12047 : โครงการขยายผลการผลิตพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปรัชวัน อ่อนคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/1/2561 9:32:04
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  101303  คน
รายละเอียด  เกษตรกร, นักศึกษา, คณาจารย์, นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป จำนวน 101,303 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 2561 2,967,400.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฉันทนา  วิชรัตน์
นาง นงลักษณ์  ปูระณะพงษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ความต่อเนื่องของโครงการขยายผลการผลิตพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (2557-2560) ก่อให้เกิดการวางรากฐานระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ระบบการบริหารจัดการแปลงอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การจัดการดินเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ทั้งในสภาพแปลงเปิดและในสภาพโรงเรือน การเพาะกล้า การอนุบาลต้นกล้า การปลูก การดูแลรักษา การควบคุมป้องกันกำจัดโรคแมลง การเก็บเกี่ยว การลดความชื้น การทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ การทดสอบคุณภาพเมล็ด การบรรจุ การเก็บรักษา โดยมีพืชผักที่สามารถผลิตเมล็ดได้มากกว่า 20 ชนิด อีกทั้งได้ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการ โดยการทดสอบระบบการจัดจำหน่าย การคำนวณต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งพบว่ามีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาสู่การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีให้บริการ(จำหน่าย) แก่เกษตรกรผู้ผลิตผักสดอินทรีย์ทั้งในระบบอุตสาหกรรมผักสด และการผลิตผักสดของเกษตรกรทั่วไป ซึ่งพบว่ามีความต้องการเมล็ดพันธุ์สูงมาก แต่อย่างไรก็ตามระบบการบริหารจัดการด้านการตลาดเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ เป็นงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ร่วมกับศาสตร์ด้านการตลาด ซึ่งต้องมีมืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการ ในปีงบประมาณ 2560 ทางโครงการได้จัดทำการทดสอบการจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์โดยการผลิตของโครงการและจัดจำหน่ายโดยเอกชน ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปี (2560-2561) การดำเนินการดังกล่าวนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนในโครงการนี้ สำหรับในปี 2561 นั้น นอกจากการต่อยอดสู่ความยั่งยืนตามที่กล่าวมาแล้ว โครงการฯ จะดำเนินการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย 1. กิจกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการนี้เป็นโครงการเดิมที่จะต้องมีความต่อเนื่องยาวนานตลอดไป โดยมีพื้นที่ในการผลิต 5 ไร่ มีกระบวนการการผลิตอย่างครบถ้วน เป็นสถานที่ต้นแบบในการเรียนรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ แก่ นักศึกษา นักวิชาการ เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งในแต่ละปีที่ผ่านมาจะมีผู้มาใช้บริการมากกว่า 1,000 คน สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ 1) การรักษาระบบการบริหารจัดการงานด้านเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ เพื่อการบริการให้กับนักศึกษาเกษตรกร นักวิชาการและประชาชน 2) ผลพลอยได้จากการดำเนินการ สามารถสร้างรายได้ เพื่อใช้การบริหารจัดการในอนาคต หลังการจบสิ้นโครงการ 3) เป็นสถานที่เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. กิจกรรมการจัดโครงการฝึกอบรม เนื่องจากในระยะเวลาตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาทางโครงการได้จัดอบรมโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ายังไม่พอเพียงกับความต้องการและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นในปี 2561 จึงได้จัดเพิ่มการอบรมดังกล่าวขึ้นอีก โดยมีการแบ่งประเภทผู้เข้ารับการอบรมให้มีความชัดเจน ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มประชาชนทั่วไป สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ 1) เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ได้ในระดับหนึ่ง 3) นักวิชาการที่เข้ารับการอบรมสามารถนำไปถ่ายทอดความรู้ต่อได้ 3. กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อย่างมืออาชีพ การเติบโตและความยั่งยืนของโครงการคือจะต้องมีเมล็ดพันธุ์ในปริมาณและคุณภาพ ที่สามารถจะสร้างรายได้ให้กับโครงการนำไปใช้การบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร การจัดการครุภัณฑ์ การจัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบคุณภาพการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ การสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในปี 2557-2560 ที่ผ่านมา ได้สร้างเครือข่ายไว้ที่อำเภอแม่ออน ส่วนในปี 2561 จะมีการเพิ่มในอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอแม่แตง ซึ่งเป็นผู้ผ่านการอบรมและทดสอบจากคณะทำงานของโครงการในการคัดเลือก สำหรับการสร้างเครือข่ายจะเน้นคุณภาพคนที่เข้าร่วมเป็นหลัก สิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ 1) เกษตรกรที่มีศักยภาพพอได้รับการพัฒนาสู่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มืออาชีพในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2)มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีผลผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อบริการให้กับเกษตรกรมากขึ้น 3) มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีพื้นที่ภายนอกสำหรับบูรณาการการเรียนรู้ การเรียนการสอน การวิจัย ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ 4. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง โดยจัดทำชุดเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวอินทรีย์ จำนวน 100,000 ชุด กระจายให้กับเกษตรกรทุกจังหวัดในประเทศไทยผ่านทางสำนักงานเกษตรจังหวัด ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 5 ชนิด, เอกสารการปลูกผักสวนครัวอินทรีย์และเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ สิ่งที่จะได้รับจากการกิจกรรมนี้ คือ 1) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) การเผยแพร่สายพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อการปลูกผักสวนครัวอินทรีย์ในประเทศไทย จำนวน 100,000 ครอบครัว 5. เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศทั้งร้อนและเย็นเหมาะแก่การผลิตเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งเกษตรกรรายย่อยมีความสามารถในการเพาะปลูก อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยและเกษตรกรไทย ในปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีบทบาทต่อการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตต่อไร่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมล็ดพันธุ์จากประเทศไทย สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทยจึงได้ริเริ่มเป็นตัวกลางในการจัดการประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์ต่างหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ เผยแพร่ความรู้ ประชาสัมพันธ์การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ของโครงการขยายผลการผลิตพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แก่เกษตรกร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการจากภาครัฐและภาคเอกชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อบริหารจัดการต้นแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์แบบครบวงจร
เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
เพื่อบริการในการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
เพื่อจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ผู้สนใจจากภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของนักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการ บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานจากต่างประเทศ
เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ประชาสัมพันธ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ในงานประชุม งานสัมมนาทางวิชาการและในรูปแบบต่างๆ
เพื่อบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัยและการบริการวิชาการให้กับหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำร่องโครงการทดสอบระบบการตลาดเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดจำหน่ายโดยภาคเอกชน
เพื่อติดตามเกษตรกรหลังการอบรมและนำเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ไปใช้ รวมถึงการสร้างเครือข่าย
เพื่อส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
KPI 1 : ชนิดของพืชผักที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชนิด 23
KPI 2 : ปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ทำการผลิตเมล็ดพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 กิโลกรัม 1200
KPI 3 : มีรายได้จากโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 1500000
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 5 : นักศึกษาที่เข้ามาใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ รวมถึงการศึกษาดูงานของเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 1000
ผลผลิต : การจัดโครงการฝึกอบรม
KPI 1 : ผู้ผ่านการอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 300
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อย่างมืออาชีพ
KPI 1 : จำนวนเครือข่ายเกษตรกรตัวอย่างผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อย่างมืออาชีพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ราย 3
ผลผลิต : ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
KPI 1 : จำนวนชุดเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์พร้อมเอกสารแนะนำ/ประชาสัมพันธ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 100000
ผลผลิต : เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ
KPI 1 : เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนด้านงานประสานโครงการ (ปริญญาตรี)
- จำนวน 1 คนๆ ละ 9 เดือนๆ ละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนด้านงานผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
-จำนวน 8 คนๆ ละ 9 เดือนๆ ละ 7,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 561,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนด้านงานผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ (ปริญญาตรี)
-จำนวน 2 คนๆ ละ 9 เดือนๆ ละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 270,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุเกษตร ได้แก่ มูลวัว สารชีวภาพ ฮอร์โมน พลาสติกคลุมโรงเรือน ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 870,240.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุสำนักงาน ได้แก่ ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษA4 ปากกา กระดาษสติกเกอร์ แฟ้ม ซองเอกสาร ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 52,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กระดาษกรอง และสารเคมี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ ถุงขยะสีดำ ไม้กวาด มีด กระดาษทิชชู่ น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ได้แก่ น้ำมันแก็สโซฮอล์ 95 น้ำมันดีเซล (ใช้ร่วมกับครุภัณฑ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นสารชีวภาพ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกเครื่องพิมพ์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2036640.00
ผลผลิต : การจัดโครงการฝึกอบรม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การจัดโครงการฝึกอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมอบรม)
-ผู้เข้าอบรม 60 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่ 10 คน รวม 70 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 100 บาท จำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 84,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมอบรม)
-ผู้เข้าอบรม 60 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่ 10 คน รวม 70 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 35 บาท) จำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 58,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ
-วิทยากรภาคบรรยาย 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง
-วิทยากรภาคปฏิบัติ 12 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท จำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 186000.00
ผลผลิต : การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อย่างมืออาชีพ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 : การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์อย่างมืออาชีพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง
-จำนวน 8 วันๆ ละ 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก
-จำนวน 2 คนๆ ละ 1,200 บาท จำนวน 4 คืน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง
-จำนวน 2 คนๆ ละ 240 บาท จำนวน 5 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32000.00
ผลผลิต : ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 : ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำแผ่นพับวิธีการปลูกผัก
-จำนวน 100,000 แผ่นๆ ละ 3 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำซองบรรจุเมล็ดพันธุ์
จำนวน 100,000 ซองๆ ละ 1.605 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 160,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
-จำนวน 20 คนๆ ละ 50 วันๆ ละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าขนส่งไปรษณีย์
จัดส่งเมล็ดพันธุ์ถึงหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ชุมชนเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 690500.00
ผลผลิต : เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 5 : เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 09/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก
-จำนวน 2 คนๆ ละ 2 คืน ๆ ละ 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่ายานพาหนะ (เครื่องบิน)
-จำนวน 2 คนๆ ละ 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าลงทะเบียนประชุมวิชาการด้านเมล็ดพันธุ์
-จำนวน 2 คน (ผศ.ฉันทนา วิชรัตน์ จำนวน 3,000 บาท นางนงลักษณ์ ปูระณะพงษ์ จำนวน 3,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง
-จำนวน 2 คนๆ ละ 240 บาท/วัน จำนวน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 960.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22260.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สภาวะภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง อาทิ อุณหภูมิสูงขึ้น ฝนตกนอกฤดูกาล เป็นต้น
การระบาดของโรคและแมลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ในโรงเรือน
การบริหารจัดการแปลงปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของโรค เช่น การจัดการดิน การปลูกพืชผสมผสาน เป็นต้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล