12235 : โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ"การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมืออาชีพ"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.มินทร์ลดา บัวแสง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/2/2561 16:27:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2560  ถึง  30/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน ประกอบด้วย บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย 100 คน ประกอบด้วย 1. เกษตรกรจำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์หลังสวน จังหวัดชุมพร หมู่ที่ 4 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86100 เบอร์โทรศัพท์ 077-541807 FAX 077-508217 2. เกษตรกรจำนวน 25 คน เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร 3. เกษตรกรจำนวน 25 ราย จากเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ 2561 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ประสาทพร  กออวยชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.4 พัฒนาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการศาสตร์พระราชา และเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสังคมเชิงนิเวศต้นแบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.เป็นศูนย์บริการวิชาการที่มีความเป็นเลิศด้านสหวิทยาการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ 1.การพัฒนาศูนย์บริการสหวิทยาการเกษตร
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 1.บูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาค
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 800,000 ไร่ ให้ผลผลิตทะลายสดประมาณ 1,894,655 ตัน โดยมีผลผลิตทะลายสดต่อไร่เฉลี่ยเท่ากับ 2,594 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากการได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชมชนฐานรากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พบว่า ในขณะที่ดำเนินการวิจัยนั้น ผลผลิตทะลายสดในจังหวัดชุมพรต่ำมาก เฉลี่ย 1,520 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลจากการสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรซึ่งรายงานว่า จังหวัดชุมพรมีผลผลิตทะลายสด เฉลี่ย 1600 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้ระดมสรรพกำลังเพื่อยกระดับผลผลิตต่อไร่ต่อปีของปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น ปัญหาหลักที่ทำให้ผลผลิตทะลายสดต่อไร่ต่อปีต่ำนั้น มาจาก 3 สาเหตุหลัก คือ ปัญหาเรื่องของพันธุ์ปลอม ปัญหาเนื่องจากปาล์มน้ำมันมีอายุเกิน 20 ปี (ซึ่งโดยธรรมชาติผลผลิตจะลดน้อยลง) และปัญหาสุดท้ายคือเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในส่วนของปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน การแก้ไขปัญหาประการแรก ในเรื่องของพันธุ์ปลอม ซึ่งเมื่อเกษตรกรนำไปปลูกแล้วจะให้ผลผลิตต่ำ การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้ดำเนินการ 2 แนวทาง คือ การจัดตั้งโครงการสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตรระหว่างมหาวิทยาลัยโจ้ กับบริษัทอาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ในการผลิตกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า ลูกผสมคอมแพ๊ค และโคลนปาล์มน้ำมัน ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศคอสตาริกา โดยปาล์มน้ำมันเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ให้ผลผลิตทะลายสดต่อไร่เฉลี่ย 3.5- 6 ตันต่อไร่ต่อปี โดยในปีแรกของการดำเนินโครงการ สามารถผลิตกล้าปาล์มน้ำมันจำนวน 1,500,000 ต้น (ปัจจุบันในปี 2559 คงกำลังการผลิตกล้าปาล์มน้ำมันไว้ที่ 400,000 ต้น) ต้นกล้าปาล์มน้ำมันจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างทั่วถึงในราคายุติธรรม และมีการรับประกันความเสียอันเกิดจากปาล์มน้ำมันไม่ให้ผลผลิตหรือให้ผลผลิตต่ำ จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ประกอบกับการออกไปให้ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของการบรรยาย การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการคลินิกเทคโนโลยี หรือโครงการที่หน่วยงานต่างๆเชิญไปเป็นวิทยากร คณาจารย์ทุกท่านที่ออกไปจะสอดแทรกเรื่องพันธุ์และการใช้ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทุกครั้ง ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเลือกใช้ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และจากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องดังกล่าวตลอดระยะเวลา 9 ปี พบว่า ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 1,520 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เป็น 2,594 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนับ 2,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าตลอดระยะเวลาเก็บเกี่ยว 20 ปี จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรนับหมื่นล้านบาท การแก้ไขปัญหาประการที่ 2 เรื่องปาล์มน้ำมันอายุเกิน 20 ปี ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทอาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ในปี พ.ศ. 2553 จัดให้มีโครงการปลูกปาล์มปลูกเศรษฐกิจ ปลูกชีวิตที่ยั่งยืน โดยโครงการดังกล่าวสนับสนุนกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกรไปปลูกก่อนเป็นเวลา 3 ปี และเมื่อปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเกษตรกรจึงจะชำระค่าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้เกษตรกรรายหนึ่งๆ จะได้รับกล้าปาล์มน้ำมันไม่เกิน 66 ต้นในรายที่ปลูกพันธุ์เทเนอร่า และ 84 ต้นในรายที่ปลูกพันธุ์คอมแพ็ค (สนับสนุนรายละไม่เกิน 3 ไร่) โครงการนี้มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการนับพันราย มีกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีกระจายลงไปปลูกในพื้นที่ประมาณ 225,000 ต้น ปัจจุบันปาล์มน้ำมันในโครงการนี้มีอายุ 7 ปี ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,000 –4,000 กิโลกรัมต่อปี สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจากผลผลิตนับ 280 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าตลอดระยะเวลาเก็บเกี่ยว 20 ปี จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรประมาณ 562,500,000 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาประการที่ 3 เรื่องเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในส่วนของปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ออกไปให้ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของการบรรยาย การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการคลินิกเทคโนโลยี หรือโครงการที่หน่วยงานต่างๆเชิญไปเป็นวิทยากร อย่างต่อเนื่องทุกปี และได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการของสหกรณ์นิคมหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งมีสมาชิกชาวสวนปาล์มน้ำมันนับพันราย นอกจากนี้การที่คณาจารย์ทำงานวิจัยร่วมกับบริษัทปุ๋ยต่างๆ ทำให้ได้องค์ความรู้อย่างต่อเนื่องในการเลือกใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้เหมาะสมกับอายุต้นปาล์มน้ำมัน สภาพดิน โดยในปีหนึ่งๆ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยสามารถออกไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรประมาณ 3,000 คน ผลอย่างเป็นรูปธรรมประการหนึ่ง คือ จากการที่คณาจารย์ออกไปให้ความรู้เรื่องปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมัน นอกจากช่วยลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกร สหกรณ์นิคมหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้ทำรายงานประจำปี 2556 โดยรายงานว่า จากการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ทำให้โรงงานสกัดน้ำมันสามารถสกัดน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ได้เฉลี่ยสูงขึ้นจาก 17 เปอร์เซ็นต์ เป็น 19 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โรงงานสกัดมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น และผลกำไรส่วนหนึ่งยังถูกแบ่งปันให้แก่สมาชิกของเกษตรกรนิคม ซึ่งก็คือตัวเกษตรกรนั้นเอง อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เล็งเห็นว่า ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการให้ผลผลิตทะลายสดในเขตจังหวัดชุมพรได้อีก โดยคาดหวังว่า ผลผลิตทะลายสดควรมีค่าเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ทั้งนี้จากการสำรวจอายุปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร พบว่า ยังมีปาล์มน้ำมันที่มีอายุเกิน 20 ปี อีกนับ 200,000 แสนไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ ดังนั้น หากสามารถนำปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้าสภาพพื้นที่ ไปปลูกทดแทนปาล์มน้ำมันซึ่งมีอายุเกิน 20 ปี จะทำให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยเกิน 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีอย่างแน่นอน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกนับหมื่นล้านบาท

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อจัดอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจำกัดสวนปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิต การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมืออาชีพ”
KPI 1 : - จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 2 : - ร้อยละของงานบริการวิชาการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลา
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 3 : - ร้อยละความพึงพอใจในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามที่ได้รับการจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.07
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิต การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมืออาชีพ”
ชื่อกิจกรรม :
- กิจกรรม การอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2560 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
-ปุ๋ย 46-0-0 จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
-ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-ปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ปุ๋ยโบรอน จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ปุ๋ย 21-0-0 จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ปุ๋ยอินทรีย์เคมี จำนวน 5 กระสอบๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ปุ๋ยมูลไส้เดือน จำนวน 100 ถุงๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-EM จำนวน 50 ลิตรๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
-ปูนขาว จำนวน 10 กระสอบๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ปุ๋ยคอก จำนวน 50 กระสอบๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
-กากน้ำตาล จำนวน 50 กิโลกรัมๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

วัสดุสำนักงาน
-กระดาษ A4 จำนวน 2 กล่องๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
-ปากกา จำนวน 150 ด้ามๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 750 บาท
-แฟ้ม จำนวน 100 แฟ้มๆ ละ 8.5 บาท เป็นเงิน 850 บาท

วัสดุคอมพิวเตอร์
-หมึกดำ จำนวน 10 ตลับๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-หมึกสี จำนวน 10 ตลับๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 61,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
อาจารย์ ประสาทพร 61 ย002
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล