11765 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านและช่องทางการจัดจำหน่ายแก่กลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/11/2560 9:38:06
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/11/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรีและประชาชนที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2561 14,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.4 จำนวนผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย
เป้าประสงค์ 1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ์ 3.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรปลอดภัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สาขาวิชาการตลาดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เริ่มดำเนินงานร่วมกับกลุ่มแม่บ้านทุ่งศรีมาตั้งแต่ปี 2557 ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววิถีเพื่อเพิ่มความยั่งยืนของชุมชน โดยมีฐานคิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับบุคลากร นักศึกษา ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น ในท้องถิ่นอำเภอร้องกวางพบว่ามีพืชสมุนไพรพื้นบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ยังไม่ได้ถูกนำมาเพิ่มศักยภาพหรือเพิ่มมูลค่า ได้อย่างเต็มความสามารถ ดังนั้นเพื่อที่จะทำการพัฒนาให้ชุมชน บุคลากร นักศึกษาลดรายจ่ายเบื้องต้นในครัวเรือนจึงได้ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 จัดทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ ประกอบด้วย แชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยากำจัดฝุ่น สบู่เหลวครีมอาบน้ำนมข้าว ซึ่งมีเป้าหมายว่า “คนทำปลอดภัย คนใช้มีสุข สร้างสรรค์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เงินทุนหมุนเวียนในชุมชน” โดยผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจะใช้สารเคมีน้อยที่สุด และมุ่งเน้นใช้สมุนไพรในชุมชนเป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น มะนาว มะกรูด มะเฟือง มะขามป้อม ลิ้นจี่ มะขาม ขมิ้นชัน เป็นต้น จากปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การขับเคลื่อนกลุ่มมีปัญหาในด้านแรงงานการผลิต เพราะบ้านทุ่งศรีหมู่ 3 มีคณะดูงานเข้ามาติดต่อขอดูงาน เกือบทุกวัน ทำให้สมาชิกกลุ่มต่างต้องมีหน้าที่ต่างๆ ในการต้อนรับคณะดูงาน ทำให้ทำผลิตภัณฑ์ชีววิถีขาดความต่อเนื่องในการผลิต อย่างไรก็ตามในปี 2560 คุณหทัย ศรีภูมินทร์ ได้กลับมาบ้านเกิดที่หมู่ 3 หลังจากไปดำเนินการประกอบธุรกิจทำสปา และเครื่องสำอางจากสมุนไพร ภายใต้ ตรายี่ห้อ “บ้านสมุนไพรภูพฤกษา 89” จึงได้ชักชวนกลุ่มแม่บ้านมาก่อตั้งวิสาหกิจบ้านสมุนไพรภูพฤกษา ชุมชนบ้านทุ่งศรี โดยคุณณหทัย ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม มีการผลิตสินค้าที่มีส่วนผสม ของสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น น้ำมันผิวงาม ครีมกำจัดเห็บจากน้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือนดิน ซึ่งในการดำเนินงานในส่วนของสาขาวิชาการตลาดจะให้บริการวิชาการ ในด้านความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตรายี่ห้อ ตลอดจนกลยุทธ์การตลาดแก่กลุ่มวิสาหกิจฯ เพื่อให้ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถพึ่งพาตนเองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาด ตลอดจนยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคลากร นักศึกษาต่อไป อีกทั้งจะสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในด้านการบริการวิชาการ เมื่อก่อตั้งมาสักระยะ 3 เดือน พบว่า เป็นการยากที่จะแยกระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จึงได้มีการประชุมและหารือกันยกเลิกกลุ่มวิสาหกิจบ้านสมุนไพรภูพฤกษา ชุมชนบ้านทุ่งศรี และเปลี่ยนชื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาเป็น “รักษ์สมุนไพรทุ่งศรี” ซึ่งระยะแรกในการปรับเปลี่ยนทางกลุ่มได้เริ่มดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์ คือ ยาสีฟันสมุนไพร ซึ่งได้รับงบจากพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ 10,000 บาท มาใช้ในการอบรมให้กับสมาชิกในกลุ่ม และได้รับการประสานงานจากอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่เข้ามาช่วยเหลือการจัดทำมาตรฐานของผลิตภัณฑ์โดยได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยพะเยาเข้ามาช่วยตรวจสอบด้านมาตรฐานการผลิตให้ผ่าน GMP สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) ภายใต้การนำของ อ.ดร.น้ำฝน รักประยูร ในฐานะผู้ที่ลงพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านและช่องทางการจัดจำหน่ายแก่กลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี” โดยจะจัดการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่การลดการใช้สารเคมี สนับสนุนให้ชุมชนมีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้านและนำมาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน ตลอดจนพัฒนาระบบการจัดการความรู้และการสื่อสาร สู่สาธารณะ พัฒนาขีดความสามารถและทักษะของชุมชน เครือข่าย ผ่านกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชา กต 354 การตลาดเพื่อสังคม อีกทั้งเป็นการออกแบบการบริการวิชาการที่สนับสนุนต่อโครงการวิจัยเงินรายได้ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2560 เรื่อง การบริหารการผลิตและการตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมในบ้านทุ่งศรี นอกจากนี้ยังขยายผลสู่การสร้างรายได้จากการทำตลาดออนไลน์ให้กับชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนภายใต้เกษตรกรรมยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดการเรียนรู้กระบวนการคิดและนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและสื่อทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านและช่องทางการจัดจำหน่ายแก่กลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับการพัฒนาความรู้ การสร้างสรรค์สินค้าใหม่ให้กับชุมชนและสามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน กลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 20
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ช่องทางจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ช่องทาง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านและช่องทางการจัดจำหน่ายแก่กลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตรายี่ห้อ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเช่าสถานที่อบรม จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การอบรมการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและจัดทำสื่อทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจรักษ์สมุนไพรทุ่งศรี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/11/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเช่าสถานที่อบรม จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล