12132 : โครงการศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU- Biological Control Technology Learning Center) เพื่อการผลิตพืชอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปรัชวัน อ่อนคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/1/2561 14:09:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  เกษตรและประชาชนทั่วไป นักศึกษาระดับปริญญา และบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานบริการวิชาการอื่นๆ จากทั้งในและต่างประเทศ รวมอย่างน้อย 200 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 2561 2,800,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ระวี  คเณชาบริรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61 MJU 4.2.7 ขับเคลื่อนและสนับสนุนการให้บริการวิชาการเพื่อสังคม และชุมชน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control) เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการควบคุมศัตรูพืช (Pest control) ซึ่งโดยทั่วไปและเป็นส่วนใหญ่ มีการนำมาใช้เป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ไรศัตรูพืช สัตว์ศัตรูพืช และ วัชพืชชนิดต่างๆ ที่มีความสำคัญทางการเกษตร และ สาธารณสุข การควบคุมโดยชีววิธี เป็นการควบคุมศัตรูพืชในเป้าหมาย (target pests) โดยการใช้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ (beneficial organisms) ชนิดต่างๆ ที่เรียกกันโดยรวมเป็น “ศัตรูธรรมชาติ” (natural enemy) ซึ่งประกอบด้วย ตัวห้ำ (predator) และ ตัวเบียน (insect parasite หรือ parasitoid) ที่ส่วนใหญ่จะเป็นแมลงตัวห้ำ และแมลงตัวเบียนที่กินแมลง (entomophagous insects) และ เชื้อโรค (pathogens) ซึ่งส่วนใหญ่ ประกอบด้วย แบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungus) ไวรัส (virus) โปรโตซัว (protozoa) และ ไส้เดือนฝอย (nematodes) ที่เป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้แมลงตาย โดยเชื้อโรคต่างๆ เหล่านี้ มีการเรียกกันโดยรวมทั่วๆ ไปเป็น entomopathogens และในปัจจุบัน ควรจะมีการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์หลักของการควบคุมศัตรูพืชในบริบทของ “ระบบการบริหารศัตรูพืชแบบบูรณภาพ” (Integrated pest management หรือ IPM system) ดังนั้นการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีจึง เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีชีวิต ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ต้นทุนตามธรรมชาติ” (natural cost) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ศัตรูธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตภายในระบบที่สามารถฟื้นฟูและเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้ (internal renewable input) อีกทั้งมีความยั่งยืน เนื่องจากสามารถที่จะเพิ่มปริมาณและขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ หากมีการจัดการที่เหมาะสม มีความปลอดภัย อีกทั้งไม่มีผลกระทบในทางลบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงมีบทบาทสูงอย่างมาก ในการช่วยลดการใช้ปัจจัยผลิตจากภายนอก (external input) เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประกอบกับได้มีการวิจัยและพัฒนาในด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อโลกยุคใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงเป็นกลไกหนึ่งสำหรับการขับเคลื่อนการเกษตรยั่งยืน (sustainable agriculture) การเกษตรอินทรีย์ (organic farming) และ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์และสมุนไพรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนโยบายของรัฐบาลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้มีแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กล่าวคือการ ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดย ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร ธรรมชาติ รวมถึงการทำเกษตรกรรมตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสนับสนุนบทบาทเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่จำเป็นในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้สารเคมีการเกษตรอย่าง เหมาะสมตามหลักวิชาการ เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ดังนั้นโครงการบริการวิชาการนี้ จึงมีเป้าหมายหลักในการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Control Technology Learning Center – MJU- BCTLC)” โดยจะมีหน้าที่หลักซึ่งเชื่อมโยงกับพันธกิจหลักของสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ ได้แก่ (1)การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีสู่ตลาดแรงงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช ครอบคลุมทั้ง แมลงศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช (2) การสร้างองค์ความรู้ และผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทั้งด้านองค์ ความรู้และเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ในปัจจุบันในด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี และ (3) การสร้างเครือข่ายด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางมหาวิทยาลัย ในปี งบประมาณ 2559 และ 2560 โดยได้มีการพัฒนาเป็น MJU- BCTLC ซึ่งประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการพื้นที่ 150 ตารางเมตร และพื้นสาธิตจำนวน 3 ไร่ ณ บริเวณพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงส่วนห้องปฏิบัติการการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU- Biological Control Laboratory – MJU-BCL) สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อใช้สำหรับศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ส่งเสริมกิจกรรมด้านการเรียนการสอน และให้บริการด้านการฝึกอบรม ด้านการควบคุมโดยชีววิธี โดยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน และในส่วนผลการดำเนินงานที่แล้วเสร็จเช่น การจัดทำฐานข้อมูลด้านการควบคุมโดยชีววิธี การสร้างเครือข่ายภาครัฐ เกษตรกร และเอกชน จำนวนรวม 100 ราย การบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาเรียนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 หลักสูตรในคณะผลิตกรรมการเกษตร และการผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น การเพาะเลี้ยงด้วงเต่าตัวห้ำ การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และการใช้เทคโนโลยีด้านการควบคุมโดยชีววิธีในการผลิตพริกอินทรีย์เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการฯ โดยมีการขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่สำฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และมีความยั่งยืน โดยคาดว่าศูนย์ดังกล่าวจะสามารถรองรับการใช้ประโยชน์ด้านการบริการวิชาการได้เต็มศักยภาพภายในสิ้นปีงบประมาณ 2560 ดังนั้นกิจกรรมของโครงการที่คาดว่าจะดำเนินการต่อไปในปีงบประมาณ 2561 ที่เสนอโครงการนี้ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่สาธิตและฐานผลิตเชื้อพันธ์ศัตรูธรรมชาติเพิ่มเติมอีก 2 ไร่ (รวมเป็น 5 ไร่) การเพิ่มขีดความสามารถของการให้บริการทางวิชาการโดยพัฒนาขีดความสามารถด้านความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบุคลากรและ/หรือบัณฑิตด้านการควบคุมโดยชีววิธี การบูรณาการกับการเรียนการสอนซึ่งเน้นการปฏิบัติจริงเต็มรูปแบบ และการให้บริการด้านการฝึกอบรมฯ ถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการขับเคลื่อนสู่การเป็นผู้นำด้านการเกษตรที่ยั่งยืน และสองคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและรัฐบาลต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการด้านวิชาการ แก่กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญา และบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานบริการวิชาการอื่นๆ และเกษตรและประชาชนทั่วไป
เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจน แนวทางการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เพื่อการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ในระบบการเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์สำหรับการให้บริการวิชาการ
KPI 1 : ร้อยละของการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ศูนย์เรียนรู้ที่มีพื้นที่แปลงสาธิตเทคโนโลยี ที่พร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ไร่ 5
KPI 3 : การเปิดให้ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 2
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของการเข้ารับบริการวิชาการจากโครงการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ซึ่งผ่านการทดสอบและควบคุมคุณภาพ สำหรับให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของการเข้ารับบริการวิชาการจากโครงการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : สามารถผลิตศัตรูธรรมชาติ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และทดสอบประสิทธิภาพ สำหรับการใช้บริการวิชาการ แก่เครือข่าย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชนิด 4
KPI 3 : ร้อยละของการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : การสร้างเครือข่ายและกิจกรรมการบริการทางวิชาการ และฝึกอบรม
KPI 1 : ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังได้รับบริการวิชาการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 1
KPI 2 : การบูรณาการกิจกรรมกับงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 โครงการ 1
KPI 3 : ร้อยละของการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : การจัดฝึกอบรม และ เผยแพร่องค์ความรู้ ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 2
KPI 5 : จำนวนเครือข่ายที่ผ่านการเข้ารับบริการวิชาการจากโครงการฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 200
KPI 6 : การบูรณาการการเรียนการสอนกับหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ/ หรือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 วิชา 2
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของการเข้ารับบริการวิชาการจากโครงการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
ผลผลิต : พัฒนาและผลิตเทคโนโลยี และ/ หรือ องค์ความรู้การผลิตศัตรูธรรมชาติด้านการควบคุมโดยชีววิธี
KPI 1 : ร้อยละของการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : เทคโนโลยี และ/ หรือ องค์ความรู้การผลิตศัตรูธรรมชาติด้านการควบคุมโดยชีววิธีที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เรื่อง/ เทคโนโลยี 2
KPI 3 : ผลิตภัณฑ์พืชอาหารอินทรีย์ซึ่งผลิตจากเทคโนโลยี เพื่อเข้าร่วมจำหน่วยในกิจกรรมด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ในมหาวิทยาลัย และพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชนิด 1
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของการเข้ารับบริการวิชาการจากโครงการฯ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์สำหรับการให้บริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์สำหรับการให้บริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานด้าน คัดเลือก และทดสอบประสิทธิภาพ และควบคุมคุณภาพ พ่อแม่พันธุ์ ศัตรูธรรมชาติ
นักวิชาการระดับปริญญาตรี จำนวน 1 คน เดือนละ 15,000 บาท x 9 เดือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา สำรวจรวบรวม และจำแนกชนิดของพ่อแม่พันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน และคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ตาม TOR
-แมลงตัวห้ำ จำนวน 450 ตัว x 100 บาท
-แตนเบียนจำนวน 50 ตัว x 136 บาท
-แมลงที่ติดเชื้อโรคจำนวน 200 ตัว x 100 บาท
-ตัวอย่างดินสำหรับแยกเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักต์ จำนวน 200 ตัวอย่าง x 50 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 91,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า
เช่น สายไฟฟ้า ลูกถ้วยอากาศ ปลั๊กไฟฟ้า เทปพันสายไฟ ฟิวส์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุสำนักงาน
เช่น กระดาษไวท์บอร์ด เครื่องคำนวณเลข กระดาษ หมึก ดินสอ ปากกาแดง ไม้บรรทัด ยางลบ คลิป เป๊ก เข็มหมุดเทปพีวีซี (สกอตช์เทป) เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 81,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง : ท่อปูน
ค่าจัดซื้อท่อปูนมีพื้นบรรจุน้ำได้ ราคาท่อละ 500 บาท x 200 ท่อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
เช่น กระถาง หัวสปริงเกอร์ สายสปริงเกอร์ ถาดเพาะ ถุงดำขนาดต่างๆ พลาสติกคลุมแปลง มุ้งตาข่ายป้องกันแมลงศัตรูพืช สแลม กรรไกร
ตัดกิ่ง จอบ เสียม คลาด ดินเพาะกล้าแบบอินทรีย์ วัสดุปลูกแบบต่างๆ ที่ใช้กับระบบอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชอินทรีย์ ท่อนพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ และกล้าพืช ฯลฯ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 620,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1078700.00
ผลผลิต : การผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ซึ่งผ่านการทดสอบและควบคุมคุณภาพ สำหรับให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ซึ่งผ่านการทดสอบและควบคุมคุณภาพ สำหรับให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานด้านการผลิตวัสดุเพาะเชื้อจุลินทรีย์
ผู้ปฏิบัติงานตามการกำกับดูแลของผู้ควบคุมคุณภาพ จำนวน 1 คน เดือนละ 7,800 บาท x 9 เดือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานด้าน การผลิต อาหารเพาะเลี้ยงแมลงตัวห้ำและตัวเบียน
ผู้ปฏิบัติงานตามการกำกับดูแลของผู้ควบคุมคุณภาพ จำนวน 1 คน เดือนละ 7,800 บาท x 9 เดือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
เช่น กระถาง หัวสปริงเกอร์ สายสปริงเกอร์ สายยาง พลาสติกใส พลาสติกคลุมแปลง พลาสติกคลุมแปลง มุ้งตาข่ายป้องกันแมลงศัตรูพืช สแลม ดินเพาะกล้าแบบอินทรีย์ วัสดุปลูกแบบต่างๆ ที่ใช้กับระบบอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตอินทรีย์สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 620,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์
เช่น อาหารเทียมสำเร็จรูป และสารจำเพาะสำหรับผลิตอาหารเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ PDA, SDA, SADY, Malt agar, Yeast Extract, Beef extract, Agar, Peptone, กรีเซอรีน, แอลกอฮอล์, ตะเกียง, หลอดทดลอง จานเพาะเชื้อ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 250,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว
เช่น กล่องพลาสติก เพาะเลี้ยงแมลงสำเร็จรูปแบบมีรูระบายอากาศ และระบบระบายความชื้น ตามหลักกีฏวิทยา หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องตีไข่ไฟฟ้า เครื่องบดอาหาร กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า แปลงล้างห้องน้ำ ไม้กวาดเพดาน น้ำจืด ถังแก๊ส น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1211300.00
ผลผลิต : การสร้างเครือข่ายและกิจกรรมการบริการทางวิชาการ และฝึกอบรม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 : การสร้างเครือข่ายและกิจกรรมการบริการทางวิชาการ และฝึกอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 100 คน x 120 บาท x 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 100 คน x 35 บาท x 2 ครั้ง x 4 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าของที่ระลึกมอบให้สถานที่ศึกษาดูงาน
จำนวน 2 คน x ชิ้น x 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเอกสารประชุม
จำนวน 50 คน x 2 หลักสูตร x 100 คน x 70 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักวิทยากร
จำนวน 1 คน x 4 คืน x 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างพิมพ์
-ค่าจ้างพิมพ์โปสเตอร์ ไวนิล และสติ๊กเกอร์ (10 ตารางเมตร)/ชิ้น
ชิ้นละ 500 บาท x 50 ชิ้น เป็นเงิน 25,000 บาท
-ค่าจ้างพิมพ์แผ่นพับ 5,000 x 3 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาคเอกชนภาคบรรยาย
จำนวน 1 คน x 1,200 บาท x 6 ชั่วโมง x 4 วัน เป็นเงิน 28,800 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ ภาคปฏิบัติ
จำนวน 1 คน x 300 บาท x 2 ชั่วโมง x 4 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 31,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษไวท์บอร์ด เครื่องคำนวณเลข กระดาษ หมึก ดินสอ ปากกาแดง ไม้บรรทัด ยางลบ คลิป เป๊ก เข็มหมุดเทปพีวีซี (สกอตช์เทป) เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัวเช่น กระติกน้ำร้อน ถาดพลาสติก ถังพลาสติกกล่องเก็บอาหาร มีด เครื่องบดอาหาร ถังแก๊ส กระติกน้ำแข็ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 190000.00
ผลผลิต : พัฒนาและผลิตเทคโนโลยี และ/ หรือ องค์ความรู้การผลิตศัตรูธรรมชาติด้านการควบคุมโดยชีววิธี
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 : การพัฒนาและผลิตเทคโนโลยี และ/ หรือ องค์ความรู้การผลิตศัตรูธรรมชาติด้านการควบคุมโดยชีววิธี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์
เช่น สารจำเพาะ เช่น Yeast Extract, Beef extract, Agar, Peptone, กรีเซอรีน, แอลกอร์ฮอล์, ตะเกียง, หลอดทดลอง จานเพาะเชื้อ Agarose, canada balsam เข็มปักแมลงเบอร์ 1 2 และ 3 (Gamma), gum Arabic, chloral hydrate, glass wool, magnetic stirrer glycerol ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 230,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
เช่น แผ่น ซีดี เมมบอร์ด(Main Board) เครื่องกระจายสัญญาณ (Hub) คัตชีทฟีดเดอร์ (Cut Sheet Feeder) เมมโมรี่ชิป เช่น RAM เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว
เช่น กระติกน้ำร้อน ถาดพลาสติก ถังพลาสติกกล่องเก็บอาหาร มีด เครื่องบดอาหาร ถังแก๊ส กระติกน้ำแข็ง เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 320000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การจ้างแรงงานประจำไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่ต้องการจะทำ
สภาพแวดล้อม ไม่เหมาะสมต่อการผลิต หรือภัยธรรมชาติ
เชื้อพันธุ์เกิดความอ่อนแอ
ขาดความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายการผลิตและงบประมาณ
ผลิตได้ปริมาณไม่เป็นตามแผน
ด้านการเดินทางของนักศึกษา
ด้านเวลาและจำนวนของผู้เข้าศึกษาดูงานที่ไม่สอดคล้องกับช่วงฤดูการพแร่กระจายของศัตรูธรรมชาติ
การขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ของงานวิจัย
การจัดหาวิทยาการไม่ได้ตามเนื้อหาที่จะจัดฝึกอบรม
บุคลากรประจำไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการจ้างเหมาเป็นรอบ/ ครั้งคราวตามหน้างาน แทนการจ้างประจำ
ดำเนินการใหม่/ซ้ำ ตามกรอบเวลาที่มี
วางแผนการผลิตซ้ำและเสาะหาเชื้อพันธุ์ที่แข็งแรงจากธรรมชาติ
ปรับเพิ่มลดงบประมาณตามความเหมาะสม
วิเคราะห์สาเหตุและแก้ไข
กำหนดปฏิทินการเปิดเข้าศึกษาดูงาน
กำหนดปฏิทินการเปิดเข้าศึกษาดูงาน
ดำเนินการด้านเอกสารการขออนุญาตก่อนดำเนินโครงการ
ติดต่อและประสานงานล่วงหน้า
ดำเนินการใหม่/ซ้ำ ตามกรอบเวลาที่มี
สร้างเครือข่ายองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และส่งนักวิจัยเข้าร่วม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล