11867 : โครงการพัฒนาเมนูอาหารและเครื่องดื่มจากแตงกวาโดยเทคนิคการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Creative Food Design)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/12/2560 10:57:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2560  ถึง  31/01/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณสนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ภาคเหนือ) 2561 357,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อนุวัต  เชื้อเย็น
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.4 จำนวนผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ที่ 7 มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน (60)
ตัวชี้วัด KPI5.3 ร้อยละความพึงพอใจของชุมชนต่อการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย (60)
กลยุทธ์ 5.3.1 กำหนดพื้นที่การทำงานเฉพาะในแต่ละปี เพื่อให้มีการวัดและประเมินผลกระทบของงานบริการวิชาการ (60)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แตงกวา มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปี พบถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการเพาะปลูกในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อก่อน 2,000 ปี โดยนำผ่านเอเชียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้มีการนำไปปลูกในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพการบริโภคสดและแปรรูป สำหรับในประเทศไทย ได้มีการค้นพบบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการขายเมล็ดพันธุ์แตงกวาในปี พ.ศ. 2480 - 2483 แตงกวา จึงถือเป็นพืชผักที่ผูกพันกับครัวเรือนของคนไทยมาช้านานกว่าชั่วอายุคน แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย อุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย นอกจากนี้ แตงกวายังมีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า การดื่มน้ำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วย แตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริกเพื่อช่วยผ่อนคลายความเผ็ดร้อน และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียวอีกด้วย ฐานปฏิบัติการทางการศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารนานาชาติ (International Gastronomic Tourism Consortium: iGTC) คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ร่วมด้วย สาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร และสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “แตงกวา” พืชผักคู่ครัวเรือนและผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย จึงร่วมกันพัฒนาโครงการ “พัฒนาเมนูอาหารและเครื่องดื่มจากแตงกวาโดยเทคนิคการออแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Creative Food Design)” ขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่า (Value Added) ให้กับผลผลิตแตงกวา สร้างการรับรู้การบริโภคแตงกวาในมุมมองใหม่สู่สาธารณชน และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการสำหรับนักวิจัย เกษตรกร ผู้ประกอบการ ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาหรือต่อยอดความคิดให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยทั้งจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตแตงกวาของเกษตรกรไทย
เพื่อสร้างการรับรู้วิถีการบริโภคแตงกวาในมุมมองใหม่สู่สาธารณชน
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างนักวิจัย เกษตรกร และผู้ประกอบการ
เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาและต่อยอดทางความคิดเกษตรกรรุ่นใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากเมนูอาหารและเครื่องดื่มจาก “แตงกวา” โดยเทคนิคการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Creative Food Design)
KPI 1 : จำนวนสูตรอาหารและเครื่องดื่มจากแตงกวา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 สูตร 10
KPI 2 : จำนวนสื่อประกอบการสอนและฝึกอบรม Signature Dish
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 2
KPI 3 : สื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ (ภาพเคลื่อนไหว)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 4
KPI 4 : จำนวนเมนูเด่น (Signature Dish)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เมนู 2
KPI 5 : จำนวนตำราอาหารเพิ่มมูลค่าจากแตงกวา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฉบับ 300
KPI 6 : จำนวนผู้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากเมนูอาหารและเครื่องดื่มจาก “แตงกวา” โดยเทคนิคการออกแบบอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Creative Food Design)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมพัฒนาสูตรอาหารและเครื่องดื่มจากแตงกวา (Recipe Development)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อนุวัต  เชื้อเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพัฒนาสูตรอาหารเพิ่มมูลค่าจากแตงกวา จำนวน 10 สูตร x 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมทดสอบสูตรอาหาร (Taste Testing) และคัดเลือกเมนูเด่น (Signature Dish)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อนุวัต  เชื้อเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คน x 200 บาท x 2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x 30 บาท x 4 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมออกแบบและจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตร “แตงกวา” (Shooting and Styling)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อนุวัต  เชื้อเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและผลิตสื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากการพัฒนาสูตรอาหารจากแตงกวา
- จำนวนตำราอาหารเพิ่มมูลค่าจากแตงกวา 300 ฉบับ
- จำนวนสื่อประกอบการสอนและฝึกอบรม Signature Dish จำนวน 2 ชุด
- สื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ (ภาพเคลื่อนไหว) จำนวน 4 ชุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 150000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ สาธิตและฝึกอบรม เมนูอาหารจากแตงกวา (Signature Dish Demonstration)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อนุวัต  เชื้อเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาตกแต่งสถานที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 1,200 บาท x 9 ชั่วโมง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 42,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 98600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล