12046 : แปลงสาธิตการผลิตมะม่วงอินทรีย์เพื่อการค้า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายสถาพร ฉิมทอง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/1/2561 14:52:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  นักศึกษาต่างสถาบันเข้ารับการฝึกงานตลอดจนองค์กรและเกษตรกรที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย สถาพร  ฉิมทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.4 จำนวนผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และตอบสนองความต้องการของตัวเองในทุกๆด้าน ภาวะดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะในสังคมเมืองเท่านั้น แต่ยังขยายวงกว้างสู่สังคมภายรอบนอกซึ่งก็คือสังคมที่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักนั่นเอง ภาวะเช่นนี้ส่งผลให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป จากที่เคยทำการเกษตรเพื่อบริโภคภายในครอบครัวหรือมีผลผลิตเหลือจากการบริโภคค่อยนำมาจำหน่าย กลับกลายมาเป็นทำเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นเนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวเป็นตัวกำหนด จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้มีพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้น ความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูกมากขึ้นรวมทั้งมีความถี่ในการผลิตที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในดินก็ถูกใช้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว พื้นที่เพาะปลูกที่ไม่มีการพักดินก็เป็นแหล่งสะสมของโรคพืช รวมถึงวงจรการผลิตที่ไม่มีการเว้นช่วงก็เป็นการเปิดโอกาสให้แมลงศัตรูพืชขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาก็คือเกษตรกรต้องหันมาพึ่งปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืชและป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคและแมลง และมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณการใช้ที่มากขึ้นในทุกๆปี โดยเปรียบเทียบจากปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติพบว่า ปี ๒๕๕๒ มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี ๓,๘๓๓.๐๗๒ ตัน มูลค่า ๔๒,๖๖๖ ล้านบาท และต่อมาในปี ๒๕๕๖ มีการนำเข้าปุ๋ยเพิ่มขึ้นเป็น ๕,๖๓๘.๘๙๑ ตัน มูลค่า ๗๒,๒๕๙ ล้านบาท และในส่วนของสารกำจัดวัชพืช,โรค-แมลง พบว่า ปี ๒๕๕๑/๒๕๕๕ นำเข้า ๑๐๙,๙๖๙/๑๓๔,๔๘๐ ตัน (www.oae.go.th) ค้นเมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการผลิตพืชของไทยในปัจจุบันยังต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ และมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสภาวะดังกล่าวส่งผลให้ประชากรของประเทศเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนค่อนข้างสูง โดยในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมาพบอัตราการป่วยจากโรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำและอาหารที่ไม่สะอาดปีละประมาณ ๒ ล้านราย ขณะเดียวกันการป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี ๒๕๔๙ พบผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวถึง ๖๐,๐๐๐ ราย (www.thailabonline.com) ค้นเมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จากสถิติดังกล่าวถ้ามองในแง่ของการช่วยให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ก็ถือว่ายังไม่มีสิ่งใดมาตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในจุดนี้ได้ แต่ถ้ามองในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานตลอดจนผู้บริโภคแล้วก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ถึงผลกระทบดังกล่าว แต่ปัญหาอยู่ที่เกษตรกรเองยังมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยการผลิตดังกล่าวประกอบกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่เงินเป็นปัจจัยที่ ๕ ในการดำรงชีวิต ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ลืมนึกถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว ดังนั้นสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีความต้องการสร้างแปลงสาธิตการผลิตไม้ผลอินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ประกอบกับสำนักฟาร์มฯมีหน้าที่หลักในการให้บริการวิชาการแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ รวมทั้งในแต่ละปีได้รับนักศึกษาจากหลายสถาบันเพื่อเข้ารับการฝึกงาน การที่ทางสำนักฟาร์มจะจัดตั้งแปลงต้นแบบเพื่อสาธิตการผลิตมะม่วงอินทรีย์จึงเป็นแนวทางที่ควรผลักดัน เพราะเมื่อนับรวมผู้เข้าศึกษาดูงานและนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกงานในแต่ละปี ก็จะสามารถนำแนวคิดและความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองจนขยายผลไปสู่การเผยแพร่ต่อสาธารณะชนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาต้นแบบการผลิตมะม่วงอินทรีย์และสามารถลดต้นทุนการผลิต เพื่อการค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ๒. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และ นักศึกษาฝึกงาน ด้านเกษตรอินทรีย์ ๓. เพื่อพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ (Organic Education Hub) เป็นแหล่งจัดหารายได้อย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การบริการวิชาการ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลผลิตมะม่วงอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ตัน 20
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 200
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : แปลงต้นแบบการผลิตมะม่วงอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 แปลง 1
KPI 8 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.08
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การบริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บผลผลิต ตัดหญ้า กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเตรียมให้ปุ๋ย ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์กำจัดโรคและแมลง ห่อผลและเก็บผลผลิต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายสถาพร  ฉิมทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ประเภทวัสดุเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผง 250 กระสอบๆละ 320 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่สามารถให้น้ำให้ปุ๋ยได้ในฤดูแล้งเนื่องจากไม่มีระบบน้ำภายในแปลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอรับงบประมาณสนับสนุนการวางระบบน้ำจากมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล