11675 : สร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่ ที่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/11/2560 9:33:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  ผู้เข้ารับการอบรม และนักวิจัย คณาจารย์แม่โจ้ จำนวน 60 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 5,080,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
อาจารย์ ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จำเนียร  ยศราช
อาจารย์ ดร. สมคิด  แก้วทิพย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA61-3 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ BA61-G8 มีหลักสูตรจัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด BA61- KPI-16 จำนวนหลักสูตรที่จัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม และก่อให้เกิดรายได้จากการบริการวิชาการ (P.1)
กลยุทธ์ BA61-S8 ส่งเสริมให้หลักสูตรจัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
เป้าประสงค์ BA61-G9 มีหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม
ตัวชี้วัด BA61- KPI-17 จำนวนหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม (P.5)
กลยุทธ์ BA61-S9 สร้างหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการรายงานผลสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ ๔๘ ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ ๕ ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับ ๔ ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า ๓ หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตเป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับภาระ ส่งผลต่อการลงทุนต่อไร่สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น และต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นต้ว ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ดังนั้น จึงเห็นว่าเกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวมที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบ/นิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ปัญหาใหญ่ที่มิใช่เฉพาะของไทยแต่เป็นปัญหาของโลก คือ จำนวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ลดลง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น นโยบายการลดจำนวนเกษตรกรของแต่ละประเทศ การทำระบบเกษตรที่ทำให้ไม่มีความมั่นคงทางรายได้ ระบบตลาดที่ไม่เอื้อ การที่คนในสังคมไม่ให้คุณค่าของอาชีพเกษตรกร และปัญหาทางการตลาดของผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้มุ่งผลิตบัณฑิตที่จบการศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านการเกษตร ขยายโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ การสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม ปัจจุบันมีผู้ตัดสินใจเลือกเรียนทางด้านการเกษตรลดลง เนื่องจากมีทัศนะคติต่อการเรียนและอาชีพทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ผู้จบการศึกษาส่วนใหญ่ไม่นิยมประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม อาจเนื่องจากผู้ปกครองประกอบอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่มีที่ดินทำกิน ขาดเงินทุนประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เป็นต้น ดังนั้นหากมีกลไกและแรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเห็นว่าการทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง สามารถสร้างรายได้ที่ดี ถ้ามีการนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมในอุตสากรรมการเกษตร ย่อมสามารถทำให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะต่อการเรียนเกษตร ตัดสินใจเลือกเรียนเกษตร และหันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น ในปีที่ผ่านมา(2560) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจในการจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกรฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการเรียนรู้ สนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ปัญหาที่ผ่านมา คือ มีผู้ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือไม่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร เนื่องจากการใช้ปัจจัยการผลิตต้นทุนสูง ขาดทุน และเป็นหนี้สิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรผู้นำเกษตรรุ่นใหม่กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ขึ้น มีเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 49 ราย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการและการตลาดเป็นอย่างดี มีความสนใจที่จะส่งเสริมและสนองต่อยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์-สีเขียว-เชิงนิเวศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2556 – 2559 ในยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายการผลิต แปรรูปและตลาด การส่งเสริมเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการผลิต และการส่งเสริมและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศ เพื่อเพิ่มการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ และมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการตลาดและมาตรฐานในกลยุทธ์ด้านการสร้างและบริหารจัดการมาตรฐาน การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อขยายตลาด และการสร้างอัตลักษณ์และความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคทั้งด้านราคา คุณภาพสินค้า การสร้างเครือข่ายผู้รับซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นคณะบริหารธุรกิจจึงได้ดำเนินการ โครงการสร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่ ที่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน โดยมีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างผู้นำเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ ที่มีความรู้และทักษะในการทำเกษตรอินทรีย์โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความชำนาญเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ พร้อมเข้าสู่ที่ดินของตนเองอย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่สู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะ ความรู้ ความชำนาญเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์
เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการการผลิตและการดำเนินงานของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการตลาดของผลผลิตเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้นำเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่
KPI 1 : จำนวนพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ไร่ 120
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนตลาดเกษตรอินทรีย์และช่องทางการตลาดสำหรับรวบรวมผลผลิตจากเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่และเครือข่ายเกษตรกรเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แห่ง 1
KPI 4 : ผู้อบรมผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้นำเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ที่เข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 60
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้นำเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมภาคทฤษฎี ระยะที่ 1 (2 เดือนแรก)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารเช้า 30 คน x 60 มื้อ x 100 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 360,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 มื้อ x 100 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 360,000 บาท
3. ค่าอาหารเย็น 30 คน x 60 มื้อ x 100 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 360,000 บาท
4. ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 120 มื้อ x 35 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 252,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมนํามันเชื้อเพลิงในการศึกษาดูงาน 4 คัน x 1 วัน x 2,500 บาท x 18 ครั้งเป็นเงิน 180,000 บาท
6. ค่าของที่ระลึกในการศึกษาดูงาน 18 ชิ้น x 1,000 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 36,000 บาท
7. ค่าที่พักผู้เข้ารับการอบรม(ภาคทฤษฎี) 30 คน x 60 คืน x 200 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 720,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,268,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากรในการฝึกอบรมชั่วโมงละ 600 บาท x 480 ชั่วโมง x 2 รุ่น เป็นเงิน 576,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 576,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตรและปัจจัยการผลิต 30 คน x 2 เดือน x 3,600 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 216,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 216,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3060000.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติระยะที่ 2 (1 เดือน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 30 วัน x 100 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 180,000 บาท
2.ค่าที่พักผู้เข้ารับการอบรม(ภาคปฏิบัติ) 30 คน x 30 คืน x 200 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 360,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 540,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าวัสดุเกษตรและปัจจัยการผลิต 30 คน x 1 เดือน x 5,000 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 300,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 840000.00
ชื่อกิจกรรม :
การบริหารจัดการโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อนุชา  กันทรดุษฎี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม(30หลักสูตร) 30 หลักสูตร x 1 ปี x 2,500 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 150,000 บาท
2.ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ 2 คน x 9 เดือน x 15,000 บาท เป็นเงิน 270,000 บาท
3.ค่าจ้างเหมาผลิตวิดีโอประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 50,000 บาท
4.ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประสมองค์ความรู้ด้านผู้นำเกษตรอินทรีย์ฯ จำนวน 6 ชุด x 30,000 บาท x 1 ครั้ง เป็นเงิน 180,000 บาท
5.ค่าจ้างเหมาติดตามประเมินผลโครงการ(ภาคทฤษฎี/ภาคปฎิบัติ) เป็นเงิน 140,000 บาท
6.ค่าจ้างเหมาป้ายประชาสัมพันธ์ไวนิล 1 x 3 เมตร จำนวน 10 ผืน x 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
7.ค่าจ้างเหมาป้ายประชาสัมพันธ์โปสเตอร์ ขนาด A3 เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 798,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1.ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 170,200 บาท
2.ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 160,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 330,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1129200.00
ชื่อกิจกรรม :
ปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พิชิต  สิทธิกัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 2 มื้อ x 35 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 1 มื้อ x 100 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท
3.ค่าอาหารเย็น 30 คน x 1 มื้อ x 100 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท
4.ค่าเช่าห้องประชุม 1 ห้อง x 1 วัน x 1,000 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1.ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 4 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล