12211 : โครงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/3/2561 16:08:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2560  ถึง  31/01/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สโมสรนักศึกษา และนักศึกษา คณะเทคโนโลยีประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประชาชน เยาวชน และผู้นำหมู่บ้านเลอะกรา-บราโกร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ของคณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่สังคม กองทุนบริการ วิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 15,000 บาท 2561 15,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์  สุวรรณรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.61-4 การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT.61-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT.61-4-6 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT.61-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเนื่องด้วยการขยายขนาดครอบครัวและการเพิ่มขึ้นของประชากรส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านที่อยู่อาศัย ขนาดครัวเรือน และ ความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น และทรัพยากรทางน้ำก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของมนุษย์ และมีแหล่งการผลิตโดยธรรมชาติมากกว่าการเพาะเลี้ยง ซึ่งเมื่อมีการใช้ทรัพยากรอย่างไร้ขอบเขต อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤติของการขาดแคลนทรัพยากรทางน้ำได้ในอนาคต จึงเป็นเหตุผลที่ได้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรทางน้ำ รู้จักชนิดของปลา พรรณไม้น้ำ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่มีความเกี่ยวข้องกันในระบบความสัมพันธ์เชิงนิเวศวิทยา โดยใช้รูปแบบการอบรมและวิธีการดูแลรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นกลุ่มชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำให้มีส่วนร่วมและริเริ่มการสร้างแนวปฏิบัติที่ดี มีความต่อเนื่อง และส่งต่อจากรุ่นต่อรุ่นอย่างยั่งยืน เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแนวทางและต้นแบบในการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไป หมู่บ้านเลอะกรา-บราโกร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ หรือ บ้านบราโกร มาจากคำว่า “บรา” หมายถึง ค้างคาว “โกร” หมายถึง ห้วย เริ่มมีชาวบ้านอาศัยมาประมาณ 80 ปี โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่เข้ามาเพื่อประกอบอาชีพไม่ถึงสิบครอบครัว ต่อมาประชากรขยายเพิ่มขึ้น อยู่ในเขตการปกครองหมู่ 15 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรส่วนใหญ่ คือ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง(สกอร์) ใช้ภาษาถิ่น หรือ ที่เรียกกันว่า “”กะเหรี่ยงสกอร์” ชาวบ้านประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา นับถือศาสนา พุทธ คริสต์ ผี เส้นทางการคมนาคมถนนรุกรัง เดินทาง ทางรถยนต์ ระยะทางในการเดินทางจากอมก๋อยเข้ามาแม่ตื๋น 76 กิโลเมตร เดินทางจากแม่ตื่นขึ้นมาทางเส้นขุนตื่นใหม่ 50 กิโลเมตร หรือเดินทางขึ้นเส้นทางหมู่บ้านพะกะเช 21 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อที่สำคัญ คือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านพะกะเช ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านทะโกรเด ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านเลอะกรา และทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านห้วยโป่ง อยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางอย่างยากลำบาก และเนื่องจากเป็นหมู่บ้านในแนวตะเข็บชายแดน จึงขาดโอกาสในการพัฒนาสังคมในทุกด้าน อาทิเช่น ปัจจัยและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชากร สุขอนามัยของชุมชน และความอุดมสมบูรณ์ของอาหารและแหล่งโปรตีน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดโอกาสทางสังคมและสร้างเสริมความรู้ด้านวิชาการสู่การแก้ไขปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของชุมชนร่วมกับปัญหาสภาวะอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นั้น คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับบริษัทในเครือ NK group และโรงเรียนจอย สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยเครือข่ายศิษย์เก่าประมงแม่โจ้ จึงได้จัดทำโครงการรวมใจต้านภัยหนาว ปีที่ 7 ตามรอยพ่อหลวงของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันที่ 8-10 ธันวาคม 2558 โดยการจัดหาผ้าห่ม เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรคและเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นพื้นฐานแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในด้านสาธารณูปโภคบริโภคแล้วนั้น และเพื่อแสดงออกถึงความมีน้ำใจแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืนต่อชุมชน จากการบูรณาการร่วมกับโครงการปัญญาอาสา: ดิน น้ำ ป่า ปัญญา อาชีพ ตอนสร้างอาหารกลางวัน สร้างอาชีพ และสร้างการศึกษา เพื่อพี่น้องบ้านเลอะกรา-บราโกร ในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และเขตอำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้กำหนดให้จัดกิจกรรม การสร้างห้องสมุดชุมชน คอกไก่ เล้าหมู บ่อเลี้ยงปลา และพัฒนาถนนสำหรับเข้า-ออกหมู่บ้าน เพื่อรองรับการใช้งานของผู้สัญจร รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม และยังส่งผลต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดี่ยวกันของคณะนักศึกษา บัณฑิตศึกษา คณาจารย์และหน่วยงานเอกชนอีกด้วย โดยในการดำเนินโครงการประกอบไปด้วยกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการระบบนิเวศวิทยาแหล่งน้ำ โดยคณาจารย์และนักศึกษานำองค์ความรู้ด้านการประมง เพื่อวางรากฐานความรู้ให้แก่เยาวชนเพื่อการเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน และให้มีความตระหนักและมีความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตัวเอง อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความยั่งยืนของการพัฒนาที่เป็นตัวเริ่มต้นจากความสามารถของการดำเนินการของชุมชนเอง สร้างอาหาร อาชีพ ไปสู่การสร้างปัญญา และพัฒนาสังคมทุกระดับอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสืบสานโครงการในพระราชดำริ
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการทางด้านการประมงด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกพืชอย่างถูกวิธี
สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรของมหาวิทยาลัยกับองค์กรเอกชนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย คือ หมู่บ้านเลอะกรา-บราโกร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
เพื่อสร้างความตระหนักในวิชาชีพประมงสำหรับนักศึกษาด้านการใช้ประโยชน์ของชุมชนจากงานวิชาการอย่างยั่งยืน
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและจัดหากิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการที่มีการนำความรู้ของอาจารย์และบุคลากรมาให้บริการทางวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้รับบริการจากโครงการ/กิจกรรมมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน
KPI 1 : จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ครั้ง 1
KPI 2 : จำนวนเอกสารประกอบกิจกรรม (รวมแบบประเมินผล)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 100
KPI 3 : จำนวนคู่มือจำแนกชนิดปลา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ฉบับ 50
KPI 4 : ระดับคะแนนของความรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คะแนน 3.51
KPI 5 : ระดับคะแนนของการใช้ประโยชน์ของผู้ร่วมกิจกรรมหลังจากการจัดโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คะแนน 3.51
KPI 6 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้รับบริการจากโครงการ/กิจกรรมมีความรู้ทางด้านการประมงแบบบูรณาการและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
โครงการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ : สืบสานทฤษฎีพ่อหลวงอย่างพอเพียงและยั่งยืนกับพี่น้องบนพื้นที่สูง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2560 - 31/01/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์  สุวรรณรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน จำนวน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน จำนวน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน จำนวน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน จำนวน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เป็นเงิน จำนวน 2,00 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเดินทางเป็นหมู่คณะอาจไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาเนื่องด้วยสภาพการสัญจรบนภูเขาไม่อำนวย
เยาวชนหรือบุคคลทั่วไปในชุมชนมีช่องทางการเข้าถึงงานประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการต่างๆ ค่อนข้างจำกัดจึงอาจจะไม่ได้เข้าร่วมอย่างทั่วถึง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
คณะดำเนินงานต้องมีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้ยานพาหนะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการดำเนินกิจกรรม
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ช่องทางการให้บริการแก่ชุมชนผ่านผู้นำชุมชนและตัวบุคคลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
โครงการรพระราชดำริ 61.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล