11895 : การผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยลดการใช้สารเคมี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/12/2560 14:37:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/12/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หยาดฝน  ทนงการกิจ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การบริโภคอาหารที่สะอาด ปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อนย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาดูแลใส่สุขภาพกันมากขึ้น ดังนั้นแนวโน้มการผลิตอาหารปลอดภัยทั้งเพื่อบริโภคเองในครัวเรือนและจำหน่ายจึงมีสูงขึ้น เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ ผักผลไม้ปลอดสารพิษ รวมทั้งการใช้สารธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตอาหาร แต่อย่างไรก็ตามในท้องตลาดก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการแปรรูปอีกหลายชนิดที่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตเช่น เต้าหู้ เต้าหู้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ในกระบวนการผลิตเต้าหู้โดยทั่วไปจะทำโดยการนำถั่วเหลืองแช่น้ำทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมงหรือต้มให้เดือดเป็นเวลา 20-30 นาที จากนั้นทำการลอกเปลือกถั่วเหลืองออกแล้วนำไปปั่นในโถปั่นที่มีน้ำร้อนโดยใช้อัตราส่วน น้ำร้อน 10 ลิตรต่อถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม จากนั้นนำมากรองเพื่อแยกกากและเก็บส่วนที่เป็นน้ำถั่วเหลืองไว้ แล้วเติมสารแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าดีเกลือลงไปในอัตราส่วน 3% ของน้ำหนักถั่วเหลือง เพื่อทำให้โปรตีนตกตะกอน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นตักก้อนโปรตีนที่ตกตะกอนลงในแม่พิมพ์ที่มีผ้าขาวบางวางทับอยู่ จากนั้นห่อพับชายผ้าขาวบางแล้วนำแผ่นหินมาทับเพื่อทำการรีดน้ำออกจากก้อนเต้าหู้เป็นเวลา 30 นาที ก็จะได้ก้อนเต้าหู้ จากกระบวนการผลิตเต้าหู้จะเห็นได้ว่ามีการเติมสารเคมีลงไปเพื่อให้โปรตีนตกตะกอน ดังนั้นการรับประทานเต้าหู้มากและติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่นกลุ่มคนที่รับประทานอาหารเจ อาหารมังสวิรัติมักทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยการใช้น้ำส้มสายชูเพื่อทำให้โปรตีนตกตะกอนแทนการใช้สารเคมีจึงเป็นกระบวนการที่น่าสนใจและนำมาเผยแพร่ให้กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรและประชาชนได้ทราบ โดยกลุ่มดังกล่าวเมื่อผ่านการฝึกอบรม สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์กับตนเอง ครอบครัวและชุมชน และสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตขนาดย่อมเพื่อเป็นสินค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นที่เรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยการลดการใช้สารเคมี
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรมีการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยสำหรับบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้
เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การอบรมการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยการลดการใช้สารเคมี
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การอบรมการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยการลดการใช้สารเคมี
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตเต้าหู้ปลอดภัยโดยการลดการใช้สารเคมี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดฝน  ทนงการกิจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน คนละ 200 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 16,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 35 บาท จำนวน 80 คน รวมเป็นเงิน 2,800 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำเอกสารอบรม เล่มละ 70 บาท จำนวน 80 เล่ม เป็นเงิน 5,600 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำแม่พิมพ์ทำเต้าหู้ จำนวน 40 อัน อันละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำแผ่นป้ายไวนิล จำนวน 2 แผ่น แผ่นละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทำเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 4 เล่ม เล่มละ 200 บาทรวมเป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,100.00 บาท 16,100.00 บาท 0.00 บาท 32,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร
ภาคบรรยาย 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
ภาคปฏิบัติ 2 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 25 บาท วันละ 4 ชั่วโมง จำนวน 45 วัน รวมเป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,500.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสาร เช่น กระดาษ A 4 แฟ้ม ปากกา สมุด ฯลฯ = 6,900 บาท
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นส์ แผ่นซีดี ตัวเก็บข้อมูลภายนอก = 4,400 บาท
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถั่วเหลือง = 4,000 บาท
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หม้อสแตนเลส ถาดสแตนเลส ทัพพี กระบวย ถุงฟอล์ย ถุงมือพลาสติก กระดาษชำระ กระดาษฟอยล์ ถุงซิปใส = 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,400.00 บาท 11,400.00 บาท 0.00 บาท 22,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002 โครงการเต้าหู้ปลอดภัย
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล