11900 : อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตน้ำสมุนไพรที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/12/2560 15:03:49
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/12/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร กลุ่มชุมชน เยาวชน และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา  นาคประสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน คนไทยให้ความสนใจ และตื่นตัวในด้านการพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพรมากขึ้น และสามารถนำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์โดยเริ่มตั้งแต่สมัยโบราณใช้เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาพืชสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยอาศัยการปรุงแต่งรสชาติด้วยการเติมน้ำตาล หรือเกลือบ้าง เพื่อให้เกิดความอร่อยขึ้น อาทิ น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะนาว น้ำใบเตย น้ำตะไคร้ และน้ำใบบัวบก เป็นต้น ซึ่งเครื่องดื่มของไทยนั้นให้ทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ควบคู่กันไป คุณประโยชน์ที่กล่าวถึงคือ สรรพคุณทางยาที่ได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาเป็นเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามธรรมชาติรวมอยู่ด้วย จากกระแสความใส่ใจต่อสุขภาพ ทำให้คนไทยหันมาดื่มน้ำผักผลไม้หรือน้ำสมุนไพรกันมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย., 2551) ได้รายงานผลสำรวจ "น้ำผักผลไม้-น้ำสมุนไพร" ทั่วกรุงเทพฯ ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จำนวนมาก โดย "น้ำใบบัวบก" มีการพบเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนสูงเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มน้ำบรรจุปิดสนิท ขณะที่แบบตักขาย "น้ำสำรอง" พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ 100% จากสถานการณ์ “น้ำผักผลไม้ และน้ำสมุนไพรมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน” นี้ทำให้ทราบว่าผู้ผลิตขาดความรู้ ความเข้าใจในการบวนการผลิตน้ำผลไม้และน้ำสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะ จึงมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในทุกช่วงการผลิต โดยเฉพาะหลักการผลิตและการวางจำหน่ายจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์มาก เนื่องจากไม่มีกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ดังนั้น คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตน้ำสมุนไพรในท้องถิ่นที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ผู้บริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรมีความปลอดภัยจากอันตรายที่ปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านได้ฝึกการผลิตน้ำสมุนไพรที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งยังมีรายได้เสริมจากงานหลักที่ทำอยู่ช่วยยกระดับฐานะทางการเงินของครอบครัวให้ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดและรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้านอีกทางหนึ่งด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตน้ำสมุนไพรที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงการมีรายได้เสริมจากความรู้ที่ได้รับ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตน้ำสมุนไพรที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตน้ำสมุนไพรที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตน้ำสมุนไพรที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน คนละ 100 บาท จำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 35 บาท จำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 1,750 บาท
- ค่าจ้างเหมาผู้ปฏิบัติงานเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต หาสูตรของน้ำสมุนไพร เพื่อกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา จำนวน 100 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 180 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าเอกสารประชุม เล่มละ 70 บาท จำนวน 60 เล่ม เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 28,950.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,950.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร
ภาคบรรยาย 2 คน จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง รวมเป็นเงิน 4,800 บาท
ภาคปฏิบัติ 2 คน จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าจ้างนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน วันละ 200 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุสำนักงาน ค่าถ่ายเอกสาร เช่น กระดาษ A 4 แฟ้ม ปากกา สมุด ฯลฯ 3,250 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร สมุนไพร เช่น ฝาง ตะไคร้ ฯลฯ 5,000 บาท
- วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น หม้อสแตนเลส ถาดสแตนเลส ทัพพี กระบวย ถุงฟอล์ย ถุงมือพลาสติก กระดาษชำระ กระดาษฟอยล์ ถุงซิปใส บรรจุภัณฑ์ (ขวด+ฝา) 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 13,050.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,050.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล