11460 : โครงการการสำรวจและจัดสร้างแหล่งเก็บรวบรวมพันธุกรรมจุลินทรีย์ในพื้นที่ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:19:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน.............100............คน ประกอบด้วย........กลุ่มเกษตรกร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเกษตรกร นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาบริการวิชาการและวิจัย
เป้าประสงค์ 1.งานบริการวิชาการและวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวชี้วัด 1. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่เป็นความต้องการของชุมชน/สังคม
กลยุทธ์ 1. การสำรวจความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หรือคาดว่าจะมีประโยชน์ในอนาคต เช่นเดียวกับพืชอาหารหลักหลายชนิดกำลังอยู่ในสภาวะพันธุกรรมเสื่อมหรือใกล้จะสูญพันธุ์และบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปบ้างแล้ว จากข้อได้เปรียบของจุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนมาก โตเร็ว และปัจจุบันมีวิทยาการสำหรับการเก็บรักษาทำให้สามารถเก็บได้เป็นระยะยาว ขณะที่พืชหรือสัตว์ หากมีการใช้มากๆ อาจหมดไปได้ ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการวิจัยและเก็บรวบรวมและรักษาจุลินทรีย์ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ไว้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนทางด้านจุลชีววิทยา ใช้ทางด้านอุตสาหกรรม ใช้ในการผลิตหรือเก็บเชื้อที่ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะที่ให้ผลผลิตสูง ส่วนนักอนุกรมวิธานเก็บรักษาเชื้อที่ได้จากการคัดแยกใหม่และรวบรวมจากแหล่งอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ การเก็บรักษาจุลินทรีย์อาจเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการของวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ โรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจขาดบุคลากรและอุปกรณ์ในการเก็บ รวมทั้งขาดประสบการณ์ของวิธีการเก็บที่เหมาะสมและอาจทำให้จุลินทรีย์เหล่านั้นตายไปหรือสูญหายหรือสมบัติเปลี่ยนแปลงไป การเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ดี ทำได้โดยเก็บไว้ในศูนย์เก็บรวบรวมเชื้อ หรือศูนย์เก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ (culture collection) ซึ่งเป็นการเก็บรักษาตัวเชื้อจุลินทรีย์ไว้ให้คงสมบัติดั้งเดิมของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายหลัง นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรักษาพันธุกรรมของเชื้อให้คงเดิม การเก็บรักษาเชื้อไว้ในศูนย์ยังมีการควบคุมคุณภาพให้เชื้อบริสุทธิ์ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับเชื้ออื่น และเก็บให้เชื้อรอดชีวิตอยู่ เพื่อนำมาเลี้ยงให้เชื้อเพิ่มจำนวนภายหลังได้ โดยมีการทดสอบความบริสุทธิ์และการมีชีวิตอยู่ของจุลินทรีย์เป็นระยะๆ การเก็บจุลินทรีย์ไว้ในศูนย์ จึงเป็นการประกันสมบัติของเชื้อไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสภาพแวดล้อม หน้าที่ของศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ จึงเป็นแหล่งเก็บรวบรวมรักษาเชื้อจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งข้อมูลของทรัพยากรจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ นับว่าศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรพันธุกรรมของจุลินทรีย์ ศูนย์เก็บรวบรวมจุลินทรีย์มีหลายประเภท ได้แก่ ศูนย์ส่วนบุคคลซึ่งพบอยู่ตามห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนศูนย์เฉพาะทางเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะด้านที่มีลักษณะพิเศษและมี จำนวนไม่มาก เช่น โรงงานผลิตเบียร์ โรงงานผลิตสารปฏิชีวนะชนิดของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ในศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ แบ่งตามประโยชน์ของ จุลินทรีย์ ได้แก่ จุลินทรีย์ทางด้านอนุกรมวิธาน เพื่อเก็บรักษาเชื้อไว้เปรียบเทียบกับเชื้อสายพันธุ์อื่น จุลินทรีย์ทางด้านการแพทย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ไว้เปรียบเทียบในการรักษาและป้องกันโรค จุลินทรีย์ทางด้านอุตสาหกรรมเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกรดซิตริก กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ การผลิตแอลกอฮอล์และขนมปัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนและเอนไซม์รวมทั้ง เชื้อที่แยกได้ใหม่ในระหว่างการทำวิจัย เพื่อพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ที่สามารถทำงานได้ดีขึ้น และให้ผลผลิตที่มีคุณค่ามากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์ที่ใช้ในการวิเคราะห์สารเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ สารต่างๆ เช่น วิตามิน กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ ที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยในด้านต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ ชีวเคมี เป็นต้น เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางด้านเกษตรกรรม และเชื่อว่าจะเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารและการเกษตรแหล่งใหญ่ของโลก การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชต่างๆ รวมถึงพันธุกรรมจุลินทรีย์ไว้พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอนุรักษ์ความหลากหลายด้านพันธุกรรมแล้ว จะเป็นการรักษามรดกอันล้ำค่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เชื้อพันธุกรรมพืชเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลและเก็บรักษาอย่างดีเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนานและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีห้องควบคุม อุณหภูมิและความชื้น เพื่อใช้ในการเก็บอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมจุลินทรีย์ไว้ให้ได้ยาวนานอันจะเป็นการป้องกันการเสื่อมพันธุกรรมหรือการสูญหายพันธุกรรม และเหมาะสำหรับนำออกมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ทันที

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อการสำรวจพันธุกรรมจุลินทรีย์ในพื้นที่ป่าชายหาด จังหวัดชุมพร
2 เพื่อจัดสร้างแหล่งเก็บรวบรวมพันธุกรรมจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์พื้นที่ป่าชายฝั่ง จังหวัดชุมพร ที่อยู่ในภาวะคุกคามและใกล้สูญพันธุ์
3 เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. สามารถทราบชนิดของสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่พบป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 2. ได้ข้อมูล และแหล่งรวบรวมด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่พบบริเวณป่าชายหาด 3. ได้ข้อมูลพื้นฐานของจุลินทรีย์ที่สามารถนำไปต่อยอดงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นต่อไป
KPI 1 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 3 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 4 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 100000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. สามารถทราบชนิดของสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่พบป่าชายหาด จังหวัดชุมพร 2. ได้ข้อมูล และแหล่งรวบรวมด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่พบบริเวณป่าชายหาด 3. ได้ข้อมูลพื้นฐานของจุลินทรีย์ที่สามารถนำไปต่อยอดงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นต่อไป
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม
-จัดอบรมชนิดของสายพันธุ์ของจุลินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าจัดทำคู่มือองค์ความรู้ จำนวน 100 ชุด ๆละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 100 แผ่นๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 90,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1 คนๆ ละ 8 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล