11890 : อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างประกอบและการใช้งานอุปกรณ์ระบบหลอดไฟ LED และระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกดอกเบญจมาศ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/12/2560 16:46:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/12/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักศึกษา นักเรียน หรือผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่โดยเฉพาะในเขต อำเภอสันทราย และอำเภอแม่ริม เป็นแหล่งทำการเพาะปลูกไม้ดอกตัดดอกเศรฐกิจแหล่งใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยในเขตหมู่บ้านโปง อำเภอสันทราย เกษตรกรนิยมทำการเพาะปลูกดอกเบญจมาศกันอย่างกว้างขวาง จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจึงทำให้พบปัญหาด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนในการใช้จ่ายสูง เนื่องจากดอกเบญจมาศมีความต้องการช่วงแสงสว่างสำหรับการเจริญเติบโตและติดดอกประมาณ 13.5 ชั่วโมงต่อวัน (อนุสร จันทรแดง, 2549) แต่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบน ในแต่ฤดูจะมีช่วงแสงที่ไม่เท่ากัน เช่น ในฤดูหนาวจะมีช่วงกลางวันสั้นกว่า 10 ชั่วโมงจึงเกิดการติดตาดอกเร็วกว่ากำหนดการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านไม่พอเพียงก่อนที่จะออกดอก ส่งผลให้ดอกเบญจมาศมีคุณภาพไม่ดี คือก้านดอกสั้นและมีขนาดเล็ก ใบไม่งามและจำนวนใบไม่มาก ดอกมีขนาดเล็ก การแก้ไขให้เบญจมาศมีโอกาสเจริญเติบโตทางกิ่งก้านอย่างพอเพียงก่อนออกดอก ทำได้โดยการให้แสงไฟให้ยาวนานเพิ่มขึ้นโดยให้แสงช่วงวันอยู่ระหว่าง 13-14 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของดอกเบญจมาศ เทคนิคการเปิดหลอดไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างในตอนหัวค่ำเพื่อเพิ่มจำนวนช่วงแสงเหมือนเป็นตอนกลางวันจึงนิยมนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่เพาะปลูกพบว่า สำหรับฤดูร้อนต้องเปิดไฟให้แสงสว่างแก่ดอกเบญจมาศวันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากเวลา 18:30น. เป็นต้นไป ส่วนในฤดูหนาวมีแสงสว่างต่อวันเพียงต่ำกว่าฤดูร้อนประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน จึงต้องเปิดไฟให้แสงสว่างแกดอกเบญจมาศวันละประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการครั้งนี้ โดยมีความมุ่งหวังที่จะใช้ความรู้และทักษะความชำนาญทางด้านวิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยี มาอบรมและถ่ายทอดให้ความรู้กับเกษตรกร นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ประกอบด้วยการประกอบชุดหลอดไฟฟ้าชนิด LED ที่ให้คุณภาพของแสงเหมาะสมกับการระงับการติดตาดอก ชุดระบบควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เพื่อมุ่งหวังว่า หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประกอบและติดตั้งระบบชุดอุปกรณ์หลอดไฟฟ้าแบบ LED สำหรับใช้งานในแปลงการเกษตรได้ ตลอดจนสามารถประกอบชุดอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมการเปิดปิดระบบแสงสว่างในแปลงการเกษตรได้ด้วยตัวเอง เพื่อนำไปช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานและการควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้าแสงสว่างที่แม่นยำสำหรับแปลงเพาะปลูกไม้ตัดดอกเศรษฐกิจชนิดต่างที่นิยมปลูก โดยจะใช้หลอดไฟ LED ในการให้แสงสว่างแทนหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ประเภท warm white เนื่องจากหลอดไฟ LED สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบ ได้ถึง 80% และมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ประมาณ 15,000 ชั่วโมง (เอกสารอ้างอิง) สำหรับระบบการควบคุมการเปิดปิดไฟแสงสว่าง ทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ สวิทซ์แสงแดด (Light Switch) ที่ทำงานร่วมกับวงจรอิเลคทรอนิกส์ควบคุมเวลา (Timer) กล่าวคือ ชุดอุปกรณ์จะมีนาฬิกาสำหรับบันทึกค่าของชั่วโมงแสงแดดต่อวัน โดยจะมีไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นตัวควบคุมเวลาในการเปิด-ปิดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชุดหลอดไฟ โดยกำหนดให้ชั่วโมงแสงต่อวันไม่ต่ำกว่า 13.5 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้ระบบการเปิด-ปิดการจ่ายไฟฟ้าในแปลงเพาะปลูกดอกไม้สามารถทำได้แบบอัตโนมัติและแม่นยำสูง ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้ามากกว่าการใช้มนุษย์ควบคุม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกไม้ตัดดอกเศรษฐกิจให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
เพื่ออบรมให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี การติดตั้งและใช้งานระบบควบคุมแสงสว่างแบบ LED อัตโนมัติสำหรับไม้ตัดดอกเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังเพื่อการลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าและแรงงานสำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูก
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันการผลิตไม้ตัดดอก
เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จัดอบรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างประกอบและการใช้งานอุปกรณ์ระบบหลอดไฟ LED และระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติสำหรับ การเพาะปลูกดอกเบญมาศ
KPI 1 : ร้อยละของการดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามเวลา
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้ารับบริการจากการเข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการใช้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จัดอบรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างประกอบและการใช้งานอุปกรณ์ระบบหลอดไฟ LED และระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติสำหรับ การเพาะปลูกดอกเบญมาศ
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างประกอบและการใช้งานอุปกรณ์ระบบหลอดไฟ LED และระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติสำหรับ การเพาะปลูกดอกเบญมาศ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/12/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน 2 ครั้ง ๆ ละ 40 คน ๆ ละ 200 บาท รวม 16,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 ครั้ง ๆละ 40 คน ๆละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท รวม 5,600 บาท
- ค่าจ้างเหมารถขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ (จ้างเหมารถ ไป-กลับ) 2รอบๆ ละ 2,000 บาท รวม 4,000 บาท
- จัดทำแผ่นพับ/ใบปลิว จำนวน 100 แผ่น ๆ ละ 3 บาท รวม 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 2 คน ๆละ 3.5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวม 4,200 บาท
ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน คนละ 4 ชั่วโมงๆละ 300 บาท รวม 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุเกษตร (ลวด เชือก ฯลฯ) จำนวน 3,800 บาท
- วัสดุไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ (สายไฟ /หลอดLED / หม้อแปลง) จำนวน 13,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล