารถพิสูจน์สายพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 4. ได้ข้อมูลด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่พบบริเวณป่าชายหาด และสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นต่อไป
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม
-จัดอบรมลักษณะสายพันธุ์ของฟีโนไทป์และจีโนไทป์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าจัดทำคู่มือองค์ความรู้ จำนวน 100 ชุด ๆละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 100 แผ่นๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 90,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1 คนๆ ละ 8 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล