11994 : โครงการ การผลิตปุ๋ยอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์มาสำหรับระบบเกษตรอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปรัชวัน อ่อนคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/12/2560 17:16:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  มหาวิทยาลัยแม่โจ้, กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ 31 กลุ่มของจังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มเกษตรกรต่างๆ จำนวน 150 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 2561 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภธิดา  อ่ำทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การผลิตปุ๋ยชีวภาพอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าไม่สามารถเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เนื่องจากเป็นเชื้อราที่เจริญได้โดยต้องอาศัยอยู่ในรากพืช การผลิตจึงต้องอาศัยพืชเพื่อให้ไมคอร์ไรซาเจริญเติบโต และขยายจำนวนสปอร์ วิธีการผลิตจึงทำได้โดยวิธีปลูกพืชทั้งในกระถาง ซึ่งเรียกว่า Pot culture หรือในแปลงยกร่องสูง การจะผลิตในแปลงจะต้องผลิตในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อจะสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนต่อเชื้อที่ผลิตขึ้นได้ วิธีการผลิตจะสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก แต่จะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาพืชอาศัย ในการขยายปริมาณเชื้อจะต้องใช้พืชอาศัย (Host) ต่างชนิดกับพืชที่จะปลูกในไร่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อบางชนิดได้ อาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (Arbuscular Mycorrhizal Fungi) เป็นเชื้อราที่มีประโยชน์ทางการเกษตรโดยมีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับฟอสฟอรัสให้พืช ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตและสามารถใช้กับพืชได้หลายประเภท เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ การใช้เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา เป็นการจัดการดินและปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชที่ตอบสนองต่อการขาดธาตุฟอสฟอรัส (P) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพื่อให้เกิดการใช้เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาแต่ละชนิดให้แพร่และเกษตรกรได้รับประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยหมักผสมสปอร์เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาชนิดนี้ เพราะปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดยังถือว่ามีราคาสูงเกินไป อีกทั้งการผลิตปุ๋ยหมักผสมสปอร์เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซายังไม่แพร่หลายเนื่องจากเหตุผลเพราะการผลิตมีความยุ่งยากดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นถ้ามีการส่งเสริมความรู้ทั้งในด้านการผลิต และการใช้ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักร่วมกับดินหัวเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาจะทำให้ลดต้นทุนการให้ปุ๋ยได้อย่างมาก การส่งเสริมให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นจึงเป็นแนวทางทำให้ประโยชน์ของปุ๋ยหมักผสมสปอร์เชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาเป็นรูปธรรม กลุ่มราไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์หรือมีความสามารถในการเข้าทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินหลายชนิด ลักษณะเด่นของราไตรโคเดอร์มามีการเจริญหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ได้อย่างรวดเร็วในอาหารเลี้ยงเชื้อ หรือในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่มีระดับอินทรียวัตถุในดินมาก จึงกล่าวได้ว่าราไตรโคเดอร์มามีความสามารถในการช่วยย่อยสลายอินทรียสารในดินโดยการสร้างน้ำย่อยเซลลูโลส โปรตีน และไขมัน รวมถึงสารประกอบฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงมีผลทางอ้อมต่อการเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์สำหรับปรุงปรุงโครงสร้างดินด้วย และประการสำคัญราไตรโคเดอร์มาสามารถดำรงชีพอยู่ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ชนิดอื่นได้ และทำหน้าที่ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ราไตรโคเดอร์มาจะดำรงชีพได้ดีและมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นมากในสภาพดินที่อินทรียวัตถุสูง สามารถทนต่อสภาพดินกรดได้ดี และมีความทนทานต่อสภาวะที่มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชด้วย การที่ดินมีการใส่ปุ๋ยเคมีและการสะสม N, P และ K อยู่ในดินจะส่งเสริมการโรคพืชและศัตรูพืช ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการสะสมของโรคพืชในดิน จึงควรมีวิธีการใช้ดินเพื่อการเพาะปลูกให้เหมาะสมการเพิ่มอินทรียวัตถุและการจัดการเพื่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพิ่มขึ้นเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เชื้อสาเหตุโรคพืชถูกยับยั้งโดยการมีการแข็งขันกันในเรื่องของอาหาร Boulter et al. (2000) ได้ศึกษากระบวนการพัฒนาและผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักในการยับยั้งการเกิดโรคในหญ้าสนาม จากการพิจารณาสมบัติต่างๆของปุ๋ยหมักที่ได้เช่นสมบัติทางกายภาพและเคมีต่างๆ เช่น อุณหภูมิ การระบายอากาศ ความชื้น อัตราส่วนของ C:N และ pH จะส่งผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะในกลุ่ม mesophilic ซึ่งจะมีผลต่อการยับยั้งการจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืชได้ด้วย ถึงแม้ว่ากลไกในการยับยั้งยังไม่เป็นที่เข้าใจในเวลานี้ นอกจากนี้สมบัติฟิสิกส์เคมีของปุ๋ยหมักเป็นปัจจัยสำคัญในการยับยั้งการเกิดโรคพืชด้วย หรือเป็นผลทางอ้อมโดยส่งผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช สร้างโครงสร้างของดิน ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศที่ดี และเพิ่มความสามารถในการเก็บน้ำของดินเพื่อเป็นประโยชน์กับพืชต่อไป สำหรับบทบาทของเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าที่ที่อาศัยอยู่ในรากพืชโดยเป็นระบบพึ่งพาซึ่งกันและกันกับพืชอาศัย โดยสามารถเพิ่มความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในพืช ซึ่งอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าช่วยพืชดูดและสะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โพแทสเซียม แคลเซียม และธาตุอื่นอีก ซึ่งธาตุเหล่านี้อาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าจะดูดไว้และสะสมไว้ในราก โดยเพิ่มพื้นที่ของผิวรากที่สัมผัสกับดินทำให้เพิ่มเนื้อที่ ในการดูดอาหารธาตุของรากมากขึ้น การนำอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่ามาใช้ร่วมกับพืชเพื่อ เพิ่มผลผลิตให้กับพืชได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินที่มีคุณสมบัติตรึงอาหารฟอสฟอรัสได้ดี หรือดินมีฟอสฟอรัสต่ำ สำหรับบทบาทการควบคุมโรคพืชการศึกษาของ Arriolar และคณะ (2000) ได้รายงานผลของการใช้เชื้อ Trichoderma harzianum ร่วมกับเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าสามารถช่วยลดการเกิดโรคเน่าในหน่อไม้ฝรั่งในระยะกล้าที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของ (Wacker et al.1990) นอกจากนี้ยังพบในมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.) มันฝรั่ง(Solanum tuberosum L.) จาการรายงานพบว่า ectomycorrhiza fungi บางชนิดมีความสามารถทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ โดย Linderman (2000) ได้รายงานการใช้ AMF มีความสามารถในการทำให้พืชอาศัยมีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้นโดยจากหลายเหตุผล ได้แก่ส่งเสริมพืชอาศัยมีการดูดใช้ธาตุอาหารเพิ่มขึ้น(enhanced nutrition) การแข็งขันในเรื่องธาตุอาหารและการเข้าสู่รากพืช (competition for nutrients and infection sites) การทำให้สัณฐานของรากเกิดการเปลี่ยนแปลง (morphological changes) เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเนื้อเยื่อพืช (changes in chemical constituents in plant tissues๗ การสร้างสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรค (alleviation of abiotic stress) และมีการเปลี่ยนแปลงชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ในบริเวณที่มี AMF (microbial changes in the mycorrhizosphere)ซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้อาจจะใช้เป็นการอธิบายได้ดีที่สุด แต่ยังมีข้อมูลในส่วนนี้ไม่มากนัก ซึ่งมีการรายงานว่า AMF จะเป็นปฏิปักษ์ (antagonists)กับเชื้อสาเหตุโรครากพืช ดังนั้นการใช้ AMF จึงมีศักยภาพในการควบคุมโรคพืชในทางเกษตรได้ Sharma et al. (1992) ได้รายงานเมื่อ AMF อาศัยร่วมกับรากพืชนั้นสามารถที่จะสารอินทรีย์ที่ขับออกมาจากรากพืชเพิ่มขึ้น 25% และ AMF สามารถเปลี่ยนแปลงการขับสารอินทรีย์ดังกล่าว ส่งเสริมการสลายของสารไคติน ตลอดจนเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์แสงและการหายใจ (ลดลง) นอกจากนี้ AMF ยังสามารถต้านทานจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืชจากดินและใบโดยผ่านกลไกหลายประการเช่น กำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช สารสร้างลิกนินให้กับผนังเซล (lignification) พืชมีการดูดใช้ฟอสเฟตเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้รูปแบบการขับสารอินทรีย์ของพืชเปลี่ยนแปลง และมีการสร้างสารอินทรีย์โมเลกุลต่ำที่มีสมบัติยังยั้ง (inhibitory) โรคพืช ดังนั้น การจัดการดินสำหรับการใช้ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของความอุดมสมบูรณ์ของและผลิตภาพของดิน ตลอดจนลดการสะสมของธาตุอาหารซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุการโรคพืชต่างๆ ตามมา จึงมีแนวคิด การใส่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชโดยใช้ค่าวิเคราะห์ดินเพ่อวางแผนการจัดการธาตุอาหารสำหับพืชชนิดนั้นร่วมกับความต้องการธาตุอาหารของพืชประกอบด้วย นอกจากนี้ การจัดการดินอื่นที่นำมาใช้ผสานกับการศึกษาครั้งนี้ จะใช้บทบาทของอินทรียวัตถุในดินและปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เพื่อสร้างสภาพหรือสิ่งแวดล้อมในดินเพื่อให้สภาพดินมีความเหมาะสมทั้งในด้านเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยาของดินซึ่งจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทำหน้าที่ที่มีประโยชน์ รวมทั้งอาจจะเป็นปฏิปักษ์ต่อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช สำหรับบทบาทของอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า เป็นเชื้อราที่เป็นที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอาศัยและอาจจะมีบทบาทการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อผลิตหัวเชื้อไตรโครเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีศักยภาพการดูดซับฟอสฟอรัสในระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อผลิตหัวเชื้ออาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในรูปของสปอร์และหัวเชื้อดินอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เพาะขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา
KPI 1 : หัวเชื้อไตรโครเดอร์มา 1 สายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 กิโลกรัม 100
ผลผลิต : เพาะขยายเชื้อราไมคอร์ไรซา
KPI 1 : หัวเชื้อไมคอร์ไรซา 5 สายพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 กิโลกรัม 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เพาะขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : เพาะขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานด้านเพาะขยายเชื้อและเก็บตัวอย่างเชื้อไตรโคเดอร์มาและไมคอร์ไรซา
-จำนวน 9 เดือนๆ ละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 225000.00
ผลผลิต : เพาะขยายเชื้อราไมคอร์ไรซา
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : เพาะขยายเชื้อราไมคอร์ไรซา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา  อ่ำทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 75000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เกิดการปนเปื้อนของเชื้อในการเพาะขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาและไมคอร์ไรซา
สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน อาจมีผลทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและไมคอร์ไรซาตายได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปฏิบัติการในตู้ปลอดเชื้อ
มีการวางแผนการทำงานและมีการจัดการและควบคุมสถานที่ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล