11832 : โครงการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/6/2561 15:12:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  65  คน
รายละเอียด  เกษตรกรในพื้นที่ชุมชนพัฒนาทรายแก้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสำนักงานเกษตรอำเภอ และคณาจารย์และบุคลากรของหลักสูตรการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2561 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง:แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3) โครงการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 2561 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พหล  ศักดิ์คะทัศน์
น.ส. ศรีวรรณ  ดอนวิเศษ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
อาจารย์ สุภักตร์  ปัญญา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61 ผก. 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61 ผก 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61 ผก 4.1 ระดับความสำเร็จของการบริหารโครงการบริการวิชาการของหน่วยงาน
กลยุทธ์ 61 ผก 4.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์การให้บริการวิชาการแบบองค์รวม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชุมชนในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและใช้ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการของชุมชน และคนในท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแผนงาน โครงการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ร่วมกับภาคีอื่นๆทั้งในและนอกชุมชน การแสวงหาความรู้ทักษะการคิด วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทำได้โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาศักยภาพผู้นำในชุมชน เป็นการสร้างแกนนำเพื่อการทำงานในชุมชนโดยมีหลักการสำคัญ ซึ่งเชื่อว่าชาวบ้านหรือประชาชนเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาของตนเอง องค์กรภายนอกเป็นผู้กระตุ้นหรือสนับสนุนเท่านั้นเอง ชุมชนบ้านพัฒนาทรายแก้วและแพะป่าห้า ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล พืชไร่และอื่นๆ เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้ซึ่งได้ร่วมกับเครือข่ายชุมชนแพะป่าห้าที่มีแนวทางการผลิตพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรและหลักการเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่ถูกต้องและเหมาะสม และที่สำคัญสภาพการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรต่างๆ ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะผู้จัดทำโครงการบริการวิชาการนี้ซึ่งเป็นบุคลากรในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมีความสนใจที่จะทำโครงการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ เรื่อง “การปลูกพืชให้ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์ ในชุมชนพัฒนาทรายแก้วและแพะป่าห้า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทางการเกษตรและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในผลผลิตให้เกิดขึ้นในชุมชนและสามารถจำหน่ายผลผลิตภายใต้โครงการกาดแม่โจ้ 2477 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ ตลอดจน การดำเนินงานตามโครงการนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันในด้านการเรียน การสอน การบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยเฉพาะนักศึกษาจะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การปลูกพืชให้ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์ ในชุมชนพัฒนาทรายแก้วและแพะป่าห้า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร
2. เพื่อส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร ในชุมชนเทศบาลป่าไผ่ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีพัฒนา หน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
4. เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานร่วมกันแบบบูรณาการในด้านการเรียน การสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแก่ชุมชนและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงของนักศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ได้กลุ่มเกษตรกรในการผลิตพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรอย่างเป็นระบบที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริงในพื้นที่เป้าหมาย 2. ได้เอกสารเผยแพร่ “การปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร” และ “การทำเกษตรอินทรีย์” แผ่นพับ สำหรับงานส่งเสริมเกษตรกรเพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชน 3. ได้เครือข่ายการพัฒนาแบบบูรณาการระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทศบาลเมืองแม่โจ้ ชุมชน และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 4. ได้การบูรณาการโครงการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชน ในรายวิชา สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการโครงการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจาการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ได้กลุ่มเกษตรกรในการผลิตพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรอย่างเป็นระบบที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริงในพื้นที่เป้าหมาย 2. ได้เอกสารเผยแพร่ “การปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร” และ “การทำเกษตรอินทรีย์” แผ่นพับ สำหรับงานส่งเสริมเกษตรกรเพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชน 3. ได้เครือข่ายการพัฒนาแบบบูรณาการระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทศบาลเมืองแม่โจ้ ชุมชน และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 4. ได้การบูรณาการโครงการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชน ในรายวิชา สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
จัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรพื้นที่ชุมชนบ้านพัฒนาทรายแก้ว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และนักศึกษาในรายวิชา สก 301 หลักการส่งเสริมการเกษตร ภาคเรียนที่ 1/2561 ซึ่งเป็นโครงการบูรณาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/07/2561 - 16/07/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  พวงงามชื่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล  ศักดิ์คะทัศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นคเรศ  รังควัต (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล  กนกหงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ  พละปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นภารัศม์  เวชสิทธิ์นิรภัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 64 คน ๆ ละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 6,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคคลภาครัฐ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงที่มีกิจกรรมในชุมชนของเกษตรกรอาจมีผู้เข้าร่วมน้อย
2. รูปภาพประกอบสำหรับการจัดทำแผ่นพับการปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารตกค้างทางการเกษตรอาจมีไม่เพียงพอในช่วงที่ต้องการหรือมีแต่ไม่สมบูรณ์
3. การเดินทางและคมนาคมขนส่งอาจมีข้อจำกัดสำหรับจำนวนนักศึกษาที่จะเข้าร่วม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. มีการนัดหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสมและอาศัยผู้นำท้องถิ่นประสานงานและมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าและต่อเนื่อง
2. มีการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของแปลงผักหรือขอใช้พื้นที่สาขาพืชผัก/แปลงผักของเกษตรกรเพื่อใช้สถานที่และบุคลากรในการปฏิบัติการ
3. มีการจัดการให้เป็นระบบและจัดสรรตามจำนวนอย่างเหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล