12036 : โครงการการพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/8/2561 9:00:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/01/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.5. สร้างระบบและกลไกในการผลักดัน และสนับสนุนให้บุคลากรที่มีผลงานบริการวิชาการเข้าถึงตำแหน่งทางวิชาการรับใช้สังคม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย
เป้าประสงค์ 1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ
ตัวชี้วัด 3.3 จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความร่วมมือด้านการบริการวิชาการร่วมกับชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากนโยบายแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ในเรื่องของการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมทักษะกระบวนการทางภาษาให้มีขีดความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญในการมุ่งเน้นการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาความรู้ในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะครูและบุคลากรทางการศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสาขาที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องอยู่เสมอ และปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีความเป็นนานาชาติ จากนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่ต้องการยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของคนไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับภาวะการค้าการลงทุน การเชื่อมโยงระหว่างประเทศและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนที่กำหนดให้ “ภาษาอังกฤษ” เป็นภาษากลางในการสื่อสาร ทางรัฐบาลจึงได้ออกนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเน้นกรอบมาตรฐานสากลซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นไปที่การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching: CLT) ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) มากกว่านั้นจังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดที่เป็นประตูสู่เขตล้านนาตะวันออกและมีรอยต่อกับพื้นที่จังหวัดน่านซึ่งเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว และจังหวัดแพร่ไม่มีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ดังนั้นการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาโดยการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนทางด้านภาษาอังกฤษ ให้มีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอาเซียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นบุคลากรทางด้านภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาครูผู้สอนทางด้านภาษาอังกฤษ ให้มีความรู้ทันต่อความก้าวหน้าในศาสตร์นี้อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีในการเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพและยกระดับการศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อันเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้าน บุคลากรและสิ่งสนับสนุนอื่นๆ ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางด้านภาษาอังกฤษในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างครูผู้สอนในกลุ่มสาระทางด้านภาษาอังกฤษในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ในทุกระดับชั้นของพื้นที่จังหวัดแพร่ สามารถการจัดการเรียนการสอนทางด้านภาษาอังกฤษได้อย่างชำนาญและถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในจังหวัดแพร่ มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาโดยอิงกรอบ CEFR
2. เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในจังหวัดแพร่ มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อให้เกิด กระบวนการการเรียนรู้ด้านการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยอิงกรอบ CEFR
3. เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในสาขาทางด้านภาษาอังกฤษระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในกลุ่มสาระภาษาอังกฤษในทุกระดับชั้นภายในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 70
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 50000
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/01/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 55 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จำนวน 55 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 3,500 บาท
4. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะ) เป็นเงิน 4,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
6. ค่าที่พักสำหรับวิทยากร จำนวน 1 คิน ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,550.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (หน่วยงานภาครัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (มิใช่หน่วยงานภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 7.7 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 9,200 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฎิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,850 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,850.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล