12134 : โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.เบญจวรรณ จันทร์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/1/2561 12:15:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/02/2561  ถึง  02/04/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินบริจาคสนับสนุนโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ 2561 70,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 60ECON-4 การบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 60ECON 4.1 ให้บริการวิชาการมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่
ตัวชี้วัด 60ECON 4.3 ร้อยละความสำเร็จของแผนบริการวิชาการของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร
กลยุทธ์ 60ECON 4.3.2 การสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียว มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ครอบคลุมในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการเกษตรที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการทำการเกษตรระบบธรรมชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เพื่อให้ได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในหลักการและพื้นฐานทางการเกษตรโดยผ่านการปฏิบัติ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคณะเศรษฐศาสตร์ได้รับการจัดสรรพื้นที่ภายในฟาร์มมหาวิทยาลัยสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ประกอบไปด้วย และอาคารโรงเรือนจำนวน 1 หลัง โดยได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฝึกทักษะทางการเกษตรแก่นักศึกษา และได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา อาทิ เช่น โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ ระยะที่ 2 ดำเนินการทำรั้ว จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืช เช่น มะม่วง ลำไย มะนาว กล้วยและพืชผัก และโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ โดยนำนักศึกษาเข้าไปพัฒนาพื้นที่ นอกจากนี้หลักสูตรต่างๆ ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่ดังกล่าวในการจัดโครงการ เช่น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้จัด โครงการเรียนรู้ทางการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม และโครงการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินกิจกรรมการขึ้นแปลงเพื่อปลูกพืชผัก การอบรมการทำปุ๋ยแบบไม่พลิกกลับกองและการเพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการวางระบบน้ำเพื่อใช้สำหรับใช้ในการทำกิจกรรม และสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จัดโครงการ Inter Econ go Green เพื่อให้นักศึกษาเข้าไปดูแลและฝึกทักษะทางการเกษตร เช่น การกำจัดวัชพืช การพรวนดินและใส่ปุ๋ยไม้ผล แต่อย่างไรก็ตามพบว่าโครงการศูนย์เรียนรู้ฯ ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แปลงเกษตรยังไม่ทั่วถึง จนทำให้ไม้ผลขาดน้ำและเสียหาย ดังนั้น ศูนย์วิจัยฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาพื้นที่โครงการศูนย์เรียนรู้ฯ จึงมีแนวคิดในการติดตั้งระบบสำรองน้ำ ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ คณะเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมภายในศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งในการเรียนรู้ทักษะทางด้านการเกษตรให้กับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ คณาจารย์สามารถใช้ประโยชน์ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาหลักเกษตรกรรมทั่วไป เศรษฐศาสตร์การผลิต การจัดการฟาร์ม บัญชีฟาร์ม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการตลาดเกษตร เป็นต้น และแนวทางในการพัฒนาเพื่อการผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้แก่คณะเศรษฐศาสตร์ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อติดตั้งระบบสำรองน้ำพร้อมอุปกรณ์ภายในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
เพื่อออกแบบระบบส่งน้ำเข้าพื้นที่สำหรับการผลิตพืชภายในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีระบบสำรองน้ำ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
KPI 1 : ระบบสำรองน้ำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระบบ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีระบบสำรองน้ำ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ชื่อกิจกรรม :
ติดตั้งระบบสำรองน้ำพร้อมอุปกรณ์ ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2561 - 02/04/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบญจวรรณ  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาติดตั้งระบบสำรองน้ำพร้อมอุปกรณ์ ภายในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล