11462 : โครงการการอนุรักษ์พันธุกรรม และรวบรวมสายพันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:20:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน.............100............คน ประกอบด้วย........กลุ่มเกษตรกร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเกษตรกร นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาบริการวิชาการและวิจัย
เป้าประสงค์ 1.งานบริการวิชาการและวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวชี้วัด 1. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่เป็นความต้องการของชุมชน/สังคม
กลยุทธ์ 1. การสำรวจความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยอยู่ในเขตศูนย์กลางแหล่งกำเนิดและการแพร่กระจายของข้าว ประกอบกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศมีความแตกต่างกันในแต่ละภาค จึงมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวในแหล่งปลูกข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งในข้าวปลูกและข้าวป่า ข้าวปลูกมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายพันธุ์ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยอาจจำแนกตามนิเวศการปลูกข้าวออกเป็นข้าวไร่ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวนาสวนนาชลประทาน ข้าวน้ำลึก และข้าวขึ้นน้ำ ปัจจุบันความหลากหลายของพันธุ์ข้าวได้ลดลงไปอย่างมาก โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการที่เกษตรกรนิยม ใช้ข้าวพันธุ์ดีปลูกแทนพันธุ์พื้นเมือง จึงน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะไม่มีข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหลืออยู่ อีกต่อไป นั่นหมายถึงว่าพันธุ์ข้าวที่บรรพบุรุษได้คัดเลือกไว้นับเป็นเวลาพันๆ ปี จะสูญพันธุ์ไป โดยไม่สามารถนำกลับคืนมาได้อีก การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนา มีผลกระทบส่วนหนึ่งต่อวิถีชีวิตการดำรงชีพของผู้ที่ได้ชื่อว่า “ชาวนา” ด้วยอาชีพการทำนากำลังพัฒนาไปสู่การผลิตที่ต้องการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น แต่ขณะเดียวกัน การพัฒนาการผลิตกำลังคุกคามความอยู่รอดตามธรรมชาติของพันธุกรรมข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ข้าวและสิ่งที่เรียกว่า วิถีชีวิตของชาวนา ที่เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมชุมชน ในช่วง 3–4 ทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวที่มุ่งไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อนำผลตอบแทนแลกกับสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงหรือรังเกียจความลำบากยุ่งยากของกระบวนการผลิต ทำให้เกิดความสูญเสียสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมายาวนาน โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้รับประโยชน์มา ซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดิน ที่ควรจะอยู่เคียงคู่กับชาวนา ในชุมชนที่มีรากฐานจากการประกอบอาชีพทำนา แต่ด้วยแนวนโยบายพัฒนาประเทศ และค่านิยมสังคมที่แปรเปลี่ยนไป ทำให้ชาวนาทั่วไปรับเอาวิธีการทำนาแบบสมัยใหม่ที่เน้นการลงทุน คำนึงถึงผลตอบแทนที่จะต้องได้คุ้มค่าจึงหันมาใช้พันธุ์ข้าวใหม่ เครื่องจักรกล สารเคมี และการจ้าง ทำให้ชาวนาปัจจุบันมีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั่วๆไปน้อยลง ประกอบกับสถานการณ์การรุกพื้นที่ปลูกของพืชอื่นๆ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน ทำให้สถานการณ์ของความคงอยู่กับพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ปลูกลดหายและสูญเสียไป อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรเลิกปลูก ส่วนมากได้มีการรวบรวมและอนุรักษ์ไว้อย่างเป็นทางการ เพื่อไม่ให้สูญหายไป เมื่อย้อนกลับไป 40–50 ปีก่อน ข้าวพื้นบ้านภาคใต้มีหลายร้อยพันธุ์ จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคใต้ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2493 ซึ่งได้เริ่มต้นทั่วประเทศนั้น ได้ปรากฏในบัญชีรายชื่อแหล่งเก็บในท้องถิ่นต่างๆ รวมประมาณ 285 พันธุ์ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2510 การรวบรวมจากภาคใต้ 101 ครั้ง ได้จำนวน 667 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 ได้มีการรวบรวมข้าวพื้นเมืองอีกครั้งในภาคใต้ ได้ทั้งหมด 1,997 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของพันธุ์ข้าวเหล่านี้ได้นำมาปลูกเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ทำการอนุรักษ์ไว้ มีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงพันธุ์โดยตรง ผลการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยที่ผ่านมา ได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ และได้รับการพิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำ ได้แก่ เหลือง 152, นางพญา 132, ไทยใหม่ 3968, พวงไร่ 2, นางพญา 70, เผือกนํ้า 43, ดอกพะยอม, กู้เมืองหลวง, แก่นจันทร์, เล็บนกปัตตานี, เฉี้ยงพัทลุง, ลูกแดงปัตตานี, เข็มทองพัทลุง, สังข์หยดพัทลุง ด้วยเหตุที่ชาวนาส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ทดแทนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เคยปลูก ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในท้องถิ่นอาจสูญพันธุ์ ทำให้กลุ่มชาวนาที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตชาวนาในชุมชนเกิดแนวความคิดในการทำงาน เรื่อง พันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ให้ความสำคัญกับพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ได้รวบรวมและอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้การใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างแพร่หลาย จึงได้ประชาสัมพันธ์ การเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวภาคใต้ ปัญหาต่างๆ สำหรับการปลูกข้าวของไทยนั้น แบ่งตามเขตพื้นที่ที่ปลูกแล้ว แบ่งได้ 3 สภาพ คือ การปลูกข้าวในเขตชลประทาน การปลูกข้าวแบบอาศัยน้ำฝน และการปลูกข้าวในเขตพื้นที่ดอนหรือสภาพไร่ โดยการปลูกข้าวของไทยส่วนใหญ่เป็นการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน ส่วนการปลูกข้าวในเขตที่ดอนและในสภาพไร่ ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน การปลูกข้าวในสภาพไร่เป็นการปลูกข้าวในสภาพที่ดอนหรือเป็นพื้นที่ตามไหล่เขา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไร่หรือไม่สามารถทำนาแบบอาศัยน้ำฝนหรือชลประทานได้ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นส่วนใหญ่ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมักมีผลผลิตต่ำซึ่งปลูกข้าวในสภาพนี้ มักจะประสบกับปัญหาสภาวะแล้งในช่วงต้นฤดูปลูก เนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ต้นข้าวที่ปลูกแห้งตายหรือเจริญเติบโตได้ไม่ดีเหมือนกับการทำนาแบบอาศัยน้ำฝน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น การใช้พันธุ์ที่มีความสามารถในการทนต่อสภาวะแล้ง แต่ปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์ที่ทนแล้ง จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อคัดเลือกข้าวพันธุ์ที่มีความทนต่อสภาวะแล้ง ซึ่งการคัดเลือกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่นิยมใช้ปลูกกันอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อเป็นแก้ไขปัญหาผลผลิตเสียหายจากสภาวะแล้ง และยังเป็นการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทย นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมของความทนแล้งได้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความทนต่อสภาวะแล้งได้ นักปรับปรุงพันธุ์ข้าว และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาข้าว ได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของเชื้อพันธุกรรมข้าวและผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการสูญหายทางพันธุกรรม จึงดำเนินการรวบรวมอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2524 ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติขึ้นที่ศูนย์ วิจัยข้าวปทุมธานี เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวม อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมข้าว ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ เป็นอาคารชั้นเดียว มีพื้นที่ในอาคาร 1,285 ตารางเมตร แบ่งเป็นห้องเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์และห้องปฏิบัติการเมล็ดเชื้อพันธุ์ ห้องเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ ประกอบด้วยห้องอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ 3 แบบ คือ 1. ห้องอนุรักษ์ระยะสั้น (ประมาณ 3-5 ปี) เป็นห้องขนาด 315 และ 592 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% สามารถอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ได้มากกว่า 30,000 ตัวอย่าง 2. ห้องอนุรักษ์ระยะปานกลาง (ประมาณ 20 ปี) เป็นห้องขนาด 250 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% สามารถอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวได้ 30,000 ตัวอย่าง 3. ห้องอนุรักษ์ระยะยาว (ประมาณ 50 ปี) เป็นห้องขนาด 187.5 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 60% สามารถอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวได้ 25,000 ตัวอย่าง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม และรวบรวมสายพันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้
2 เพื่อจัดตั้งโครงการศึกษาวิจัยศูนย์รวบรวมพันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้ อันจะเป็นแหล่งรวบรวมเชื้อพันธุกรรมต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. สามารถรวบรวม เก็บรักษา และอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้ 2. สามารถรวบรวมสายพันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้ 3. ได้ฐานแหล่งข้อมูลข้าวใช้น้ำน้อย เพื่อการศึกษาและวิจัยในพื้นที่ภาคใต้
KPI 1 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 4 : -ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 100000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. สามารถรวบรวม เก็บรักษา และอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้ 2. สามารถรวบรวมสายพันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้ 3. ได้ฐานแหล่งข้อมูลข้าวใช้น้ำน้อย เพื่อการศึกษาและวิจัยในพื้นที่ภาคใต้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม
-จัดอบรมให้ความรู้พันธุ์ข้าวใช้น้ำน้อยในพื้นที่ภาคใต้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าจัดทำคู่มือองค์ความรู้ จำนวน 100 ชุด ๆละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 100 แผ่นๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆละ1 คนๆ ละ 8 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 90000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล