11856 : โครงการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร ปี พ.ศ. 2561
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
ดร.อนุพันธุ์ สมบูรณ์วงศ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/3/2561 10:07:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/04/2561  ถึง  31/08/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายภายใน ได้แก่ บุคลากร นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มเป้าหมายภายนอก ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามภารกิจยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4)
2561 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. อนุพันธุ์  สมบูรณ์วงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 60ECON-4 การบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 60ECON 4.1 ให้บริการวิชาการมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่
ตัวชี้วัด 60ECON 4.5 จำนวนบทความวิจัยและบทความวิชาการ ที่เผยแพร่ในแหล่งวิชาการต่างๆ
กลยุทธ์ 60ECON 4.5.1 การจัดทำบทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่ในแหล่งวิชาการต่างๆ
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61ECON-4 การบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 61ECON 4.2 เพื่อให้บริการวิชาการที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด 61ECON 4.4 จำนวนฐานข้อมูลที่เผยแพร่สู่สาธารณะ
กลยุทธ์ 61ECON 4.2.3 จัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะลักษณะพื้นที่ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการทำเกษตรกรรม กล่าวคือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน สภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสม (อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส) มีปริมาณน้ำฝนที่พอเพียงในฤดูกาลเพาะปลูก (ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,225 มิลลิเมตร/ปี) และทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรและมีวิถีชีวิตผูกพันกับการเพาะปลูก โดยในอดีตเกษตรกรปลูกพืชไว้เพื่อบริโภคเป็นสำคัญ หากเหลือจะเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรืออาจนำไปแลกเปลี่ยนกับอาหารและสิ่งของอื่นๆ บ้างเท่านั้น ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น การทำการเกษตรก็ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการปลูกเพื่อการบริโภคมาเป็นเพื่อการค้าขายมากขึ้น และเน้นส่งออกเป็นหลัก เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแรงงานภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่ของประเทศ ทำให้สามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรหลายชนิดได้โดยเสียต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตของประเทศอื่น แนวโน้มการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าผลผลิตด้านการเกษตรได้ขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยสามารถขยายผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอัตราถึงร้อยละ 5 ต่อปี เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวการเกษตรของโลกที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.5 ถึง 2.8 ต่อปีเท่านั้น ทำให้มีส่วนเสริมสร้างฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในระยะที่ผ่านมา (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการแข่งขันในภาคการเกษตรได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยต่างๆ จากทั้งในและนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันและค่าขนส่ง ราคาปัจจัยการผลิต สภาพอากาศ สภาวะเศรษฐกิจของไทยและของโลก หรือนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร จึงได้ดำเนินงานจัดทำโครงการดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตรของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึง 31 สิงหาคม 2560 เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบ (ตัวชี้วัด) และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำการเกษตร สำหรับจัดทำผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตรของประเทศไทย และเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ในภาคการเกษตรของประเทศไทย
เพื่อเผยแพร่ผลการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ในภาคการเกษตรของประเทศไทยให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
KPI 1 : บทความผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บทความ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/04/2561 - 29/06/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.อนุพันธุ์  สมบูรณ์วงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารวบรวมข้อมูล จำนวน 2000 ชุดๆละ 10 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
วิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/07/2561 - 31/08/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.อนุพันธุ์  สมบูรณ์วงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล