11954 : การพัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเพื่อการค้า ในเขตพื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายธนภัทร เย็นมาก (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/12/2560 9:59:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษาฝึกงาน เกษตรกรและผู้สนใจด้านการผลิตมะม่วงในระบบอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ธนภัทร  เย็นมาก
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นเป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2559-2564) ที่ต้องการเพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ จาก 200,000 ไร่ (ในปี 2558) เป็น 5.1 ล้านไร่ ในปี 2559 จากการสำรวจข้อมูลโดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท1 พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 235,523.35 ไร่ ในปี พ.ศ. 2557 เป็น 284,918.44 ไร่ ในปี พ.ศ. 2558 (เพิ่มขึ้น 20.97%) ในส่วนของจำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในช่วงเวลาดังกล่าวก็ขยับเพิ่มขึ้นจาก 9,961 ฟาร์มในปี พ.ศ. 2557 เป็น 13,154 ฟาร์ม ในปี พ.ศ. 2558 (http://www.greennet.or.th) ผลที่ตามมาก็คือเกษตรกรบางส่วนเริ่มให้ความสำคัญต่อการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศยังต้องพึ่งปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืชและป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคและแมลง และมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณการใช้ในทุกๆปี โดยเปรียบเทียบจากปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติพบว่า ปี 2554 มีการนำเข้าปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช 5,639,392 และ 164,538 ตัน คิดเป็นมูลค่า 80,297 และ 22,070 ล้านบาท และต่อมาในปี 2559 มีการนำเข้าปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชจำนวน 4,882,923 และ 160,824 ตัน คิดเป็นมูลค่า 49,301 และ 20,618 ล้านบาท (www.oae.go.th) ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการผลิตพืชของไทยในปัจจุบันยังต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ ซึ่งถ้ามองในแง่ของการช่วยให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ก็ถือว่ายังไม่มีสิ่งใดมาตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในจุดนี้ได้ แต่ถ้ามองในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานตลอดจนผู้บริโภคแล้วก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ถึงผลกระทบดังกล่าว แต่ปัญหาอยู่ที่เกษตรกรเองยังมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยการผลิตดังกล่าวประกอบกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่เงินเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ลืมนึกถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว การผลิตไม้ผลเพื่อการค้าในระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช และการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อำเภอพร้าวจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเป็นอันดับต้นๆของจังหวัด ซึ่งเกษตรกรจะมีการใช้สารเคมีภายในพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง และใช้กันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลทำให้ต้นทุนในการผลิตมะม่วงสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงในด้านสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร จากการได้รับสารพิษจากเคมีภัณฑ์ ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นมะม่วงที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศและในประเทศ และในแต่ละปีสามารถทำรายได้ให้กับจังหวัดเชียงใหม่หลายร้อยล้านบาท กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ที่ต้องเร่งส่งเสริมการผลิตอย่างจริงจังและมีคุณภาพ เพื่อขยายตลาดส่งออกให้เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการติดต่อเจรจาการค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดยตรง โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ AEC และมะม่วงถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งเพาะปลูกแหล่งใหญ่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ ที่มีการผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งทั้งจังหวัดมีพื้นที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกจำนวนมากกว่า 55,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่การปลูกใน 10 อำเภอ คือ พร้าว ฝาง ไชยปราการ เชียงดาว เวียงแหง แม่แตง แม่วาง ดอยหล่อ ดอยเต่า แม่ออน โดยอำเภอที่ปลูกมากที่สุดคือ พร้าว เชียงดาว ในภาพรวมของพื้นที่ปลูกทั้งหมดมีผลผลิตราว 71,000 ตันต่อปี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรใน 10 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ได้มากมาอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยต่อปี 700-1,000 ล้านบาท โดยขณะนี้สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่างการพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะม่วงปลอดสารพิษเพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ใส่ใจในเรื่องอาหารสุขภาพแบบออร์แกนิกมากขึ้น จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของประเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ผลผลิตมีคุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยสมาชิกของกลุ่มจำนวน 42 ราย มีสัดส่วนพื้นที่ปลูกมะม่วงอยู่ในอำเภอแม่แตงราว 1,200 ไร่ และพื้นที่อำเภอโดยรอบอีกราว 600 ไร่ เป็นเกษตรกรเจ้าของสวนที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกมีสัดส่วนราว 70-80% ไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตะวันออกกลาง และมาเลเซีย โดยมีพ่อค้าชาวจีนมาเปิดรถตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองถึงหน้าสวนกับวิสาหกิจชุมชนโดยตรงมีจุดรับซื้อหลักคืออำเภอพร้าวแม่แตง (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์) ดังนั้นสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีพื้นที่ในเขตอำเภอพร้าว จำนวน 10 ไร่ ที่จัดสรรไว้สำหรับการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองที่เหมาะสมในการสร้างเป็นแปลงสาธิตการผลิตไม้ผลอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ประกอบกับสำนักฟาร์มฯมีหน้าที่หลักในการให้บริการวิชาการแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ รวมทั้งในแต่ละปีได้รับนักศึกษาจากหลายสถาบันเพื่อเข้ารับการฝึกงาน สำนักฟาร์มจึงจัดตั้งแปลงต้นแบบเพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงอินทรีย์จึงเป็นแนวทางที่ควรผลักดัน ให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร นักศึกษา ชุมชนต้นแบบ ตลอดจนเป็นสถานที่ในการฝึกอบรมเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการส่งออก ทั้งนี้ในพื้นที่อำเภอพร้าวยังมีความพร้อมของผู้ประกอบการด้านการส่งออกผลไม้ (ลำไยและมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง) ที่จะสร้างโอกาสให้แก่เกษตรกรและชุมชน จะทำให้เกิดการนำแนวคิดและความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองจนขยายผลไปสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะชนต่อไป สภาพปัญหา - ความต้องการ ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการการพัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า ในเขตพื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ความเร่งด่วน - พัฒนาต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า ในเขตพื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ - จัดทำแหล่งเรียนรู้ของ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและผู้สนใจด้านการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อการค้า แนวทางการดำเนินงาน - จัดทำพื้นที่เพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจศึกษาดูงาน รวมถึงนักศึกษาที่ต้องการมาฝึกประสบการณ์ด้านการผลิตไม้ผล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
๑ เพื่อเป็นต้นแบบการผลิตมะม่วงอินทรีย์เพื่อการค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสามารถลดต้นทุนการผลิต ๒ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานทางด้านมะม่วงอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และ นักศึกษาฝึกงาน ๓ เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการผลิตอาหารอินทรีย์ที่สามารถบูรณาการเชื่อมโยงสู่โครงการอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : จำนวนผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ตัน 2.5
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 7 : พื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ไร่ 10
KPI 8 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมพื้นที่แปลงมะม่วงเพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายธนภัทร  เย็นมาก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
สาธิตวิธีการผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เช่นการการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และการป้องกันศัตรูพืช
- ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช
- ห่อผลมะม่วงด้วยถุงคาร์บอน
- เก็บผลผลิตมะม่วง
- ตัดแต่งกิ่งมะม่วง
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายธนภัทร  เย็นมาก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าปุ๋ยอินทรีย์ 100 กระสอบๆละ 350 บาท เป็นเงิน 35,000 บาท
- ค่าถุงห่อมะม่วง 18,000 ถุงๆละ 1.50 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
- ค่าสารชีวภัณฑ์ 36 กระป๋องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
18,000.00 บาท 41,000.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดงบประมาณสนับสนุน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากทางมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล