12081 : โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้โปรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวทางการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์และ GAP
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/1/2561 16:48:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/01/2561  ถึง  28/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  75  คน
รายละเอียด  เกษตรกร เยาวชน ศิษย์เก่า และผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 2561 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทพรัตน์  อึ้งเศรษฐพันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.61-4 การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.61-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT.61-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT.61-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT.61-4-2 ระดับความสำเร็จของการบริการทางวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ FT.61-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตรูปธุรกิจ มีการลงทุนและใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา อาทิ ทุนด้านดิน น้ำ ป่าไม้ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม สุดท้ายส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม มลพิษสะสมในสิ่งแวดล้อม และเกษตรกรพึ่งตนเองได้น้อยลง เพื่อให้สอดคล้องกับการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีจุดมุ่งหมายสู่ความเป็นเลิศด้านการเกษตรอินทรีย์ พื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยมีจำกัด ประเทศไทยมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์เพียง 0.21 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.17 ซึ่งอยู่อันดับที่ 58 ของโลก และเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ทั้งกระบวนการผลิต และการขอใบรับรองมาตรฐานที่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรที่สนใจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้อง การจัดฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เกษตรกรและผู้สนใจจึงเป็นแนวทางที่สำคัญตามนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การปรับปรุงประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาในแนวทางในการผลิตสัตว์น้ำโดยไม่ใช้ยาและสารเคมี ซึ่งการเสริม prebiotic หรือ probiotic ลงในอาหารสัตว์น้ำนั้น จะช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค ทำให้การเจริญเติบโตและความต้านทานโรคดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดการใช้ยาและสารเคมี ทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มีความพร้อมอยู่แล้ว ดังนั้นการนำงานวิจัยออกเผยแพร่และการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้พรีและโพรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ จึงเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาทางด้านต้นทุนและปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม และเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้พรีและโพรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์และ GAP ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ
เพื่อรวบรวมจัดทำเอกสารเผยแพร่ และแผ่นพับจากผลงานจากการวิจัยที่ผ่านมา สู่เกษตรกรและผู้สนใจ
เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้าน KAP/KP โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจ และได้รับประโยชน์จากบริการของมหาวิทยาลัย
เพื่อนำองค์ความรู้จากการบริการวิชาการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ศิษย์เก่า และผู้สนใจมีความรู้ด้านการใช้พรีและโพรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์และ GAP
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 75
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
KPI 8 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 พันธกิจ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ศิษย์เก่า และผู้สนใจมีความรู้ด้านการใช้พรีและโพรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์และ GAP
ชื่อกิจกรรม :
จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้โปรไบโอติกในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวทางการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ และ GAP

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/01/2561 - 28/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์  อึ้งเศรษฐพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม (1 วัน ต่อ 1 รุ่น ๆ ละ 25 คน) จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม (1 วัน ต่อ 1 รุ่น ๆ ละ 25 คน) จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำคู่มือฝึกอบรม 80 เล่ม เล่มละ 70 บาท 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 3 วันๆ ละ 5 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 วันๆ ละ 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆ ละ 5 วันต่อรุ่น 3 รุ่น รวม 15 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร, สมุด, ปากกา, แฟ้มใส่เอกสาร เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,830.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น เอ็กเทอร์นอลฮาร์ดดิสก์, หมึกสี เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,610.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น อาหารปลาดุก, รำละเอียด, ปลาป่น, กากถั่วเหลือง, ปลายข้าว, ยีสต์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,560.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
วันเวลานัดหมายการฝึกอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ กำหนดวันล่วงหน้า ถึงระยะเวลาสะดวกของเกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล