11906 : ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพในระดับอุตสาหกรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายไพบูลย์ โพธิ์ทอง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/12/2560 9:53:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย 1) กลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ 2) กลุ่มเกษตรกร 3) หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคธุรกิจ 4) ผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ไพบูลย์  โพธิ์ทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ  ตันโช
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ผู้ประกอบการไทยหลายรายให้ความสนใจการทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคเป็นอย่างมากนับแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ทำให้เกษตรอินทรีย์ไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการสำรวจของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท ในปี 2553 พบว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของประเทศซึ่งมีอยู่ 131.27 ล้านไร่ และมีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ 7,405 ฟาร์มจากฟาร์มทั้งหมดในประเทศ 5,100,000 แห่ง จากข้อมูลนี้พบว่าแม้จะมีกระแสความต้องการเกษตรอินทรีย์และการเพิ่มขึ้นของพื้นที่อินทรีย์ดังกล่าว แต่แปลงอินทรีย์ส่วนใหญ่ในประเทศยังเป็นแปลงขนาดเล็ก และความเป็นจริงเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยยังไม่ก้าวหน้าพึ่งจะแค่เริ่มต้นเท่านั้นเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในสหภาพยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย หรือ ญี่ปุ่น ในขณะที่ประเทศไทยนั้นสามารถทำเกษตรได้ตลอดปีจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวยรวมทั้งมีระบบชลประทานที่ดีพอสำหรับการเกษตร มีปริมาณชีวมวลที่ได้จากพืช สัตว์ ประมง และจากป่าไม้ ในปริมาณที่มากพอต่อการนำมาใช้เพื่อผลิตปุ๋ยปรับปรุงดินเพื่อเกษตรอินทรีย์ แต่เราขาดองค์ความรู้ และการจัดการที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน ซึ่งเป็นระยะที่เกษตรกรจำนวนมากล้มเลิกก่อนเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง เนื่องจากก้าวผ่านข้อจำกัดที่สำคัญยิ่งไม่ได้นั่นคือการทำเกษตรอินทรีย์ในดินเสื่อมโทรมจะต้องลงทุนด้านแรงงานการปรับปรุงดินสูงถึงร้อยละ 36 และค่าวัสดุบำรุงดินร้อยละ 35 ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากในขณะที่การปลูกพืชอินทรีย์ระยะเริ่มแรกจะได้ผลผลิตน้อยคุณภาพผลผลิตต่ำไม่สม่ำเสมอ และไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลผลิตอินทรีย์ได้ในระยะปรับเปลี่ยน 1-3 ปีแรก (ศุภชัย และคณะ, 2550) เพื่อให้องค์ความรู้และเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกสู่สังคมเกษตรอินทรีย์ในวงกว้างโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีการเกษตรและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเกษตรของไทยมีความตระหนักถึงสถานการณ์ของการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยและต้องการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์มากขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่รวมถึงการสร้างความยั่งยืนของการทำเกษตรอินทรีย์และความเป็นผู้นำด้านการเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งฐานเรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมาตรฐาน IFOAM ในระดับอุตสาหกรรม จะเป็นต้นแบบแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะอินทรีย์ขนาดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนตำบล และเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์รายใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะสามารถพึ่งพาดูแลตนเองต่อไปได้แม้เมื่อจบโครงการแล้ว หน่วยงานเกษตรอินทรีย์ของชุมชนและผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์จะสามารถต่อยอดจากต้นแบบที่ได้รับการถ่ายทอดไปสู่การสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขึ้นทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร หรือ IFOAM ได้เพื่อใช้จำหน่ายแก่กลุ่มในจังหวัดเชียงใหม่ หรือภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้จะเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของชุมชนเกษตรอินทรีย์ หรือผู้ประกอบการอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีไปใช้หรือจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในราคาถูกในช่วงปรับเปลี่ยนการเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยของบุคลากรและนักศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ในระดับอุตสาหกรรม
2. เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ในระดับอุตสาหกรรม ให้กับนักศึกษา เกษตรกร หน่วยงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพในระดับอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กร ที่รับบริการวิชาการ และวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้ารับริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละของโครงการบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 5 : จำนวนผูเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 500
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายการบริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.1
ผลผลิต : 2. แผ่นพับองค์ความรู้สำหรับเป็นข้อมูลแก่ผู้เข้าศึกษาดูงาน
KPI 1 : แผ่นพับองค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แผ่น 1000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพในระดับอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ
ชื่อกิจกรรม :
ค่าจ้างเหมาปฎิบัติงาน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายไพบูลย์  โพธิ์ทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
(จำนวน 1 คน 7 เดือนๆละ 7,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 49,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดซื้อวัสดุในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2561 - 30/03/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายไพบูลย์  โพธิ์ทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
1. กากเห็ดจำนวน 10 ลำๆละ 500 บาท
2. มูลวัว จำนวน 700 กระสอบๆละ 25 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
1.ผ้าปิดจมูก 10 กล่องๆละ 100 บาท
2.ถุงมือยาง 10 กล่องๆละ 100 บาท
3.เจลแอลกอฮอร์ล้างมือ 3 กล่องๆละ 1000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
1.กระดาษ A4 จำนวน 7 กล่องๆละ 500 บาท
2.แฟ้มสอด จำนวน 10 ห่อๆละ 100 บาท
3.แฟ้มเก็บเอกสาร จำนวน 10 อันๆละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
1.หมึกปริ้น จำนวน 3 ชุดๆละ 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49000.00
ผลผลิต : 2. แผ่นพับองค์ความรู้สำหรับเป็นข้อมูลแก่ผู้เข้าศึกษาดูงาน
ชื่อกิจกรรม :
จัดพิมพ์แผ่นพับองค์ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายไพบูลย์  โพธิ์ทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
(จำนวน 1,000 แผ่นๆละ 2 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล