11464 : โครงการการศึกษาสายพันธุ์ปลาไหลเผือกในพื้นที่ป่าชายหาด ที่มีความสัมพันธ์กับสารสำคัญโดยการจัดกลุ่มพันธุกรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:23:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน.............100............คน ประกอบด้วย........กลุ่มเกษตรกร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเกษตรกร นักวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 75,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 4.การบริการวิชาการทางสหวิทยาการเกษตรที่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อการพึ่งพาตนเอง
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละของโครงการบริการวิชาการที่สามารถก่อให้เกิดรายได้กับมหาวิทยาลัยต่อโครงการบริการวิชาการทั้งหมด
กลยุทธ์ 1.ส่งเสริมให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเขียนโครงการบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia-Jack) เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น แก้ไข้มาเลเรีย ขับพยาธิ กระตุ้นกำหนัด เป็นขมเจริญอาหารเป็นยาถอนพิษและแก้ปวดในกระดูก การสกัดแยกสารสำ คัญจากรากปลาไหลเผือก พบสารประกอบ 3 ชนิดในสารสกัดคลอโรฟอร์ม คือ สารประกอบ S สารประกอบ K และสารประกอบ C ได้ทำ การพิสูจน์ สูตรโครงสร้าง โดยอาศัยข้อมูลจาก ID- และ 2D-NMR spcetroscopy พบว่าสารประกอบ S เป็นสารในกลุ่ม coumarin มีสูตรโครงสร้างเป็น scopoletin สารประกอบ Y เป็นสารในกลุ่ม coumarin มีสูตรโครงสร้างเป็น 9-methoxycanthin-6-one และสารประกอบ C เป็นสารในกลุ่ม steroid มีสูตรโครงสร้างเป็น stigmasterol ในทางเภสัชวิทยา ปลาไหลเผือกใหญ่ มีฤทธิ์ลดไข้ ต้านมาลาเรีย มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของหนูตัวผู้ ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด สารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ สารกลุ่ม quassinoids เช่น eurycomalactone eurycomanol eurycomanone ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลาเรียในหลอดทดลอง การจำแนกพันธุ์พืช โดยการศึกษาทางเคมีและชีวเคมีภายในต้นพืชเพื่อใช้กับงานด้านการจำแนกพันธุ์พืช มีมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้โมเลกุลของ โปรตีน เอนไซม์หรือกรดนิวคลีอิค นับเป็นวิธีหนึ่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นพืชได้ว่าเหมือนกันหรือต่างกัน เนื่องจากข้อมูลทาง พันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่มาสู่ลูก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลโปรตีนหรือเอนไซม์โดยตรงก่อนที่จะสร้างโมเลกุลอื่น ดังนั้น ลักษณะทางพันธุกรรมของพืชย่อมอาศัยดีเอ็นเอ เอนไซม์หรือโปรตีนเป็นตัวบ่งชี้ได้ จำแนกพันธุ์พืชจากลักษณะภายนอกเพียงอย่าง เดียวนั้นนับว่าเป็นวิธีที่สะดวกแต่อาจจะยุ่งยากได้ถ้าลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกันมาก ทำให้ไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง พันธุ์ได้เด่นชัด บางครั้งไม่สามารถเก็บตัวอย่างหรือชิ้นส่วนของพืชได้ครบสมบูรณ์ทุกส่วนจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญใน การพิจารณาความแตกต่างระหว่างพันธุ์อีกด้วย เทคนิคอิเลคโตรโฟรีซีสเป็นเทคนิคการแยกวิเคราะห์สารหรือโมเลกุลที่มีประจุโดยให้สารเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับความ เข้มของสนามไฟฟ้าและจำนวนประจุไฟฟ้าระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ อัตราการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับความเข้มของสนามไฟฟ้า และ จำนวนประจุไฟฟ้ารวมของอนุภาค ดังนั้นจึงนำเทคนิคอิเลคโตรโฟรีซีสมาใช้เพื่อการจำแนกพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยการแยก โมเลกุลของโปรตีน เอนไซม์ หรือดีเอ็นเอ โปรตีนเป็นโมเลกุลทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตที่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มของกรดอะมิโนที่มาต่อกันเป็นสายโพลีเปปไทด์ ตามชนิด ของโปรตีนที่ต่างกัน โมเลกุลโปรตีนจะแสดงประจุ และขนาดของโมเลกุลต่งกันทำให้สามารถแยกโมเลกุลโปรตีนด้วยกระแสไฟฟ้า บนตัวกลางได้ดี ดังนั้นเทคนิคอิเลคโตรโฟรีซีสที่นำมาใช้แยกโมเลกุล โปรตีนโดยเฉพาะโปรตีนในเมล็ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนใน กลุ่มโครงสร้างหรือโปรตีนสะสมรวม 4 กลุ่ม คือ เอลบูมิน โกลบูลิน พบในเมล็ดตระกูลถั่ว โปรลามิน เช่น ฮอร์ดีน ในบาร์เล่ย์และ กลูเทลิน พบในธัญพืช เช่น กลูเทนิน ในข้าวสาลี ส่วนไอโซไซม์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาชนิดเดียวกัน โมเลกุลมีรูปร่างได้หลาย แบบโดยมีคุณสมบัติทางกายภาพทางไฟฟ้าต่างกันและโครงสร้างต่างกัน อีกทั้งมีการเร่งปฏิกิริยาต่างกันเล็กน้อย ไอโซไซม์แต่ละ โมเลกุลมีพันธุกรรมต่างกันและถูกควบคุมการสังเคราะห์ด้วยยีนต่างกัน ความแตกต่างของไอโซไซม์แต่ละโมเลกุลมีพันธุกรรม ต่างกันและถูกควบคุมการสังเคราะห์ด้วยยีนที่ต่างกันความแตกต่างของไอโซไซม์ จึงเป็นผลมาจากลำดับของกรดอะมิโนในสาย โพลีเปปไทด์ประจุหรือการแปรสภาพหลังการสังเคราะห์โปรตีนในพืชชนิดหนึ่ง ๆ จะแสดงความแตกต่างได้ก็ขึ้นกับชนิดของพืช ชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อที่สกัดเอนไซม์ และชนิดของไอโซไซม์ซึ่งพบว่าสามารถใช้แบบของไอโซไซม์และโปรตีน เป็น marker แสดงความแตกต่างได้ทั้งในระดับสกุล (genus) ชนิด (species) พันธุ์ (cultivar) หรือกอพันธุ์ (clone) ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการ Random amplifed polymorphic DNA (RAPD) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Rapid ซึ่งเป็น เทคนิคทางด้านอณูพันธุศาสตร์ที่อาศัยหลักการของวิธีการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอ ให้ได้ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น หลังจากนั้นนำผลผลิตของดีเอ็นเอที่ได้มาทำอิเลคโตรโฟรีซีสเพื่อหาลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprints) ซึ่งใช้เป็น marker ในการจำแนกพันธุกรรมพืชเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่ตรงตาม พันธุ์ นอกจากนี้เทคนิคดังกล่าวยังสามารถใช้ศึกษาการกระจายตัวทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ที่เก็บมาใหม่ การเปลี่ยนแปลงทาง พันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ทั้งก่อนและหลังการขยายพันธุ์วิธีนี้สามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต้นทุนในการทำ ไม่สูงนัก ใช้ชิ้นส่วนของพืชเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องการ probe ที่เฉพาะเจาะจงสามารถแสดงความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอได้สูง ดำเนินการได้ทั้งจีโนมของพืชและสภาพแวดล้อมไม่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลป้องกัน บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ในพื้นที่ป่าชายฝั่ง จังหวัดชุมพร ที่อยู่ในภาวะคุกคามและใกล้สูญพันธุ์
2 เพื่อการศึกษาสายพันธุ์ปลาไหลเผือกในพื้นที่ป่าชายหาด
3 เพื่อการศึกษาสารสำคัญในปลาไหลเผือกต่างสายพันธุ์ในพื้นที่ป่าชายหาด
4 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสายพันธุ์ปลาไหลเผือกในพื้นที่ป่าชายหาดกับสารสำคัญ โดยการจัดกลุ่มพันธุกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ทราบสายพันธุ์ปลาไหลเผือกในพื้นที่ป่าชายหาด ที่มีความสัมพันธ์กับสารสำคัญโดยการจัดกลุ่มพันธุกรรม 2. ทราบถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาไหลเผือก
KPI 1 : -จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : -ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 5 : -ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 75000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ทราบสายพันธุ์ปลาไหลเผือกในพื้นที่ป่าชายหาด ที่มีความสัมพันธ์กับสารสำคัญโดยการจัดกลุ่มพันธุกรรม 2. ทราบถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาไหลเผือก
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม
-จัดอบรมให้ความรู้พันธุ์ปลาไหลเผือก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 200 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 40,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,000 บาท
- ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 100 แผ่นๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1 คนๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 75000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล