11470 : โครงการการขยายพันธุ์สมุนไพรปลาไหลเผือกเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:25:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  -
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 75,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย กฤษฎิ์  พลไทย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 3.การบริการวิชาการทาง สหวิทยาการเกษตรที่สนองความต้องการของภูมิภาค
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรปลาไหลเผือก หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ ตองกาท อาลี (Tongkat Ali) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurycoma Longifolia Jack เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Simaroubaceae มีใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับออกเป็นกระจุกสีเขียวเข้ม มีดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีม่วงแดง ผลแก่สีแดงถึงม่วงดำ พบขึ้นกระจายในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าชายหาด จากการศึกษาวิจัยของสถาบันที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิเช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ The Research Institute of Malaysia ได้รายงานส่วนประกอบทางเคมีที่แยกได้จากส่วนรากสมุนไพรปลาไหลเผือก มีประมาณ 65 ชนิด ซึ่งรวมถึงสารกลุ่ม canthin-6-one alkaloids, -B-carboline alkalods, quassinoids, quassinoids diterpenoids, Eurycomaoside, tirucallane-type triterpenes, squalene derivatives, biphenylneolignans, eurycolactone, laurycolactone และ eurycomalactone. ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยต้นเชื้อไวรัส ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ช่วยรักษาโรคไข้มาเลเรีย และที่สำคัญที่สุดเป็นสารที่เพิ่มพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ และจากการวิจัยพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เพิ่มฮอร์โมน testosterone โดยรายงานการวิจัยของบริษัทยาอินโดนีเซียล่าสุดในปี 2011 อีกทั้งยังมีพลังงานขับดันให้เกิดการสังเคราะห์ ATP จาก ADP และ Pi ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในด้านต่างๆ เช่นการรักษาโรค การเจริญเติบโตและการสร้างสมดุลทางเพศ จากการสืบค้นเอกสารการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปรากฏหลักฐานข้อมูลการศึกษาวิจัยกับสัตว์ทดลอง เช่น หนู กระต่าย สุกร และเป็ด ในด้านการกระตุ้นฮอร์โมนเพศผู้ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นแนวทางให้ผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สนใจนำมาทดลองกับสัตว์น้ำ เช่น การเสริมอาหารให้ปลานิลแดงกินในอัตราส่วนที่ต่างกัน ปรากฏว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเจริญเติบโต เกิดความแตกต่างกับชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ การศึกษาการโน้มนำให้เกิดเพศผู้ในลูกปลานิล มีผลให้เกิดเพศผู้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และแตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี ซึ่งมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 30,000 บาท อีกทั้งยังมีสารตกค้าง ส่งผลต่อเนื่องต่อผู้บริโภค สมุนไพรปลาไหลเผือกจึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยเพื่อคุณประโยชน์ในวงการสัตว์น้ำในปัจจุบัน โดยหลักการเกษตรอินทรีย์ ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้วยสรรพคุณมากมายของสมุนไพรปลาไหลเผือก ที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ และสัตว์เศรษฐกิจที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันอันตรายที่กำลังใกล้เข้ามา ก็คือการสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ของพืชชนิดนี้เช่นกัน และไม่เว้นแม้กระทั่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ดังนั้น การเร่งขยายพันธุ์สมุนไพรปลาไหลเผือก เพื่อการอนุรักษ์และการศึกษาวิจัยภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง จึงเป็นภารกิจสำคัญเร่งด่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อศึกษาแนวทางการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรปลาไหลเผือก
3. เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ ศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรปลาไหลเผือก
4. เพื่อศึกษาแนวทางการนำสมุนไพรปลาไหลเผือกมรใช้กับสัตว์น้ำอย่างคุ้มค่าภายใต้การอนุรักษ์พันธุกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การขยายพันธุ์สมุนไพรปลาไหลเผือกในแปลงปลูก
KPI 1 : -อัตราการรอดของสมุนไพรปลาไหลเผือกในแปลงปลูก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ต้น 2000
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 3 : -จำนวนปลาไหลเผือกที่ทำการเพาะขยายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ต้น 2500
KPI 4 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 75000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การขยายพันธุ์สมุนไพรปลาไหลเผือกในแปลงปลูก
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม
-ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลเผือก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาเพาะขยายพันธุ์สมุนไพรปลาไหลเผือก จำนวน 2,500 ต้นๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาวางระบบน้ำในแปลงปลูก เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 75000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล