11472 : โครงการเพาะขยายพันธุ์ผักพูม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/5/2561 11:27:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2561 25,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 3.การบริการวิชาการทาง สหวิทยาการเกษตรที่สนองความต้องการของภูมิภาค
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพรมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีจำนวน 30 ไร่ซึ่งมีพืชพรรณนานาชนิดที่สามารถใช้เป็นอาหารเช่นผักพูมซึ่งเป็นผักหวานป่าพบในป่าร้อนชื้นในเขตจังหวัดชุมพรระนองสุราษฎร์ธานีชาวปักษ์ใต้ใช้ผักพูมประกอบอาหารเช่นเดียวกับผักเหรียงหรือผักเหมียง ผักพูมเป็นผักหวานป่าชนิดหนึ่งที่ชาวปักษ์ใต้รู้จักดีทั่วไปเรียกหมากหมกเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1-2 เมตรลำต้นสีเขียวกิ่งก้านแผ่ออกจากลำต้นเป็นทรงพุ่มกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆละ 3 กิ่งๆละ 3 - 6 ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปยาวรีปลายแหลมหน้าใบเป็นมันลื่นขอบใบเป็นหยักเล็กน้อยใบกว้างประมาณ 3 - 7 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกออกใต้ลำกิ่งระหว่างขั้วใบเป็นช่อดอกอ่อนสีเทาดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดงผลกลมรียาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของผักเหลียงช่อหนึ่งมี 3-5 ผลเมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส ผักพูมเป็นพืชที่โตช้าเกษตรกรโดยทั่วไปจึงไม่นิยมปลูกเมื่อต้องการก็เข้าป่าไปหาเก็บในธรรมชาติที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปและชาวบ้านที่เก็บผักพูมในป่ายังไม่เข้าใจและศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์เพราะยังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้องดังนั้นจึงควรผลิตสื่อวีดีทัศน์ให้เห็นถึงคุณค่าที่ควรต่อการใช้พร้อมๆกับการอนุรักษ์อย่างถูกวิธีอย่างไรก็ตามยังต้องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเพาะขยายให้เพิ่มจำนวนในปริมาณมากๆและขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อให้มีจำนวนทดแทนต้นเดิมอย่างเพียงพอเพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหารและเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
2เพื่อเพิ่มขยายพันธุ์ผักพูมในบริเวณพื้นที่30 ไร่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพรผลิตกล้าผักพูมจำนวน500 กล้า
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีพันธุ์ผักพูมเพิ่มขึ้น
KPI 1 : -ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : -ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : -จำนวนเมล็ดพันธุ์ผักพูม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เมล็ด 500
KPI 4 : -ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 25000
KPI 5 : -ร้อยละการรอดของกล้าผักพูม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีพันธุ์ผักพูมเพิ่มขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
-กิจกรรม
1. เพาะขยายพันธุ์ผักพูม

2. ผลิตสื่อสารคดีให้ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาใส่ถุงดินเพาะชำ จำนวน 500 ถุงๆ ละ 9 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อวีดิทัศน์ (ผักพูมกับชาวใต้) จำนวน 1 เรื่อง เป็นเงิน 17,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าเมล็ดพันธุ์ผักพูม จำนวน 500 เมล็ดๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ป้ายโครงการ จำนวน 2 ป้ายๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.เมล็ดผักพูมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯ อาจได้รับความเสียหายจากโรครา เนื่องจากฝนอาจตกชุกจนเกินไป
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.เร่งรัดการจ้างเหมาเก็บเมล็ดพันธุ์ผักพูมในป่าธรรมชาติก่อนฝนตกชุก
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล