11894 : ผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/12/2560 13:51:46
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/12/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพาพร  คำแดง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวลหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยการให้ความร้อนทางเคมีที่เรียกว่า ไพโรไรซิส (Pyrolysis) ผลผลิตที่ได้ขึ้นกับกระบวนการแยกสลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการแยกสลายอย่างช้า (Slow Pyrolysis) และอย่างเร็ว (Fast Pyrolysis) โดยการผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาทีผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (Bio-oil) 60% แก๊สสังเคราะห์ (Syngas) ได้แก่ H2, CO และ CH4 รวมกัน 20% และถ่านชีวภาพ 20% การใช้ประโยชน์ถ่านชีวภาพต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) คือถ่านทั่วไปจะใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่วนไบโอชาร์ที่ได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการกักเก็บคาร์บอนลงในดินและปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพ คือมีรูพรุนตามธรรมชาติเมื่อใส่ลงใน ดินจะช่วยการระบายอากาศ การซึมน้ำ การอุ้มน้ำ ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลดความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้เพิ่ม ผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับเกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์ส่วนท้องถิ่น น้ำส้มควันไม้ ได้จากการควบแน่นควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการเผาจะต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ น้ำส้มควันไม้จะมีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือนในที่ร่ม น้ำส้มควันไม้ที่ได้จะตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ) น้ำส้มควันไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่าง ๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ดับกลิ่นน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมและในครัวเรือน เป็นต้น จากประโยชน์ของถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยจะมีการศึกษา ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการในการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น แล้วนำถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตขึ้นได้ มาใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ย เพื่อช่วยเพิ่มธาตุคาร์บอนให้แก่ดิน ช่วยในการบำรุงดิน ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน และช่วยเร่งการเติบโตของพืช อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาหมอกควันและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเป็นตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มาผลิตเป็นพลังงานทางเลือก และอินทรีย์สารสำหรับเกษตรอินทรีย์
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบในการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การจัดอบรมเผยแพร่และให้ความรู้กับผู้สนใจการผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.08
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การจัดอบรมเผยแพร่และให้ความรู้กับผู้สนใจการผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาทำเอกสารฝึกอบรม 100 ชุด x 70 บาท = 7,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับ 100 ชุด x 3 บาท = 300 บาท
- ค่าจ้างเหมาทำโปสเตอร์ไวนิล 2 ชุด x 500 บาท x 5 แผ่น = 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 80 คน x 120 บาท x 1 มื้อ = 9,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน x 35 บาท x 2 มื้อ = 5,600 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 32,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 3 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท = 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุเกษตร เช่น ซังข้าวโพด เศษไม้สับย่อย = 18,000 บาท
- ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ถังเหล็ก, ท่อเหล็ก = 15,900 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์, แผ่นซีดี, ตัวเก็บข้อมูลภายนอก = 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล